กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1774
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorธนะวัฒน์ วรรณประภา
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:08:40Z
dc.date.available2019-03-25T09:08:40Z
dc.date.issued2559
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1774
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลการประเมินประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษาของคณาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาจำแนกตามสาขาวิชา 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการประเมินประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนด้านพฤติกรรมการเรียนของผู้เรียน โดยจำแนกตามประเภทนิสิต 3) เพื่อเปรียบเทียบผลการประเมินประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนต่อรายวิชา โดยจำแนกตามประเภทนิสิต 4) เพื่อเปรียบเทียบผลการประเมินประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนด้านคุณภาพการสอนของอาจารย์ โดยจำแนกตามประเภทนิสิต ในการศึกษานี้ผู้วิจัยใช้ข้อมูลจากจากระบบประเมินประสิทธิภาพการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยบูรพาสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล โดยสุ่มอย่างง่ายได้กลุ่มตัวอย่างเป็นอาจารย์ผู้สอนในระดับบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ ที่ดำเนินการสอนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 54 คน และนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนทั้งสิ้น 2,576 คน จากจำนวนกลุ่มเรียนทั้งสิ้น 196 กลุ่ม เป็นภาคปกติ 100 กลุ่ม และภาคพิเศษ 96 กลุ่ม ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า ระดับความคิดเห็นการประเมินประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนด้านพฤติกรรมการเรียนของผู้เรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับดี (X ̅ = 4.33, SD = .307) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า อันดับหนึ่งนิสิตมีพฤติกรรมการเข้าเรียนในรายวิชาต่าง ๆ ตรงเวลา (X ̅ = 4.44, SD = .363) อันดับสองนิสิตมีพฤติกรรมการตั้งใจเรียน และซักถามเมื่อมีข้อสงสัย (X ̅ = 4.39, SD = .336) และอันดับสามนิสิตมีพฤติกรรมการอภิปราย แลกเปลี่ยนเรียนรู้เนื้อหารายวิชาต่าง ๆ กับเพื่อนร่วมชั้นเรียน (X ̅ = 4.38, SD = .356) การประเมินประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนต่อรายวิชา พบว่า โดยภาพรวมนิสิตมีความคิดเห็นระดับดีมาก (X ̅ = 4.52, SD = .312) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อันดับหนึ่งนิสิตมีความคิดเห็นต่อรายวิชาว่าได้รับประโยชน์จากการเรียนวิชานี้ (X ̅ = 4.58, SD = .363) อันดับสองนิสิตมีความเห็นเนื้อหาวิชาว่ามีความทันสมัย (X ̅ = 4.50, SD = .343) และอันดับสามนิสิตมีความเห็นต่อรายวิชาว่ามีสื่อการสอนที่เหมาะสม ส่งเสริมการเรียนรู้ และสอดคล้องกับเนื้อหา (X ̅ = 4.48, SD = .344) การประเมินประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนด้านคุณภาพการสอนของอาจารย์ พบว่า โดยภาพรวมนิสิตมีความคิดเห็นในระดับดีมาก (X ̅ = 4.56, SD = .311) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อันดับหนึ่งนิสิตมีความเห็นว่าการสอนของอาจารย์ในห้องเรียนมีการส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (X ̅ = 4.62, SD = .307) อันดับสองนิสิตมีความเห็นการสอนของอาจารย์ในห้องเรียนว่า อาจารย์เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมหรือซักถามในชั้นเรียน (X ̅ = 4.60, SD = .323) และอันดับสามนิสิตมีความเห็นว่าการสอนของอาจารย์ในห้องเรียนอาจารย์มีการชี้แจงวัตถุประสงค์ ขอบข่ายเนื้อหา แผนการสอน และวิธีการประเมินผลการเรียน (X ̅ = 4.57, SD = .336) และอาจารย์เข้าและเลิกสอนตรงเวลา (X ̅ = 4.57, SD = .382) ผลการเปรียบเทียบประเมินสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนด้านพฤติกรรมการเรียนของผู้เรียน โดยจำแนกตามประเภทนิสิต พบว่า ระดับความคิดเห็นด้านพฤติกรรมการเรียนของผู้เรียน โดยจำแนกตามประเภทนิสิต นิสิตภาคปกติและนิสิตภาคพิเศษมีความคิดเห็นต่อประเด็นการประเมินทุกข้อมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นประเด็นการเข้าเรียนรายวิชาต่าง ๆ ตรงเวลา มีความคิดเห็นที่ไม่แตกต่างกัน แสดงว่านิสิตทั้งภาคปกติและภาคพิเศษเข้าเรียนในรายวิชาต่าง ๆ ตรงเวลา ผลการเปรียบเทียบการประเมินประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนต่อรายวิชา โดยจำแนกตามประเภทนิสิต พบว่า ระดับความคิดเห็นต่อรายวิชา โดยจำแนกตามประเภทนิสิต นิสิตภาคปกติและนิสิตภาคพิเศษมีความเห็นต่อประเด็นการประเมินทุกข้อมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นประเด็นเกี่ยวกับเนื้อหาวิชามีความทันสมัยมีความคิดเห็นที่ไม่แตกต่างกัน แสดงว่านิสิตทั้งภาคปกติและภาคพิเศษมีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่าเนื้อหารายวิชาที่เปิดสอนในคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มีความทันสมัย ผลการเปรียบเทียบการประเมินประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนด้านคุณภาพการสอนของอาจารย์ โดยจำแนกตามประเภทนิสิต พบว่า นิสิตภาคปกติและนิสิตภาคพิเศษมีความคิดเห็นต่อประเด็นการประเมินทุกข้อมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นประเด็นเกี่ยวกับการชี้แจงวัตถุประสงค์ ขอบข่ายเนื้อหา แผนการสอน และวิธีการประเมิน และประเด็นเกี่ยวกับอาจารย์เข้าและเลิกสอนตรงเวลา มีความคิดเห็นที่ไม่แตกต่างกัน แสดงว่านิสิตทั้งภาคปกติและภาคพิเศษ มีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่าอาจารย์มีการชี้แจงวัตถุประสงค์ ชี้แจงขอบข่ายเนื้อหา ชี้แจงแผนการสอน และวิธีการประเมินก่อนการจัดการเรียนการสอน และอาจารย์เข้าและเลิกสอนตรงเวลาth_TH
dc.description.sponsorshipได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากคณะศึกษาศาสตร์
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectการจัดการเรียนการสอนth_TH
dc.subjectการประเมินประสิทธิภาพth_TH
dc.subjectสาขาการศึกษาth_TH
dc.titleการประเมินประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษาของคณาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.title.alternativeThe performance evaluation of teaching management in graduate studies faculty of education, Burapha Universityen
dc.typeงานวิจัย
dc.year2559
dc.description.abstractalternativeThis research aimed to 1) study the performance evaluation of teaching management in graduate studies level of Faculty of Education, Burapha University that categorized by field of study, 2) compare the performance evaluation of teaching management on studying behavior that categorized by type of students, 3) compare the performance evaluation of teaching management towards courses that categorized by type of students 4) compare the performance evaluation of teaching management on quality of teaching that categorized by type of students. The data from Teaching and Learning Effectiveness Evaluation System, Burapha University were analyzed for this study. The samples were selected by simple random sampling from 54 lecturers who taught in graduate studies level in semester 1, academic year 2014 and 2,576 graduate studies students from 196 sections; full time 100 section and part time 96 sections. Results of the study are as follows:The opinion level of the performance evaluation of teaching management on studying behavior as an overall was high (X ̅ = 4.33, SD = .307). When considering on each aspects found that the first opinions’ level was on students come to class on time (X ̅ = 4.44, SD = .363). The second opinions’ level was on the intension to study and asking question (X ̅ = 4.39, SD = .336). The third opinions’ level was on the discussion of course and learning with classmates (X ̅ = 4.38, SD = .356). The performance evaluation of teaching management toward courses, students rated highest in the overall (X ̅ = 4.52, SD = .312). When considering on each aspects found that the first opinions’ level was on the beneficial from this course (X ̅ = 4.58, SD = .363). The second opinions’ level was on the courses’ content was modernized (X ̅ = 4.50, SD = .343). The third opinions’ level was on the appropriate teaching materials, learning encouragement, and agreeable with content (X ̅ = 4.48, SD = .344). The performance evaluation of teaching management on quality of teaching, students rates highest in the overall (X ̅ = 4.56, SD = .311). When considering on each aspects found that the first opinions’ level was on the teaching in classroom was encouraged students to learn on their own and learners oriented (= 4.62, SD = .307). The second opinions’ level was on the lecturers encouraged students to contribute or ask questions in class (X ̅ = 4.60, SD = .323). The third opinions’ level was on the course objectives, contents, study plan, and assessment were explained (X ̅ = 4.57, SD = .336) and lecturers started and finished the classes on time (X ̅ = 4.57, SD = .382). The result of comparing the performance evaluation of teaching management on studying behavior that categorized by type of students found that the opinions from full time and part time students towards all items have differentiate at .05 significant levels except the item of the students come to class on time. Students’ opinion on this item has not differentiated that means both full time and part time students come to classes on time.The result of comparing the performance evaluation of teaching management towards courses that categorized by type of students found that the opinions from full time students towards all items have differentiate at .05 significant level except the item of the courses’ content was modernized. Students' opinion on this item have not differentiate that means both full time and part time students agreed that courses’ content that offered at Faculty of Education, Burapha University was modernized. The result of comparing the performance evaluation of teaching management that categorized by type of students found that the opinions of full time and part time students towards all items have differentiate at .05 significant levels except the item of the course objectives, contents, study plan, and assessment were explained and the item of lectures started and finished the classes on time. Students’ opinion on these items has not differentiate that means both full time and part time students agreed that the course objectives, contents, study plan, and assessment were explained and lecturers start and finish the classes on time.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2567_168.pdf3.26 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น