กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1804
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorพรรณพิลาศ กุลดิลก
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:08:43Z
dc.date.available2019-03-25T09:08:43Z
dc.date.issued2558
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1804
dc.description.abstractการวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัตถุประสงค์ รูปแบบ และกระบวนการผลิตการสื่อสารการตลาดผ่านบล็อกเกอร์ เพื่อศึกษากลยุทธ์การสร้างความน่าเชื่อถือในการสื่อสารการตลาดผ่านบล็อกเกอร์ และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการเปิดรับสารจากการสื่อสารการตลาดผ่านบล็อกเกอร์กับกระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค โดยเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน แบ่งการศึกษาเป็นสองส่วน คือ ส่วนที่ 1 การสัมภาษณ์เจาะลึกกับผู้ส่งสาร อันได้แก่ บริษัทเจ้าของสินค้า/ บริษัทตัวแทนโฆษณา หรือบริษัทตัวแทนการสื่อสารการตลาดผ่านบล็อกเกอร์ และการสำรวจผู้บริโภค Gen Y ที่เคยพบเห็นการนำเสนอสินค้าของบล็อกเกอร์โดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 400 คน ผลการวิจัยพบว่า วัตถุประสงค์ในการทำการสื่อสารการตลาดผ่านบล็อกเกอร์นั้นประกอบไปด้วยวัตถุประสงค์ทางด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสาร และวัตถุประสงค์ทางด้านประสิทธิภาพด้านงบประมาณ โดยมีรูปแบบการสื่อสาร 3 ประเภท ได้แก่ Preview Review และ how to ทั้งนั้นกระบวนการผลิตแบ่งออกเป็น ขั้นก่อนการผลิต ขั้นระหว่างการผลิต และหลังการผลิต สำหรับกลยุทธ์การในสร้างควมน่าเชื่อถือ ประกอบไปด้วย การออกแบบสารตามเอกลักษณ์/ สไตล์ของตน การนำเสนอข้อมูลที่สมจริง การนำเสนอข้อมูลด้วยความซื่อสัตย์ ไม่ปกปิดข้อเสียของผลิตภัณฑ์ การนำเสนอข้อมูลโดยระบุว่ามีผู้สนับสนุน การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ติดตามผ่านการตอบคำถาม/ โต้ตอบการแสดงความคิดเห็น และการสร้างสารที่ตรงกับความต้องการของผู้ติดตาม ผ่านช่องทางการสื่อสารที่มีความแตกต่างกันไป ตามความต้องการการใช้งาน รูปแบบสาร ประเภทของผลิตภัณฑ์ และคุณลักษณะของช่องทางนั้น ๆ ซึ่งบล็อกเกอร์ทั้งหมดมีการผสมผสานการใช้งานมากกว่า 1 ช่องทาง ทั้งนี้บริษัทเจ้าของสินค้า/ บริษัทตัวแทนโฆษณา หรือส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องควรทำความเข้าใจถึงวิธีการทำการสื่อสารการตลาดผ่านบล็อกเกอร์ให้ประสบความสำเร็จ โดยไม่ควรยัดเยียดการขายสินค้าเพ่อบั่นทอนความน่าเชื่อถือของสารและบล็อกเกอร์ ควรเลือกจากคุณลักษณะที่เหมาะสมกับตราสินค้าเป็นหลัก และไม่ควรเลือกจากสถิติของผู้ติดตามบล็อกเกอร์ ในส่วนของความสัมพันธ์ของการเปิดรับสารจากการสื่อสารการตลาดผ่านบล็อกเกอร์กับกระบวนการตัดสินใจของผู้บริโภคนั้น พบว่า โดยรวมกลุ่มตัวอย่างได้รับผลกระทบของการสื่อสารการตลาดผ่านบล็อกเกอร์ต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อระดับมาก แต่อย่างไรก็ตาม ความถี่ในการเปิดรับสารมีความสัมพันธ์กับกระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคขั้นการประเมินทางเลือก ขั้นการตัดสินใจ และหลังการซื้อเท่านั้นth_TH
dc.description.sponsorshipงานวิจัยได้รับทุนสนับสนุนจากงบประมาณเงินรายได้ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 มหาวิทยาลัยบูรพาen
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectการตัดสินใจซื้อth_TH
dc.subjectการสื่อสารการตลาดth_TH
dc.subjectบล็อกเกอร์th_TH
dc.subjectผู้บริโภคth_TH
dc.subjectสาขาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.titleกลยุทธ์การสร้างความน่าเชื่อถือในการสื่อสารการตลาดผ่านบล็อกเกอร์และความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคth_TH
dc.typeResearch
dc.year2558
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2566_121.pdf5.35 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น