กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1775
ชื่อเรื่อง: โรค Metabolic Syndrome ในเด็กวัยเรียนในเขตภาคตะวันออกของประเทศไทย: ความชุก และการศึกษาติดตาม (ระยะติดตามปีที่ 2)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Metabolic Syndrome among School-age children in the Eastern Region of Thailand: Prevalence and Cohort Study (The 2nd year follow-up)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นุจรี ไชยมงคล
ยุนี พงศ์จตุรวิทย์
ทวีลาภ ตั๊นสวัสดิ์
ชรริน ขวัญเนตร
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
เด็กวัยเรียน
โรคเมตาบอลิกซินโดรม
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: โรค Metabolic Syndrome มีการศึกษาน้อยในประเทศไทยในกลุ่มวัยเด็ก โดยเฉพาะในเรื่องของความชุก ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง และตัวชี้วัดที่สำคัญของการวินิจฉัยโรค การวิจัยนี้เป็นแบบ Cohort-prospective Study มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความชุก หาความสัมพันธ์ และปัจจัยทำนายของโรค Metabolic Syndrome ในเด็กวัยเรียนชาวไทยในระยะติดตามปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 131 ราย โดยติดตามจากกลุ่มเดิมที่ศึกษาในปีแรกที่มีภาวะน้ำหนักเกิน และอ้วน ที่อยู่ในเขตจังหวัดชลบุรี ในปีพ.ศ. 2558 กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 10.86 (± 1.36) ปี เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง เส้นรอบเอว วัดความดันโลหิต และตรวจเลือดหาระดับน้ำตาล และไขมันวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Crosstabs x^2-test, Independent t-test, paired t-test และใช้ Stepwise multiple linear regression ผลการวิจัยพบความชุกของโรคเมตาบอลิกซินโดรมร้อยละ 7.8 เพิ่มขึ้นจากการศึกษาในปีแรกที่พบร้อยละ 5.0 คิดเป็นเพิ่มขึ้นร้อยละ 56.0 ค่าเฉลี่ยของน้ำหนัก ความสูง ค่าดัชนีมวลกาย ค่าเปอร์เซ็นไทล์ดัชนีมวลกาย และเส้นรอบเอวเพิ่มขึ้นเมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้นทั้งเด็กนักเรียนชายและหญิง แต่ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างเพศของเด็กในเรื่องของลักษณะตัวแปรทางกายภาพดังกล่าว แต่พบว่านักเรียนชายที่มีอายุตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปมีค่าเฉลี่ยเส้นรอบเอวมากว่านักเรียนหญิงในอายุที่เท่ากันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t =2.09, p <.05) Triglyceride เป็นตัวทำนายที่ดีที่สุดของดัชนีมวลกาย เปอร์เซ็นไทล์ (β= .214) รองลงไปคือ Systolic BP (β= .214) ตัวแปรทั้งสองทำนายดัชนีมวลกายเปอร์เซ็นไทล์ของเด็กนักเรียนได้ร้อยล่ะ 10.6 (Adjust R² = .93, F2, 128=7.63, p<.01) นอกจานนี้ Triglyceride ยังเป็นตัวทำนายที่ดีที่สุดของเส้นรอบเอวเด็กนักเรียน (β= .349) รองลงไปคือ Systolic BP (β= .333) เพศของเด็ก (ชาย) (β=.201) และ HDL (β =.164) ตัวแปรทั้งสี่ทำนายความยาวเส้นรอบเอวของเด็กนักเรียนได้ร้อยละ 34.1 (Adjust R2 =.320, F4,126 = 16.289, p<.001) การศึกษาติดตามปีที่ 2 นี้ได้ผลเช่นเดียวกับการศึกษาในปีแรก ซึ่งเป็นการยืนยันได้ว่า Triglyceride, Systolic BP และ HDL มีความสัมพันธ์ และอิทธิพลต่อดัชนีมวลกายเปอร์เซ็นไทล์และความยาวเส้นรอบเอวในเด็กนักเรียน และส่งผลต่อการเกิดโรคเมตาบอลิกซินโดรม ซึ่งสอดคล้องกับ IDF สำหรับการวินิจฉัย Metabolic Syndrome ในเด็กอายุตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ระดับน้ำตาลสูงในเลือดยังไม่เหมาะสมเป็นตัวชี้วัดสำหรับใช้เพื่อการวินิจฉัยโรค Metabolic Syndrome ในเด็ก แต่ควรซักประวัติโรคเบาหวานในเครือญาติ อย่างน้อย 3 ลำดับชั้นเพื่อเป็นข้อมูลสำคัญช่วยในการเฝ้าระวังโรค และ เพศของเด็กยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับโรค
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1775
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2560_083.pdf11.37 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น