กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1777
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | สุเนตร สุวรรณละออง | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T09:08:41Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T09:08:41Z | |
dc.date.issued | 2558 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1777 | |
dc.description.abstract | งานวิจัยเรื่องบทบาทของชุมชนในประเทศไทยในการปกป้องคุ้มครองสิทธิชุมชน มีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ1. เพื่อศึกษาพัฒนาการแนวคิดสิทธิชุมชนในประเทศไทยก่อนหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 และ 2. เพื่อศึกษาบทบาทในการปกป้องคุ้มครองสิทธิชุมชนของชุมชนในประเทศไทยก่อนหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เจาะลึกแกนนำจากภูมิภาคต่าง ๆ 4 ภูมิภาคได้แก่ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคอีสาน ผลการศึกษาพบว่า พัฒนาการของแนวคิดสิทธิชุมชนในประเทศไทยก่อนหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มีลักษณะการเปลี่ยนแปลงเป็น 3 ยุค จากยุคเริ่มต้นซึ่งเป็นช่วงเวลาตั้งแต่สมัยจารีตจนกระทั่งประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปีพ.ศ. 2475 แนวคิดสิทธิชุมชนในสังคมไทยในช่วงนี้จะเป็นสิทธิรวมหมู่อันเป็นสิทธิตามสภาพ (De facto right) ไม่ใช่สิทธิตามกฎหมายและมีลักษณะการเป็นสิทธิเชิงซ้อนอันเป็นข้อตกลงหรืออำนาจแห่งการจัดการประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีหลายชนิดซ้อนทับกันอยู่ ไม่สามารถแยกออกจากกันได้อย่างชัดเจนหรือไม่เบ็ดเสร็จเด็ดขาดเสียเลยทีเดียว และผู้คนในสังคมทั้งรัฐและประชาชนต่างให้การเคารพและยอมรับสิทธิชุมชนดังกล่าวร่วมกัน ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชนสามารถดำรงอยู่ได้เป็นอย่างดีต่อมาเป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงและการเปลี่ยนผ่านคือนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 จนกระทั่งก่อนปี พ.ศ. 2540 แนวคิดสิทธิชุมชนได้รับการยอมรับน้อยลงและต้องหลีกทางให้กับแนวคิดสิทธิเชิงปัจเจกที่ให้ความสำคัญกับกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล (property right) อันเป็นสิทธิอำนาจตามกฎหมาย (De jure right) ที่ละเมิดมิได้ สิทธิของเอกชนและสิทธิของรัฐจึงเป็นสิทธิสำคัญที่ได้รับการเคารพและยอมรับหาใช่สิทธิชุมชนไม่ทำให้สิทธิชุมชนไม่มีพลังและศักยภาพในการดูแลจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชนเช่นเดิม ส่งผลให้ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถูกทำลายอย่างรวดเร็ว ต่อมาในยุคแห่งการปรับสมดุลเชิงอำนาจคือช่วงเวลานับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 มีเหตุการณ์รัฐประหารและมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี พ.ศ. 2557 ซึ่งไม่มีการกล่าวถึงสิทธิชุมชนทำให้แนวคิดสิทธิชุมชนที่เคยได้รับการรับรองโดยกฎหมายได้หายไปจากสังคมไทยชั่วขณะหนึ่ง ต้องรอจนกว่าจะมีการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่เสร็จเรียบร้อยจึงจะเห็นอนาคตของแนวคิดสิทธิชุมชนในสังคมไทยอีกครั้งหนึ่ง หลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ซึ่งสิทธิชุมชนได้รับการรับรองไว้ในกฎหมายสูงสุดเป็นครั้งแรกในประเทศไทย พบว่า บทบาทของชุมชนในการปกป้องคุ้มครองสิทธิชุมชนในประเทศไทยในภูมิภาคต่าง ๆ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ โดยพบว่าภาคใต้มีปริมาณของการรวมกลุ่ม ต่อสู้เรียกร้องสูง รวมทั้งมีรูปแบบหรือวิธีการในการต่อสู้ที่เข้มข้นหลากหลายมากกว่าภาคอื่น ต่อมาเมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 ซึ่งสิทธิชุมชนยังคงได้รับการบรรจุไว้อยู่และได้มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาบทบัญญัติให้กว้างขวางครอบคลุมมากขึ้น จึงยิ่งส่งผลให้บทบาทของประชาชนในการปกป้องสิทธิชุมชนมีพลังเพิ่มมากขึ้นเพราะชุมชนได้นำสิทธิชุมชนมาเป็นเครื่องมือในการต่อสู้และจัดการทรัพยากรธรรมชาติละสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าบทบาทของชุมชนได้มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปสู่บทบาทในการจัดการตนเองของชุมชน ทั้งนี้เพราะพลังแห่งการเชื่อมร้อยกันเป็นเครือข่ายของชุมชนที่มีเพิ่มขึ้นและได้ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันทำให้ชุมชนในการปกป้องสิทธิชุมชนในประเทศไทยภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 คือ การแสดงออกถึงอิสระภาพแห่งเจตจำนงในการกำหนดชีวิตของตนเอง อันถือเป็นสิทธิมนุษยชนและสิทธิพลเมือง ที่ปะทุขึ้นจากการเรียนรู้ของชุมชนอันเป็นบานรากของสังคมไทย The research aimed to:1) study the development of community right concepts in Thailand before and after the announcement of The Constitution of the Kingdom of Thailand B.E.2540, and. 2) study the roles of The Community right protection after the announcement of the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E.2540.This research used qualitative methodology with documentary research and in-depth interviews with community leaders from 4 different regions – North, Central, North-East and South. The study revealed that: The development of community right concepts in Thailand before and after the announcement of The Constitution of the Kingdom of Thailand B.E.2540 could be explained in 3 periods. The first was traditional period which lasted to the stage of the democratic and political reform in B.E. 2475. The concept of community rights during this period was in the form of collective right which was considered De facto right. It was not legal right and it contained the aspects of complexity rights which were agreements or powers designated among people to manage their environmental and natural resources. These rights were overlapping and they could not be separated. The people in the community and the state accepted the said rights. Accordingly, all the environmental and natural resources were sustainably maintained. The second was alternation and transference period which was started in BE 2475 and lasted to before B.E.2540. In this period, the concept of community right was less accepted while the individual right which emphasized on the property right- De jure right was the limelight. The individual right were accepted and respected according to the laws. These rights were not community right. De jure right caused the community right to loss its roles in managing community’s natural resources. Hence, the environmental and natural resources were rapidly destroyed. The third was the period of the reform of balance of power which was started in B.E. 2540 to B.E.2557 In B.E.2540,the starting point of the period of the reform of balance of power, the concept of community right was well accepted by the society as a law. Consequently, the roles of the community were getting stronger and more effective. In B.E. 2557, the political reform emerged, and the Constitution of the Kingdom of Thailand (interim) B.E. 2557 was announced. This Constitution did not mention about community rights, so the community rights which were formerly acknowledged by laws were disappeared in Thailand for a short while. Right after the announcement of the new Constitution of Thailand, the community rights in the Kingdom will be seen again. After the announcement of the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E.2540, the community rights were acknowledged on the Constitution for the first time. The roles of the communities in protecting community fights in different regions of Thailand were more and more significant in terms of quality and quantity. The study revealed that in the South, there were the highest numbers of the people assemble, and the campaigns for community rights. In addition, the campaigns and assemble came in various forms. On the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E.2550, community rights were still implanted, and the details were broadened to cover broader areas; therefore, people’s roles in protecting the community rights gained more power. The power of community networks caused knowledge sharing among communities, so the communities were strengthened, and the people realized the concept of reliance. In short, the community’s roles in protecting community fights in Thailand after the Constitution of B.E. 2540 was to express their freedom and the will to live their own lives and determine their lives themselves. Human rights and civil rights were emerged from learning among communities, and these communities were considered a foundation of Thai society. | th_TH |
dc.description.sponsorship | ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจาก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปี พ.ศ. 2558 | en |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | ชุมชน | th_TH |
dc.subject | รัฐธรรมนูญ--ไทย | th_TH |
dc.subject | รัฐธรรมนูญ | th_TH |
dc.subject | สิทธิชุมชน | th_TH |
dc.subject | สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ | th_TH |
dc.title | บทบาทของชุมชนในประเทศไทยในการปกป้องคุ้มครองสิทธิชุมชน | th_TH |
dc.title.alternative | The Roles Communities in Thailand towards Community Rights | en |
dc.type | Research | |
dc.year | 2558 | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2566_148.pdf | 9.18 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น