กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1776
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | วิไล ลิ่มถาวรานันต์ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T09:08:41Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T09:08:41Z | |
dc.date.issued | 2558 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1776 | |
dc.description.abstract | การวิจัยเรื่อง การทับศัพท์ชื่อ-สกุลคนไทยแบบถ่ายเสียงจากภาษาไทยเป็นภาษาจีน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความนิยมเกี่ยวกับลักษณะรูปแบบของคำศัพท์ และวิธีการทับศัพท์ชื่อ-สกุลคนไทยจากภาษาไทยเป็นภาษาจีนในเอกสารภาษาจีน และเพื่อศึกษาหลักการถ่ายเสียงหน่วยพยางค์ภาษาไทยเป็นภาษาจีน ตามหลักวิชาภาษาศาสตร์ โดยศึกษาข้อมูลชื่อ-สกุลคนไทยจากเอกสารภาษาจีน ระหว่างปี พ.ศ. 2555-2557 จำนวน 939 ราย ชื่อ การวิเคราะห์ข้อมูลตามแนวภาษาศาสตร์ โดยวิเคราะห์หน่วยพยางค์เสียงในชื่อ-สกุลคนไทย ในระดับเสียงพยัญชนะ เสียงสระและเสียงตัวสะกด ผลการวิจัยพบว่า 1. ความนิยมเกี่ยวกับการทับศัพท์ชื่อ-สกุลคนไทยในเอกสารภาษาจีน มีลักษณะดังนี้ คำทับศัพท์ชื่อ-สกุลคนไทยในเอกสารภาษาจีน มีรูปแบบการถ่ายเสียงตามการใช้ในภาษาไทย เช่น มีลำดับการเรียงชื่อ-สกุลตามรูปแบบภาษาไทย โดยนำด้วยคำบอกชื่อบุคคลและตามด้วยคำบอกนามสกุลและมีเครื่องหมาย . คั่นกลางระหว่างคำบอกชื่อและนามสกุล การทับศัพท์เฉพาะชื่อบุคคล การทับศัพทืชื่อจริงและชื่อเล่นควบคู่กัน วิธีการทับศัพท์ถ่ายเสียงชื่อ-สกุลคนไทย มีวิธีการดังนี้ คือ การถ่ายเสียงโดยการเทียบเสียงจากพยางค์เสียงภาษาไทยไปเป็นภาษาจีนโดยตรงแบบพยางค์ต่อพยางค์ การถ่ายเสียงแบบแยกพยางค์เสียง การถ่ายเสียงแบบลดเสียง และการถ่ายเสียงแบบการเปลี่ยนเสียง เป็นต้น 2. หลักการถ่ายเสียงพยางค์ชื่อ-สกุลคนไทยจากภาษาไทยไปเป็นภาษาจีน 2.1 การถ่ายเสียงพยัญชนะในพยางค์ชื่อ-สกุลจากภาษาไทยไปเป็นภาษาจีน มีดังนี้ คือ 1) การถ่ายเสียงด้วยการเทียบเสียงพยัญชนะจากกลุ่มฐานเสียงภาษาไทยที่ใกล้เคียงกับภาษาจีน เช่นก /g/กับ g ข, ค /k/กับ k จ /c/กับz zh j ฉ ช ฌ/ch/กับ c,ch,q ซ ส ศ ษ /s / กับ s,sh, x ญ ย /j /กับ r ฎ ด /d/กับ d ถ ท ฑ ฒ ธ ฐ /th/กับ t น ณ /n/กับ n ป /p/กับ b พ ผ ภ/ph/กับ p ฝ ฟ /f/กับ f ม /m/กับ m ร /r/กับ l ล /l/ กับ l ว /w/กับ w ห ฮ /h/ กับ h 2) การถ่ายเสียงโดยการเปลี่ยนเสียง เช่น การเปลี่ยนเสียงในกลุ่มฐานเสียงเดียวกันหรือกลุ่มฐานเสียงที่มีการออกเสียงใกล้เคียงกัน เช่น กลุ่มเสียงปุ่มเหงือก d t n l (“ริต” เป็น (di) ) กลุ่มโคนลิ้น g h (“คำ” เป็น(gan) ) กลุ่มริมฝีปาก b p (“พิ” เป็น(bi) ) กลุ่มเสียงเสียดแทรก j q x zh ch s (“เชี่ยว” เป็น(xia) ) เป็นต้น 3) การถ่ายเสียงโดยการลดพยางค์ในคำที่ไม่ปะวิสัญชนี เช่น “จันทรศิริ” (zhanxili) คำว่า จันทร มีการลดพยางค์เป็นพยางค์เดียวเป็น (zhan) 4) การถ่ายเสียงพยัญชนะควบในภาษาไทย ทำได้โดยการเทียบเสียงอักษรตัวแรกในพยัญชนะควบ เช่น “ปลา” เป็น (ba) “ปลอด” เป็น (bu) , (bo) 5) การถ่ายเสียงพยัญชนะควบในภาษาไทย อาจทำได้โดยการแยกพยางค์ในเสียงพยัญชนะควบเป็นสองหน่วยเสียง เช่น “ประ” เป็น (ba la) “ขลา” เป็น (ka la) 2.2 การถ่ายเสียงสระในพยางค์ชื่อ-สกุลจากภาษาไทยเป็นภาษาจีน 1) โดยทั่วไปการถ่ายเสียงพยางค์ในระดับสระ จะอ้างอิงเสียงพยัญชนะเป็นหลัก แล้วจึงพิจารณาเสียงสระเป็นอันดับต่อมา หากเสียงพยัญชนะไม่สามารถประสมกับสระที่ต้องการได้ ก็จะอาศัยวิธีการเปลี่ยนเสียงพยัญชนะ หรือเปลี่ยนเสียงสระ เพื่อให้การถ่ายสียงได้ตรงกับภาษาในต้นฉบับมากที่สุด 2) การถ่ายเสียงโดยการเทียบเสียงสระที่ออกเสียงใกล้เคียงกับภาษาจีน เช่น อะ อา เป็น a อิ อี เป็น i อุ อู เป็น u เอีย เป็น ie ออ เป็น o โอ เป็น o เอา เป็น ao เออ เป็น e ไอ เป็น ai 3) การถ่ายเสียงสระที่ไม่สามารถเทียบเสียงโดยตรงกับภาษาจีน เช่น อึ อือ โอะ เอะ เอ เอะ แอะ แอ เอือะ เอือ อำ ทำได้โดยการเปลี่ยนเป็นเสียงสระที่มีฐานเสียงใกล้เคียงกัน เช่น “พัว” เป็น (po) สระห่อปาก สระอัว เปลี่ยนเป็น o “เส” เป็น (she) สระไม่ห่อปาก สระเอ เปลี่ยนเป็น e 4) ในกรณีที่เสียงสระในภาษาไทยและภาษาจีนตรงกัน แต่การประสมเสียงกับพยัญชนะไม่สอดคล้องกัน การถ่ายเสียงจึงต้องมีการเปลี่ยนเสียงสระให้สอดคล้องกับการประสมเสียงกับพยัญชนะ เช่น “โร” เป็น (luo) เสียงพยัญชนะ l ในภาษาจีนไม่สามารถประสมกับสระ o จึงเปลี่ยนเป็นสระ uo “ห่อ” เป็น (huo) เสียงพยัญชนะ h ในภาษาจีนไม่สามารถประสมกับสระ o จึงเปลี่ยนเป็นสระ uo “ก่อ” เป็น (gu) เสียงพยัญชนะ g ในภาษาจีนไม่สามารถประสมกับเสียงสระ o จึงเปลี่ยนเป็นสระ u เป็นต้น 5) การถ่ายเสียงสระประสมที่ไม่ปรากฏมีในภาษาจีนและมีตัวสะกด ทำได้โดยการเปลี่ยนเสียงเป็นสระเดี่ยวหรือสระประสมที่มีเสียงใกล้เคียงกับภาษาจีน และตัดเสียงตัวสะกด เช่น “เรือง” เป็น (le) “เมตต์” เป็น (mo) “เทพ” เป็น (tie) “กอบ” เป็น (guo) “ศึก” เป็น (ke) เป็นต้น 6) การถ่ายเสียงพยางค์ที่เสียงสระประสมและเสียงตัวสะกด ทำได้โดยการเปลี่ยนเสียงเป็นสระเสียงนาสิกในภาษาจีน เช่น “แสง” เป็น (sheng) “เมือง” เป็น (meng) “กร” เป็น (gong) 7) ในกรณีที่พยัญชนะไทยไม่ปรากฏมีในระบบภาษาจีน การถ่ายเสียงอาจอ้างอิงเสียงสระที่ใกล้เคียงกันกับเสียงสระในภาษาจีน และลดเสียงพยัญชนะ เช่น “บุญ” เป็น (wen) “บรร” เป็น (wan) 8) การถ่ายเสียงอาจทำได้โดยการแยกพยางค์ในเสียงพยัญชนะกับสระภาษาไทย ตามการประสมเสียงในภาษาไทย เช่น “ตฤณ” เป็น (dilin) แยกเสียงเป็น (di) + (lin) “สวน” เป็น (suwan) แยกเป็นเสียง (su) + (wan) 2.3 การถ่ายเสียงตัวสะกดในพยางค์ชื่อ-สกุลจากภาษาไทยไปเป็นภาษาจีน 1) การถ่ายเสียงตัวสะกดในภาษาไทยที่ตรงกับภาษาจีน เช่นเสียงตัวสะกด น กับ ง ในที่นี้คือสระเสียงนาสิกที่ลงท้ายด้วย n และ ng ในภาษาจีน เช่น “กัล” เป็น (gan) “ทวน” เป็น (duan) “เสียง” เป็น (xiang) เป้นต้น 2) การถ่ายเสียงตัวสะกดในภาษาไทยที่ไม่มีในภาษาจีน เช่น ก ด บ ม เป็นต้น ในการถ่ายเสียงเป็นภาษาจีน ทำได้โดยการเปลี่ยเสียงเป้นสระเสียงนาสิกที่ลงท้ายด้วย n และ ng เช่น “จักร” เป็น (zhan) เปลี่ยนเสียงตัวสะกด ก เป็น n “เปรม” เป็น (bing) เปลี่ยนเสียงตัวสะกด ม เป็น ng และ “พัทธ์” เป็น (pan) เปลี่ยนเสียงตัวสะกด ด เป็น n 3) ในกรณีที่ตัวสะกดดังกล่าวไม่มีในภาษาจีน การถ่ายเสียงอาจจะถ่ายเสียงพยัญชนะเป็นสระเป็นหลัก และลดเสียงตัวสะกด เช่น “ธรรม” เป็น (tang ma) “ลิ่ม” เป็น (li mu) “เขม” เป็น (ka man) 4) ในกรณีที่ตัวสะกดดังกล่าวไม่มีในภาษาจีน การถ่ายเสียงอาจจะถ่ายเสียงเฉพาะเสียงพยัญชนะและสระเป็นหลัก และลดเสียงตัวสะกด เช่นคำว่า “เรศ” เป็น (lei) “รท” เป็น (la) 5) การเปลี่ยนตัวสะกดต้องอ้างอิงเสียงพยัญชนะและการประสมสระเป็นหลัก เช่น “คราม” เป็น (kan) โดยมีการถ่ายเสียงพยัญชนะ ค เป็น k ถ่ายเสียงสระอาเป็นสระ an และเปลี่ยนเสียงตัวสะกด ม มาเป็นตัวสะกด n | th_TH |
dc.description.sponsorship | งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากงบประมาณเงินรายได้คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ปี 2558 | en |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | การถอดตัวอักษร | th_TH |
dc.subject | การทับศัพท์ | th_TH |
dc.subject | ภาษาจีน | th_TH |
dc.subject | ภาษาไทย | th_TH |
dc.subject | สาขาปรัชญา | th_TH |
dc.title | การทับศัพท์ชื่อ-สกุลคนไทยแบบถ่ายเสียงจากภาษาไทยเป็นภาษาจีน | th_TH |
dc.title.alternative | Thai – Chinese Transliteratoin of Thai ’ s name and surname | en |
dc.type | Research | th_TH |
dc.year | 2558 | |
dc.description.abstractalternative | This research was entitled the transliterating Thai ’s name and surname into Chinese. This research aimed to study the popularity of pattern and charateriatics of a transliterated word, and study how to transliterate Thai people’ s names into Chinese. Also, to study the pincple approach. Thai name and surname in Chinese document in 2012-2014 (B.E.2555-2557) was studied. The number of 939 Chinese was found. Based on the linguistics approach, data were analyzed. Thai syllabic phones and how to transliterate into Chinese character was analyzed. The consonant sound, vowel sound, and final sound were also analyzed. The results were explained as follows. 1.The popularity of how to transliterate Thai name and surname into Chinese found in Chinese document. How to transliterate Thai name and surname into Chinese found in Chinese document was carried out by the usage in Thai language. For example, first name and surname are arranged in order like in Thai language. The title was placed in front of the first name, and marked word was also placed in front of the surname. In this way, the symbol ( . ) was placed between the two above words. The loan word was done for the person’ name, the first name , and nickname together. The method of transliteration of Thai name and surname was conducted by comparing the syllabic phoneme of Thai sound and transliterating into Chinese character directly in the way of syllable by syllable. The method of separating the syllables, reducing the syllables, and changing the sounds of syllables were used. 2. The principle of how to transliterate Thai name and surname into Chinese 2.1 The method of transliterating a syllable of Thai name and surname into Chinese was explained as follows. 1) The transliteration conducted by comparing the consonant sounds of the Thai articulation which is equivalent to Chinese articulation was presented as follows. ก /g/with g ข, ค /k/ with k จ /c/ with z zh j ฉ ช ฌ/ch/ with c,ch,q ซ ส ศ ษ /s / with s,sh, x ญ ย /j / with r ฎ ด /d/ with d ถ ท ฑ ฒ ธ ฐ /th/ with t น ณ /n/ with n ป /p/ with b พ ผ ภ/ph/ with p ฝ ฟ /f/ with f ม /m/ with m ร /r with / l ล /l/ with l ว /w/ with w ห ฮ /h/ with 2) The transliteration conducted by changing sounds, for example, changing sound in the same place of articulation or the sounds produced which is equivalent to the same place of articulation. Such as the alveolar articulation as in d t n l (“ริต” into (di) ) , the velar articulation as in g h (“คำ” into (gan) ), the bilabial articulation as in b p (“พิ” into (bi) ), and the fricative articulation as in j q x zh ch s (“เชี่ยว” into (xia) ) 3) The transliteration conducted by changing a cluster consonant in Thai language, for example, “ปลา” into (ba) “ปลอด” into (bu) , (bo) 4) The transliteration conducted by reducing syllables in Thai word that has semi-vowel sound as in /^/, for example, the word “จันทรศิริ”, (zhanxili) is reduced and become one syllable as in (zhan). 5) The transliteration conducted by separating syllables in a cluster consonant sound in Thai language into two Chinese characters, for example, the word “ประ” into (ba la) “ขลา” into (ka la). 2.2 The method of transliterating the vowel sound in a syllable of Thai name and surname into Chinese 1) In general the sequence of how to transliterate a vowel sound , the consonant sound must be considered first. Then, the vowel sound is considered. In case of the consonant sound cannot by combined with the vowel sound, it is recommended to change the consonant sound and/ or the vowel sound in oder to find the most identical sound as shown in a source language. 2) The transliteration focusing on the vowel sound which is similar to other vowel sound, for example, อะ อา into a, อิ อี into I, อุ อู into u, เอีย into ie, ออ into o ,โอ into o, เอา into ao, เออ into e, and ไอ into ai. 3) The transliteration focusing on the vowel sound which cannot be compared to Chinese vowel sound, for example, อึ อือ โอะ เอะ เอ เอะ แอะ แอ เอือะ เอือ อำ. In this way, the equivalent vowel sound can be compared. For example, the Thai vowel sound, อัว into o (“พัว” into (po) , เอ into e (“เส” into (she) ). 4) Changing a vowel sound into a new one when two vowel sounds (of Chinese and Thai) are alike because the consonant sound in Chinese cannot be combined with the o vowel sound. Therefore, the o vowel sound is changed into uo vowel sound which is equivalent to the o vowel sound, for example, the word “โร” into (luo), the word “ห่อ” (huo), the word “ก่อ” into (gu). 5) The equivalent vowel sound can be compared, delete the final sound of a word . The vowel sound, อึ is changed into e, for example, the word, “ศึก” into (ke), “เรือง” into (le), “เมตต์” into (mo). 6) The equivalent vowel sound can be compared. For example, the Thai vowel sound place, อัว into o (“พัว” into (po) ), แอ into eng (“แสง” into (sheng) ), เอือ into eng (“เมือง” into (meng) ), เอ into (gong.) ). 7) Changing a vowel sound can be done when the two vowel sounds with the same place of articulation are similar to or equivalent to each other. However, the consonant sound is reduced. For example, the Thai word, “บุญ” into (wen), and “บรร” into (wan). 8) The transliteration conducted by separating syllable in a Thai consonant and vowel sound, for example, the Thai word, “ตฤณ” into (dilin) which is from + (lin), and “into” (suwan) form (su)+ (wan) 2.3 The method of transliterating the final sounds (ending sound) in a syllable in Thai name and surname into Chinese. 1) Transliterating the Thai the same final sounds into Chinese by comparing to the same final sounds in Chinese and they are น and ง Like Chinese they are n and ng, for example, the word “กัล” into (gan), “ทวน” into (duan), and “เสียง” into (xing) and so on. 2) Since there are many more various Thai final sounds than Chinese ones, it is necessary to change the sound in order to match with the final sounds into Chinese, for example, changing the final sound ก into “จักร” into (bing), and changing the final sound ด into n as in “พันธ์” into (pan) 3) When Transliterating, separate the syllable of a final ending. It means to focus on the consonant sound and the final sound of each syllable and separate it, for example, the word “ธรรม” into (tang ma), “ลิ่ม” into (li mu), and “เขม” into (Ka man). 4) When Transliterating, delete the final sound of a word. The transliteration of consonant and vowel sound was mainly focused and the final sound was deleted such as the word, “เรศ” into (lei), and “รท” into (la) 5) Furthermore, changing the final sound can be done and must be concerned to the combination rule of consonant sound and vowel sound such as the word, “คราม” into (Kan). The final sound ม is changed to n by the method to change the consonant sound ค into k. Also, the vowel sound อา is changed to ‘an’ which has an n final sound as in (kan). | en |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2566_149.pdf | 9.87 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น