กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1780
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | พงศ์เทพ จิระโร | th |
dc.contributor.author | จันทร์พร พรหมมาศ | th |
dc.contributor.author | วทัญญู วุฒิวรรณ์ | th |
dc.contributor.author | คำเผย ภัควงค์ | th |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T09:08:41Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T09:08:41Z | |
dc.date.issued | 2559 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1780 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) มีวัถตุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการพัฒนาบุคลากรด้านการประเมินคุณภาพการศึกษาของ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาและมหาวิทยาลัยแห่งชาติ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพื่อพัฒนาหลักสูตรอบรมผู้ประเมิน คุณภาพการศึกษาของคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพาและมหาวิทยาลัยแห่งชาติ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และเพื่อประเมินและเปรียบเทียบผลการใช้หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นในคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพาและมหาวิทยาลัยแห่งชาติ ประเทศสาธารณไตยประชาชนลาว สรุปผลวิจัย พบว่า หลักสูตร “ผู้ประเมินคุณภาพในระดับหลักสูตรและระดับคณะ” คณะศึกษาศาสตร์ มีวัตถุประสงค์ของหลักสูตร เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการประกันคุณภาพ การศึกษา การวัด การประเมิน ตัวบ่งชี้และเกณฑ์เพื่อผู้เข้ารับการอบรมมีความตระหนัก และเห็นความสำคัญในการประกันคุณภาพการศึกษา และเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีทักษะในการประเมินคุณภาพการศึกษา เป็นผู้ประเมินภายในของคณะศึกษาศาสตร์ ได้ระยะเวลาที่ใช้ในการฝึกอบรม หลักสูตร 36 ชั่วโมง (ทฤษฎี 2 วัน ปฏิบัติ 1 วัน) ค่า Mdn และ IQR ความเหมาะสมตามความคิดของผู้ทรงคุณวุฒิ จากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา พบว่าหลักสูตรมีความเหมาะสมระดับมากที่สุด 9 รายการ นอกจากนั้นมีความเหมาะสมระดับมาก ความเหมาะสมของโครงการประเมินคุณภาพการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ด้านผู้รับการประเมิน ความคิดเห็น ต่อความพร้อม ด้านการเป็นผู้รับการประเมิน/ภาค/หลักสูตร โดยรวมมีความพร้อมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.50) ค่า Mdn และ IQR ความเหมาะสมตามความคิดเห็นของผู้ทรงวุฒิทาง สปป.ลาว พบว่าหลักสูตรมีความเหมาะสมระดับมากที่สุด 11 รายการ นอกจากนั้นมีความเหมาะสมระดับมาก เปรียบเทียบ ค่า Mdn และ IQR ความเหมาะสมตามความคิดเห็นของผู้ทรงวุฒิทาง สปป.ลาว (มหาวิทยาลัยแห่งชาติ สปป.ลาว) กับไทย (มหาวิทยาลัยบูรพา) พบว่าความคิดเห็นในประเด็นความเหมาะสมจำนวนทั้งหมด 18 กิจกรรมและกลไก ในองค์ประกอบต่างๆของหลักสูตรทั้งสองมหาวิทยาลัยมีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด โดยความคิดเห็นเหมือนกันจำนวน 10 กิจกรรม ต่างกัน 8 กิจกรรม | th_TH |
dc.description.sponsorship | ทุนสนับสนุนวิจัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ปีงบประมาณ 2558 | en |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | การประเมินหลักสูตร | th_TH |
dc.subject | คุณภาพการศึกษา | th_TH |
dc.subject | สาขาการศึกษา | th_TH |
dc.title | การวิจัยพัฒนาหลักสูตรอบรมผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะของมหาวิทยาลัย: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และมหาวิทยาลัยแห่งชาติประเทศ สาธารณารัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว | th_TH |
dc.title.alternative | The research and development of curriculum for Training the educational quality assessor:faculty of education burapha university,thailand and lao national university, lao people's democration republic | en |
dc.type | งานวิจัย | |
dc.year | 2559 | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2566_130.pdf | 5.62 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น