กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1843
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาศักยภาพพืชสมุนไพรไทยเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแห้งสู่มาตรฐานสากล
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of Thai medicinal plants for improvement of dried seafood products into international standard
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุบัณฑิต นิ่มรัตน์
อรสา สุริยาพันธ์
วีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: พืชสมุนไทยไพร
อาหารทะเลแห้ง
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาศักยภาพพืชสมุนไพรไทยเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแห้งสู่มาตรฐานสากลในปีที่ 3 ได้ทำการศึกษา 3 ขั้นตอน ได้ทำการศึกษาถึงขั้นตอนที่ 1 คือ การทดสอบความเข้มข้นที่เหมาะสมของสารสกัดสมุนไพรผสมในการควบคุมแบคทีเรียก่อโรค พบว่าสารสกัดผสมระหว่างพริกชี้ฟ้าและตะไคร้ ความเข้มข้น 160 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ที่เติมในหมึกแปรรูปสามารถควบคุมปรมาณแบคทีเรียกลุ่มเฮทเทอโรโทรปทั้งหมดให้คงที่ตลอดเวลาการศึกษา และมีฤทธิ์ฆ่า MRSA T18 และ E. tarda biofroup 1 DS002 ที่เติมลงในหมึกแปรรูปได้ ขั้นตอนที่ 2 คือ การประเมินเบื้องต้นถึงความเหมาะสมของการเติมสารสกัดสมุนไพรผสมที่เหมาะสมในกระบวนการผลิตอาหารทะเลแห้งและแปรรูป จากการศึกษาพบว่ามีการปนเปื้อนของแบคทีเรียกลุ่มเฮทเทอโรโทรปทั้งหมดในทุกขั้นตอนของการผลิตหมึกแปรรูป แต่อย่างไรก็ตาม พบว่า การตากแดดครั้งสุดท้ายสามารถกำจัดแบคทีเรียปนเปื้อนดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นกระบวนการที่เหมาะสมในการเติมสารสกัดผสมสมุนไพรจึงควรทำภายหลังจากที่มีการตากแดดครั้งสุดท้ายก่อนการจัดส่งจำหน่าย และขั้นตอนสุดท้ายในการศึกษาครั้งนี้จึงทำการศึกษาถึงผลของการเติมสารสกัดผสมในขั้นตอนภายหลังจากที่มีการตากแดดครั้งสุดท้ายในกระบวนการผลิตหมึกแปรรูปก่อนจะนำไปจำหน่ายต่อปริมาณและชนิดของแบคทีเรียกลุ่มเฮทเทอโรโทรปทั้งหมดเป้นระยะเวลา 28 วัน ผลการศึกษาพบว่า สารสกัดผสม 160 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร มีประสิทธิภาพในการควบคุมแบคทีเรียกลุ่มเฮทเทอโรโทรปทั้งหมดในหมึกแปรรูปได้ดีที่สุดตลอดระยะเวลาการศึกษา 21 วัน เมื่อเปรียบเทียบกับ 3 ชุดการศึกษา ส่วนในวันที่ 28 ของการศึกษาพบการปนเปื้อนด้วยเชื้อราในทุกชุดการทดลอง ดังนั้นสามารถสรุปได้ว่าสารสกัดผสมระหว่างพริกชี้ฟ้ากับตะไคร้ความเข้มข้น 160 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตรมีประสิทธิภาพในการควบคุมแบคทีเรียที่ปนเปื้อนในหมึกแปรรูปภายใน 21 วัน ของการจำลองการจำหน่ายหมึกแปรรูปโดยการเปิดปากถุงตลอด 21 วัน และควรเติมหลังจากขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการผลิตแปรรูป
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1843
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2564_138.pdf42.59 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น