กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1835
ชื่อเรื่อง: ความคงทนและโครงสร้างทางจุลภาคของคอนกรีตผสมเถ้าถ่านหินที่แช่ในสิ่งแวดล้อมทะเล เป็นเวลา 15 ปี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Durability and microstructure of fly ash concrete under 15-year exposure in marine site
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิเชียร ชาลี
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: การกัดกร่อนเหล็กเสริม
การแทรกซึมของคลอไรด์
กําลังอัด
สภาวะแวดล้อมทะเล
เถ้าถ่านหิน
สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้ศึกษากําลังอัด การแทรกซึมของคลอไรด์และการกัดกร่อนเหล็กเสริมของคอนกรีต ที่ผสมเถ้าถ่านหินที่แช่ในสภาวะนํ้าทะเละเป็นเวลา 15 ปี โดยใช้คอนกรีตที่มีอัตราส่วนนํ้าต่อวัสดุ ประสานเท่ากับ 0.45 0.55 และ 0.65 แต่ละอัตราส่วนวัสดุประสานแทนที่เถ้าถ่านหินจากโรงไฟฟ้าแม่ เมาะในปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 ร้อยละ 0 15 25 35 และ 50 โดยนํ้าหนักวัสดุประสาน หล่อ ตัวอย่างคอนกรีตมีขนาดเป็น 200 x 200 x 250 มม.3 มีการฝังเหล็กที่ตําแหน่งมุมที่ระยะหุ้ม 95 มิลลิเมตร หลังจากการบ่มคอนกรีตเป็นเวลา 28 วัน นําคอนกรีตไปแช่ในสภาวะแวดล้อมทะเลได้เก็บ ตัวอย่างคอนกรีตจากนํ้าทะเลมาเจาะทดสอบกําลังอัด การแทรกซึมของคลอไรด์ ปริมาณคลอไรด์ (ที่ตําแหน่งเหล็กที่ฝัง) และการกัดกร่อนเหล็กหลังอายุแช่นํ้าทะเล 15 ปี ผลการศึกษา พบว่า การใช้เถ้าถ่านหินในปริมาณที่สูงขึ้นส่งผลให้การสูญเสียกําลังอัด การกัดกร่อนเหล็กเสริม การแทรกซึมของ คลอไรด์และปริมาณคลอไรด์ที่ตําแหน่งฝังเหล็ก ในคอนกรีตลดลง การใช้เถ้าถ่านหินในคอนกรีตที่มี W/B เท่ากับ 0.45 ในช่วงร้อยละ 15 ถึง 35 โดยนํ้าหนักวัสดุประสาน สามารถเพิ่มความคงทนให้กับ คอนกรีตในสิ่งแวดล้อมทะเลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1835
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2565_211.pdf3.9 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น