กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1767
ชื่อเรื่อง: อิทธิพลของการเพ่งความสนใจต่อสมรรถนะทางอารมณ์และความผาสุกของนิสิตระดับปริญญาตรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effects of mindfulness on emotional competencies and well-being of undergraduate students
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จุฑามาศ แหนจอน
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: ความผาสุก
สมรรถนะทางอารมณ์
สาขาการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อตรวจสบอิทธิพลของการเพ่งความสนใจที่มีต่อสมรรถนะทางอารมณ์และความผาสุกของนิสิตปริญญาตรี และตรวจสอบอิทธิพลของเพศต่อโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างการเพ่งความสนใจ สมรรถนะทางอารมณ์ และความผาสุกของนิสิตระดับปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่าง ได่แก่ นิสิตปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 ถึง 4 ของมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตบางแสน ปีการศึกษา 2557 ภาคเรียนต้น จำนวน 385 คน (ชาย 194 คน หญิง 191 คน) ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างสมัครใจและยินยอมเข้าร่วมการวิจัยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 3 ฉบับ คือ 1) แบบวัดการเพ่งความสนใจ การตระหนักรู้และการตั้งใจ 2) แบบวัดสมรรถนะทางอารมณ์ และ 3) แบบวัดความผาสุกเชิงจิตวิทยา ผู้วิจัยดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยตนเอง ระหว่างวันที่ 8-30 เมษายน พ.ศ. 2558 วิเคราะห์สมการโครงสร้างเชิงเส้น ผลวิจัยพบว่า 1.การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของโมเดลการวัดสมรรถนะทางอารมณ์ มีวามสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square = 2.24, df =2, x2 /df =1.12, p =0.326, GFI =.997, AGFI =0.985, RMSEA =0.018, SRMR =0.011, NNFI =0.999, CFI =1.00) 2. การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของโมเดลการวัดความผาสุขมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square = 3.843, df =2, x2 /df =0.768, p =0.572, GFI =.997, AGFI =0.986, RMSEA =0.000, SRMR =0.011, NNFI =1.000, CFI =1.00) 3. การเพ่งความสนใจมีอิทธิพลทางตรงต่อสมรรถนะทางอารมณ์ของนิสิตระดับปริญญาตรีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05) 4. การเพ่งความสนใจมีอิทธิพลทางตรงต่อความผาสุขของนิสิตระดับปริญญาตรี (p< .05) 5. สมรรถนะทางอารมณ์มีอิทธฺพลทางตรงต่อความผาสุกของนิสิตระดับปริญญาตรีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p< .05) และความผาสุขของนิสิตระดับปริญญาตรีได้รับอิทธิพลทางอ้อมผ่านสมรรถนะทางอารมณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05) 6. การเพ่งความสนใจไม่มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับสมรรถนะทางอารมณ์ โดยมีค่า Standard coefficient เท่ากับ 01.119 และไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p> .05) แสดงว่า การเพ่งความสนเหมาะที่จะทำหน้าที่เป็นตัวแปรคั่นกลาง มากกว่าที่จะทำหน้าที่เป็นตัวแปรกำกับระหว่างสมรรถนะทางอารมณ์และความผาสุกของนิสิตระดับปริญญาตรี 7. เพศไม่มีอิทธิพลต่อโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างการเพ่งความสนใจสมรรถนะทางอารมณ์ และความผาสุกของนิสิตระดับปริญญาตรี
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1767
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2566_168.pdf4.47 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น