กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/181
ชื่อเรื่อง: การเก็บรักษาถุงน้ำเชื้อกุ้งขาวและน้ำเชื้อปลาดุกอัฟริกันแบบแช่แข็ง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Cryopreservation of white shrimp (Litopenaeus vannamei) spermatophore and african catfish (Clarias gariepinus) milt
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย
สุบัณฑิต นิ่มรัตน์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: กุ้งขาว - - การขยายพันธุ์
กุ้งขาว - - น้ำเชื้อ - - การเก็บและรักษา
น้ำเชื้อ - - การเก็บและรักษา
น้ำเชื้อแช่แข็ง
ปลาดุกอัฟริกัน - - การขยายพันธุ์
ปลาดุกอัฟริกัน - - น้ำเชื้อ - - การเก็บและรักษา
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาการพัฒนาวิธีการแช่แข็งถุงน้ำเชื้อกุ้งขาว และน้ำเชื้อปลาดุกอัฟริกัน ได้นำเอาถุงน้ำเชื้อกุ้งขาว และน้ำเชื้อปลาดุกอัฟริกัน มาใส่ในสารละลายไครโอโพรเทคแทนท์ชนิดต่าง ๆ ที่อุณภูมิห้องเพื่อประเมินความเป็นพิษ แล้วนำเอาสารละลายไครโอโพรเทคแทนท์ชนิดที่เหมาะสมมาใช้ในการแช่แข็งถุงน้ำเชื้อกุ้งขาว และน้ำเชื้อปลาดุกอัฟริกันก่อนทำการแช่แข็งด้วยการพัฒนารุปแบบวิธีการแช่แข็งในลักษณะต่าง ๆ ผลการศึกษาความเป็นพิษของสารไครโอโพรเทคแทนท์ที่มีต่อสเปิร์มกุ้งขาวโดยใช้สารไครโอโพเทคแทนท์ 10 ชนิดคือ ethanol , propylene, glycol, ethylene glycol, acetamide, sucrose, DMSO, methanol, glycerol, formamide และ trehalose ที่เข้มแข็ง 4 ระดับ คือ 5%, 10%, 15% และ 20% ในแต่ละความเข้มข้นแช่ถุงน้ำเชื้อกุ้งขาวที่เวลา 0, 15, 30, 45 และ 60 นาที จากนั้นจึงนำถุงน้ำเชื้อกุ้งขาวมาย้อมสีเพื่อประเมินเปอร์เซ็นต์สเปิร์มที่มีชีวิต ผลการทดลองปรากฎว่าการแช่แข็งถุงน้ำเชื้อกุ้งขาวสามารถแช่แข็งและเก็บรักษาได้ที่อุณหภูมิ -30 หรือ -80 องศาเซลเซียส โดยการใช้สารละลาย calcium-free saline (Ca-F saline) เป้นสารละลายบัฟเฟอร์ และ DMSO หรือ sucrose เป็นสารไครโอโพรเทคแทนท์ และใช้อัตราการลดอุณหภูมิ 1 องศาเซลเซียส/นาที หรือ 2 องศาเซลเซียส/นาที การศึกษาความเป็นพิษของสารไครโอโพรเทคแทนท์ที่มีต่อน้ำเชื้อปลาดุกอัฟริกันโดยใช้น้ำยา Calcium-free Hank’s balanced salt solution (C-F HBSS) เป็น sperm extender และใช้สารละลายไครโอโพรเทคแทนท์ 9 ชนิด ได้แก่ DMSO, propylene glycol, ethylene glycol, glycerol, sucrose, methanol, ethanol, formamide และ trehalose ที่ความเข้มข้น 4 ระดับ (5%, 10%, 15% และ 20%) ปรากฎว่าสารละลายไครโอโพรเทคแทนท์หลายชนิดมีความเป็นพิษต่ำและมีความเหมาะสมในการนำไปแช่แข็งน้ำเชื้อปลาดุกอัฟริกันที่ความเข้มข้น หรือระยะเวลาสมดุลต่างๆ การแช่แข็งน้ำเชื้อปลาดุกอัฟริกันโดยใช้อัตราการลดอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว (10 องศาเซลเซียส/นาที) อัตราการลดอุณหภูมิอย่างปานกลาง (5 องศาเซลเซียส/นาที) และอัตราการลดอุณหภูมิอย่างช้า (3 องศาเซลเซียส/นาที) จากอุรหภูมิห้องจนถึงอุณหภูมิสุดท้าย -40 องศาเซลเซียส ก่อนแช่ในไนโตรเจนเหลวทันที พบว่า การใช้สารละลาย DMSO ที่ความเข้มข้น 10%และ 15%และทำการลดอุณหภูมิที่ระดับอัตราการลดอุณหภูมิด้วยอัตรา 10 องศาเซลเซียส/นาที มีผลทำให้เปอร์เซ็นต์การเคลื่อนที่ของสเปิร์มปลาดุกอัฟริกันมีค่าเฉลี่ยประมาณ 33.3% หลังการละลายน้ำเชื้อแช่แข็ง โดยใช้อุณหภูมิที่เหมาะสมในการละลานยน้ำเชื้อที่ 70 °C นาน 10 วินาที
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/181
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น