กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1764
ชื่อเรื่อง: | การสำรวจความต้องการของชุมชนภาคตะวันออกเพื่อเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Needs assessment survey in the eastern community to apply in bachelor of education program in educational technology, Faculty of Education, Burapha University |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ไพโรจน์ เบาใจ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ความต้องการเรียนต่อ สาขาการศึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
สำนักพิมพ์: | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | งานวิจัย เรื่อง การสำรวจความต้องการของชุมชนภาคตะวันออกเพื่อเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้คือ 1. ศึกษาความต้องการของผู้ปกครองและนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในชุมชนภาคตะวันออกเพื่อใช้กำหนดทิศทางและจัดทำแผนการบริการวิชาการ 2. เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะตามความต้องการของ ผู้ปกครองและนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้กับภาควิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และ 3. เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับปรับหลักสูตรให้ทันสมัยและสนองความต้องการของสังคมภาคตะวันออก ประชากรเป็นผู้ปกครองและนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนในภาคตะวันออก มีจำนวน 15 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ปกครองและนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เลือกมาจังหวัดละ 1 โรงเรียน รวม 7 จังหวัดได้ 7 โรงเรียน จากนั้นใช้การสุ่มแบบบังเอิญ โรงเรียนละ 34 คน (โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา ใช้ 36 คน) รวมเป็นผู้ปกครอง 240 คน นักเรียน 240 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสัมภาษณ์ใช้โรงเรียนละ 3 คน ได้ผู้ปกครอง 21 คน และนักเรียน 21 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลมีแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วย t-test dependent group ผลการวิจัย พบว่า 1. ผู้ปกครองและนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ต้องการเข้าศึกษาต่อที่ภาควิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาอยู่ในระดับมากอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2. ผู้ปกครองนักเรียนให้เหตุผลที่ส่งบุตรหลานเข้าเรียนที่ภาควิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาเพราะต้องการให้เป้นข้าราชการ คณะจารย์ผู้สอนมีคุณภาพ เรียนจบแล้วทำอาชีพได้หลากหลาย และยังเสนอแนะเพิ่มเติมว่าควรให้นักศึกษาได้ฝึกภาคสนามมากขึ้นเพื่อพบกับประสบการณ์จริง ส่วนความเห็นของนักเรียนพบว่า ภาควิชามีรายวิชาให้เลือกเรียนน่าสนใจมากมาย อาจารย์ผู้สอนมีความเชี่ยวชาญ ทราบจากรุ่นพี่ว่าเรียนสนุก ไม่เครียด และต้องการให้มีวิชาทางคอมพิวเตอร์ เช่น อีเลิร์น์นิ่ง เพิ่มขึ้น จากการวิจัยเรื่องนี้มีข้อเสนอแนะต่อภาควิชาคือ 1. ให้คงวิชาที่มีอยู่เดิมไว้และเพิ่มรายวิชาทางคอมพิวเตอร์ เช่น อีเลิร์นนิง เอ็มเลิร์นนิง และอื่น ๆ 2. สร้างความเชี่ยวชาญของคณาจารย์ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นเพื่อสร้างความศรัทธาให้กับสังคม 3. เพื่มการฝึกภาคสนามของรายวิชาบางวิชาที่สามารถทำได้เพิ่มเติม 4. เก็บความต้องการของผู้ปกครองและนักเรียนต่าง ๆ ไว้ในฐานข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการปรับหลักสูตรตามแผนของภาควิชาฯ ในอนาคต |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1764 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2567_173.pdf | 4.57 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น