กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1786
ชื่อเรื่อง: การประเมินหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี) สาขาวิชาการสอนภาษาจีน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สิราวรรณ จรัสวีวัฒน์
ชนาสร นิ่มนวล
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: การประเมินหลักสูตร
การศึกษา - - หลักสูตร
การสอนภาษาจีน
สาขาการศึกษา
หลักสูตร
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี) สาขาวิชาการสอนภาษาจีน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ตามกรอบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร พ.ศ. 2557 2) เพื่อประเมินหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี) สาขาวิชาการสอนภาษาจีน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554๗ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแหางชาติ พ.ศ. 2552 และ 3) เพื่อประเมินหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี๗ สาขาวิชาการสอนภาษาจีน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) คณะศึกษาสาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ตามรูปแลลซิปป์ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงประเมิน เก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน 2) อาจารย์ประจำหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาจีน จำนวน 5 คน 3) อาจารย์ผู้สอนในหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาจีน จำนวน 5 คน 4) ครูพี่เลี้ยงของนิสิตสาขาการสอนภาษาจีน รหัส 54 ที่ ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 5) ผู้บริหารสถาน ศึกษาของสถานศึกษาที่นิสิตสาขาการสอนภาษาจีนรหัส 54 ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาและ 6๗ นิสิตรหัส 54 ที่กำลังฝึกปฏิบัติการสอน ณ สถานศึกษา จำนวน 64 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเกี่ยวกับหลักศตรการศึกษาบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี) สาขาวิชาการสอนภาษาจีน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) จำแนกตามกลุ่มผู้ให้ข้อมูล อันได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ผู้สอน นิสิตรหัส 54 ผู้บริหารสถานศึกษาและครูพี่เลี้ยง ซึ่งเป็นแบบสอบถามตามระบบการประเมินแบบซิปป์ และคำถามที่ใช้ในการสัมภาษณ์แบบสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลประเมินหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (หลักสูตร 5 ) สาขาวิชาการสอนภาษาจัน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ตามกรอบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร พ.ศ. 2557 พบว่า มีการกำกับให้เป็นไปตามมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง เมื่อมีอาจารย์ประจำหลักสูตรศึกษาต้อก็ได้มีการรับอาจารย์ใหม่ทดแทนอาจารย์ประจำหลักสูตร 2) ผลประเมินหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี) สาขาวิชาการสอนภาษาจีน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา พบว่ามีผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 3) ผลประเมินหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (หลักสูตร 5) สาขาวิชาการสอนภาษาจีน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ตามความคิดเห็นของอาจารย์ผู้สอน นิสิต ผู้บริหารสถานศึกษาและครูพี่เลี้ยง พบว่ามีความเหมาะสมในระดับมากในทุกด้าน และผู้เชี่ยวชาญและอาจารย์ประจำหลักสูตร มีความคิดเห็นต่อหลักสูตรด้านบริบทควรปรับปรุงวัตถุประสงค์ของหลักสูตรและวิชาเอก ส่วนด้านปัจจัย ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตโดยภาพรวมมีความเหมาะสมสอดคล้องกับหลักสูตร The purposes of this research were as follows: 1) toevaluate the Bachelor of Education program (5 years curriculum) in Chinese language teaching (Revised A.D. 2011) at Faculty of Education, Burapha University; 2) to evaluate the curriculum based on the Thai Qualifications Framework for Higher Education (2009), and 3)to evaluate the curriculum based on the CIPP model. The present study employed an evaluative research approach, collecting the data from six groups of participants: 1) three experts, 2) five curriculum-board members, 3) five instructors teaching the Chinese language teaching program, 4) supervising teachers for student teachers in the academic year of 2011, 5) school administrators, and 5) 64 students majoring in the Chinese language teaching The research instruments were a questionnaire and a semi-structured interview protocol, The results were as follows: 1. The Bachelor of Education program (5 years curriculum) in Chinese language teaching (Revised A.D. 2011) at Faculty of Education, Burapha University was operated continuously in accordance with the curriculum qualification standards (2014). When there was a curriculum-board member leave for pursuing further education, the curriculum board could find a new board member. 2. The curriculum was operated in accordance with the Thai Qualifications Framework for Higher Education (2009) 3. The data from instructors, students, school administrators, and supervising teachers revealed that the curriculum was appropriate in all aspects. The experts recommended changing the objective of the program and major-specific courses. The input, process, and product aspects were also appropriate with the program.
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1786
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2567_237.pdf5 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น