กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/176
ชื่อเรื่อง: | กลยุทธ์ในการค้นพบสารต้านมะเร็งชนิดใหม่จากสาหร่ายทะเลและ/หรือ หญ้าทะเลในแถบชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของประเทศไทย. |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Strategies for the discovery of new anticancer compounds from seaweeds and/or seagrasses in the East coast of the gulf of Thailand |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | จันทรวรรณ แสงแข จงกลณี จงอร่ามเรือง ธิดารัตน์ น้อยรักษา มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | หญ้าทะเล - - การใช้ประโยชน์ สารต้านเนื้องอก สารสกัดจากพืช สาหร่ายทะเล - - การใช้ประโยชน์ สาหร่ายทะเล - - การใช้รักษา สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช |
วันที่เผยแพร่: | 2551 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายเป็นลำดับที่สอง ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากทะเลเป็นแหล่งสำคัยสำหรับการค้นหาโมเลกุลที่สามารถรักษาโรคมะเร็งได้ ตัวอย่างสาหร่ายทะเล 19 ชนิด (สีน้ำตาล 15 ชนิด , สีแดง 2 ชนิด และสีเขียว 1 ชนิด) และหญ้าทะเล 1 ชนิด ถูกเก็บมาจากชายฝั่งทะเลอ่าวไทยในจังหวัดชลบุรี และระยอง โดยการดำน้ำแบบ SCUBA ตัวอย่างสดนำมาสกัดด้วย ethyl acetate ทดสอบความเป็นพิษของสารสกัดหยาบกับเซลล์มะเร็ง 4 ชนิด คือ มะเร็งช่องปาก (KB) , มะเร็งปากมดลูก (HeLa) , มะเร็งเต้านม (MCF-7) และมะเร็งสมอง (ASK) ด้วยเทคนิค MTT สารสกัดหยาบจากสาหร่ายสีน้ำตาล 4 ชนิด (Sargassum oligocystum , Sargassum swartzii , Sargassum binderi and Turbinaria conoides) แสดงความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งแบบ dose-dependent (IC50<µg/ml) สารสกัดจาก Turbinaria conoides แสดงความเป็นพิษสูงที่สุดต่อมะเร็งช่องปาก , มะเร็งปากมดลูก , มะเร็งเต้านม และมะเร็งสมอง โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 18 , 19 , 22 and 25µg/ml ตามลำดับ สารสกัดหยาบจากสาหร่ายสีแดง (Chondrophycus cartilaginous) แสดงความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งปากมดลูกและ มะเร็งเต้านม โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 32 and 34 µg/ml สารสกัดหยาบจากสาหร่ายสีเขียว (Halimeda macroloba and Caulerpa racemosa) แสดงความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งทั้ง 4 ชนิดแบบ Dose-dependent โดยเซลล์ที่ตายมีลักษณะกลม ไม่ติดแน่น แยกจากกันได้ง่าย เมื่อเทียบกับเซลล์ปกติที่มีลักษณะเป็นรูปกระสวย เกาะติดผิวภาชนะแน่น ในการศึกษาครั้งต่อไปควรสกัดเพื่อหาสารบริสุทธิ์ |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/176 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น