กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1750
ชื่อเรื่อง: | ดนตรีจีนในพุทธสมาคมสว่างเหตุธรรมสถาน บ้านทุ่งเหียง อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The Chinese music in Swang Het Tamma-satan buddhist association Ban Tungheang, Panasnikom district, Chonburi province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ธนะรัชต์ อนุกูล จันทนา คชประเสริฐ กิตติภัณฑ์ ชิตเทพ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ดนตรีจีน สาขาปรัชญา เครื่องดนตรีจีน |
วันที่เผยแพร่: | 2549 |
สำนักพิมพ์: | คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | งานวิจัยเรื่องดนตรีจีนในพุทธสว่างเหตุธรรมสถาน บ้านทุ่งเหียง อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี เป็นการศึกษาลักษณะทางกายภาพของเครื่องดนตรีจีน บทเพลงของดนตรีจีน บทบาทและหน้าที่ของดนตรีจีน ในพุทธสมาคมสว่างเหตุธรรมสถาน บ้านทุ่งเหียง อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ผลการวิจัยพบว่า จาการศึกษาลักษณะทางกายภาพของเครื่องดนตรีจีน ระบบเสียงของเอี๊ยวคิ้ม ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีหลักที่นักดนตรีจีนใช้ในการเทียบเสียงเครื่องดนตรีทุกชนิด แสดงให้เห็นว่าเป็นเครื่องดนตรีประเภทดำเนินทำนองที่มีความสำคัญที่สุดในวงดนตรีจีนนั้น ปรากฏพบว่าระบบเสียงของเครื่องดนตรีเอี๊ยวคิ้มมีโน๊ตทั้งหมด ๔Octave เสียงที่ต่ำที่สุดของเครื่องเอี๊ยวคิ้มอยู่ที่ระดับโน้ต F2 และเรียงตามลำดับดังนี้ G2 A2 Bb2 C3 D3 Eb3 E3 F3 G3 A3 Bb3 C4 Db4 D4 E4 F4 G4 Ab4 A4 Bb4 C5 D5 E5 F5 G5 A5 Bb5 D6 E6 และระดับโน๊ตที่สูงที่สุดคือ F6 การศึกษารูปแบบของบทเพลงที่ใช้ในการบรรเลง พบการเคลื่อนที่ของแนวทำนองในบทเพลง โดยแบ่งการศึกษาออกเป็นทั้งหมด ๑๓ ท่อนเพลง พบว่า ทั้ง ๑๓ ท่อนเพลง มีทิศทางเคลื่อนทำนองในทิศทาง ๓ ลักษณะ คือ ทิศทางขึ้น ทิศทางลง และทิศทางคงที่ จากการศึกษาพบทิศทางขึ้นเป็นทิศทางที่พบมากที่สุด ต่อมาคือทิศทางลง และพบน้อยที่สุดคือทิศทางคงที่ ในการดำเนินทำนองของเพลงพบว่ามีขั้นคู่ ๑ ขั้นคู่ ๒ ขั้นคู่๓ ขั้นคู่๔ ขั้นคู่ ๕ ขั้นคู่ ๖ ขั้นคู่ ๗ และขั้นคู่ ๘ โดยขั้นคู่ที่พบมากที่สุดคือขั้นคู่ ๓ รองลงมาคือขั้นคู่ ๒ ขั้นคู่ ๔ ขั้นคู่ ๑ ขั้นคู่ ๕ ขั้นคู่ ๖ ขั้นคู่ ๗ แบะขั้นคู่ ๘ ตามลำดับ บทบาทและหน้าที่ของดนตรีจีน แบ่งออกเป็น ๔ ประการได้แก่ ประการแรก บทบาทของดนตรีจีนที่มีต่อสังคมและชุมชน ที่ใช้เพื่อส่งเสริมศาสนากิจทางพระพุทธศาสนา นิกายมหายาน ให้ชาวบ้านมีความรู้สึกมีส่วนร่วมในพิธีกรรมหรือการแสดงธรรม ประการที่สองบทบาทของดนตรีจีนที่มีต่อพิธีกรรม พิธีกรรมที่มีดนตรีเข้าไปเกี่ยวข้อง ได้แก่ งานกงเต็ก พิธีเคารพ งานล้างป่าช้า งานเช็งเม้ง งานประเพณีกินเจ พิธีเคารพเจ้า งานศาลเจ้า งานตรุษ งานสารท ตลอดจนงานแต่งงานพิธีมงคลต่างๆ ประการที่สาม บทบาทของดนตรีจีนที่มีต่อการแสดงในปัจจุบันดนตรีจีนที่ใช้ประกอบการแสดงนั้นมีน้อยมาก เนื่องจากอาชีพในการแสดงอุปรากร (งิ้ว) นั้นไม่มีผู้ประกอบอาชีพนี้เหลืออยู่เลย ดังนั้นในปัจจุบันสถานการณ์ที่วงดนตรีจีนจะมีบทบาท ในการประกอบการแสดงแทบไม่มีเลย จะคงเหลือก็แต่ ประกอบการแสดงเอ็งกอ และประการสุดท้าย บทบาทของดนตรีจีนที่มีต่อนักดนตรี นักดนตรีส่วนใหญ่ รับงานบรรเลงดนตรีจีนเพื่อประกอบเป็นอาชีพเสริม |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1750 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น