กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1760
ชื่อเรื่อง: การประเมินคุณภาพการปรึกษาทางวิชาการและแนะแนวทักษะชีวิตแก่นิสิตปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The quality of evaluations of academic counseling and guidance for living skills of undergraduate students of faculty of Education, Burapha University
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จุฑามาศ แหนจอน
เกศรา น้อยมานพ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: การประเมินคุณภาพ
ทักษะชีวิต
สาขาการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความคิดเห็นของนิสิตระดับปริญญาตรีและอาจารย์ที่ปรึกษาทางวิชาการต่อคุณภาพการปรึกษาทางวิชาการและแนะแนวทักษะชีวิตของนิสิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นิสิตปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2557 ภาคเรียนปลาย จำนวน 364 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จำแนกตามสาขาวิชา และส่วนอาจารย์เลือกเฉพาะอาจารย์ที่ปรึกษาทางวิชาการนิสิตระดับปริญญาตรี ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 31 คน ซึ่งสมัครใจและยินยอมเข้าร่วมโครงการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถาม 3 ฉบับ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ได้แก่ (1) แบบประเมินคุณภาพการปรึกษาทางวิชาการและแนะแนวทักษะชีวิตแก่นิสิตปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ฉบับนิสิต จำนวน 66 ข้อ (2) แบบประเมินคุณภาพการปรึกษาทางวิชาการและแนะแนวทักษะชีวิตแก่นิสิตปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา: ฉบับอาจารย์ จำนวน 46 ข้อ และ (3) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 2 ข้อ การเก็บรวบรวมข้อมูลดำเนินการโดยผู้วิจัยระหว่างวันที่ 12 มกราคม 2558 ถึง 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 1 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า นิสิตปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มีค่าเฉลี่ยของแคะแนนความคิดเห็นด้านการปรึกษาและแนะแนวทางวิชาการ และด้านการปรึกษาและการแนะแนะทักษะชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นด้านบุคลิกภาพ ด้านความรู้ความสามารถและด้านจรรยาบรรณของอาจารย์ที่ปรึกษาทางวิชาการ รวมทั้งด้านเครื่องมือและข้อมูลในการปรึกษาทางวิชาการอยู่ในระดับดี นอกจากนี้ยังพบว่าอาจารย์ที่ปรึกษา คณะศึกษาศาสตร์มีค่าเฉลี่ยของคะแนนความคิดเห็นด้านการปรึกษาและแนะแนวทางวิชาการ ด้านการปรึกษาและแนะแนวทักษะชีวิต ด้านความรู้ความสามารถในการให้คำปรึกษาและด้านจรรยาบรรณของอาจารย์ที่ปรึกษาทางวิชาการ รวมทั้งด้านเครื่องมือและข้อมูลในการปรึกษาทางวิชาการอยู่ในระดับดี ผลการวิเคราะห์เนื้อหาพบว่า นิสิตปริญญาตรีมีความคิดเห็นว่าอาจารย์ที่ปรึกษาทางวิชาการ มีความรู้ ความสามารถ มีบุคลิกภาพที่ดี เป็นกันเอง อบอุ่น เข้าใจและยินดีให้การปรึกษาและแนะแนวทักษะชีวิต มีเครื่องมือและข้อมูลในการปรึกษาทางวิชาการเรื่องการเลือกวิชาเรียน การลงทะเบียน และการเลือกโรงเรียนฝึกสอน อย่างไรก็ตามนิสิตระดับปริญญาตรีต้องการให้อาจารยืที่ปรึกษาทางวิชาการเพิ่มเติมข้อมูลด้านตำราเรียน แนวทางการศึกษาต่อแหล่งทุนการศึกษา โอกาสในการเลือกเรียนวิชาเลือกเสรี และตัวอย่างของบุคคลที่ประสบความสำเร็จในชีวิต รวมทั้งเพิ่มจำนวนครั้งและช่องทางในพบอาจารย์ที่ปรึกษาทางวิชาการที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้คณะศึกษาศาสตร์ควรจัดให้มีการปรึกษาทางวิชาการและแนะแนวทักษะชีวิตในแต่ละชั้นปีซึ่งครอบคลุมเรื่องทักษะการปรับตัวในสังคมและทักษะการทำงาน รวมทั้งควรมีการจัดตั้งศูนย์การปรึกษาและแนะแนวทักษะชีวิตอย่างเป้นรูปธรรมและเป้นระบบ ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญทำหน้าที่ในการปรึกษาและแนะแนวทักษะชีวิต
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1760
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2567_161.pdf7.5 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น