กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/17471
ชื่อเรื่อง: | ภาวะอาการหลังโควิด-19 ในผู้ป่วยที่หายจากโรคโควิด-19 ในประเทศไทย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Post-COVID-19 Syndrome in patients with Post-COVID-19 infection in Thailand |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ณัฐศุภา สิงหสุต กุลธิดา กล้ารอด คุณาวุฒิ วรรณจักร จันทร์ทิพย์ นามสว่าง นงนุช ล่วงพ้น พรพรหม สุระกุล พรพิมล เหมือนใจ พิมลพรรณ ทวีการ วรรณจักร ศิริรัตน์ เกียรติกูลานุสรณ์ อรชร บุญลา |
คำสำคัญ: | โควิด-19 (โรค) อาการ (โรค) โควิด-19 (โรค) -- ผู้ป่วย |
วันที่เผยแพร่: | 2567 |
สำนักพิมพ์: | คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | ภายหลังจากการติดเชื้อโควิด-19 ผู้ป่วยส่วนมากจะพบกลุ่มอาการหลังติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกาย เช่น ระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาท และระบบทางเดินอาหาร นำไปสู่การลดลงของคุณภาพชีวิต ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 อาจพบระดับความผิดปกติที่ต่างกันของสมรรถภาพทางกาย สมรรถภาพปอดและมีภาวะอาการที่คงอยู่ภายหลังจากการติดเชื้อโควิด-19 อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการศึกษาใดในประเทศไทยที่สำรวจผลกระทบระยะยาวของภาวะอาการหลังโควิด-19 ที่มีต่อสมรรถภาพทางกาย สภาวะจิตใจ และคุณภาพชีวิต ในผู้ป่วยที่หายจากโรคโควิด-19 วัตถุประสงค์: เพื่อ 1) สำรวจอาการหลังโควิด-19 ที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยที่หายจากโรคโควิด-19 ทางด้านร่างกาย ด้านจิตใจ คุณภาพชีวิต และภาวะอาการหลังโควิด-19 เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และ/หรือตัวแปรทำนายระหว่างปัจจัยทางด้านร่างกาย ด้านจิตใจ คุณภาพชีวิต และภาวะอาการหลังโควิด-19 (การวิจัยระยะที่ 1) และ 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะอาการหลังโควิด-19 และสมรรถภาพร่างกายระหว่างกลุ่มผู้ป่วยที่มีและไม่มีรอยโรคหรือพยาธิสภาพในปอด (การวิจัยระยะที่ 2) วิธีดำเนินงานวิจัย: การวิจัยในระยะที่ 1 อาสาสมัครจะเป็นผู้ที่มีอายุมากกว่า 18 ปี จำนวน 460 คน ซึ่งหายจากการติดเชื้อโควิด-19 โดย ผู้เข้าร่วมวิจัยจะทำการตอบแบบสอบถามออนไลน์เกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลอาการและการรักษาในระหว่างการติดเชื้อโควิด-19 ข้อมูลภาวะอาการภายหลังติดเชื้อโควิด-19 รวมถึงแบบประเมินด้านร่างกาย ด้านจิตใจ และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย เพื่อนำมาสร้างสมการตัวแปรในการทำนายระหว่างปัจจัยทางด้านร่างกาย ด้านจิตใจ คุณภาพชีวิต และภาวะอาการหลังโควิด-19 สำหรับการวิจัยในระยะที่ 2 อาสาสมัครจะเป็นผู้ที่มีอายุมากกว่า 18 ปี จำนวน 80 คน แบ่งเป็นผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว (ไม่มีรอยโรคหรือพยาธิสภาพในปอด) จำนวน 40 คนและกลุ่มสีเหลือง/แดง (มีรอยโรคหรือพยาธิสภาพในปอด หรือกลุ่มเสี่ยง 608) จำนวน 40 คน ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มจะได้รับการตอบแบบประเมินเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลอาการและการรักษาในระหว่างการติดเชื้อโควิด-19 ข้อมูลภาวะอาการภายหลังติดเชื้อโควิด-19 การทดสอบสมรรถภาพทางกายและสมรรถภาพปอด โดยทำการเก็บข้อมูลและติดตามผล จำนวนทั้งหมด 3 ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่ 1 ระยะ 0 เดือน ครั้งที่ 2 ระยะ 3 เดือน และครั้งที่ 3 ระยะ 6 เดือน เพื่อเปรียบเทียบภาวะอาการหลังโควิดที่เกิดขึ้นภายหลังหายจากการติดเชื้อโควิด-19 และสมรรถภาพร่างกาย ระหว่างกลุ่มผู้ป่วยและช่วงระยะเวลาที่แตกต่างกัน ผลการศึกษา: ผลการวิจัยระยะที่ 1 พบว่า ภาวะอาการภายหลังติดเชื้อโควิด-19 ที่พบได้ในกลุ่มผู้ป่วยทุกระดับความรุนแรง คือ อาการล้าง่าย สำหรับผู้ป่วยกลุ่มสีแดงจะพบอาการปวดเมื่อยเนื้อตัวร่วมด้วย ในขณะที่ผู้ป่วยบางส่วนไม่มีอาการใดๆ จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนภาวะอาการหลังโควิด-19 และปัจจัยทางด้านร่างกาย ด้านจิตใจ คุณภาพชีวิต พบว่า จำนวนการรักษาการติดเชื้อโควิด-19 ตามมาด้วยภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย จำนวนอาการระหว่างติดเชื้อโควิด-19 ระดับความหอบเหนื่อยขณะทำกิจกรรม ระดับความรุนแรงของโรคโควิดในระดับสีเหลือง และระดับกิจกรรมยามว่าง เป็นตัวแปรที่สามารถทำนายจำนวนภาวะอาการหลังโควิด-19 ในผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อโควิด-19 ได้อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) สำหรับผลการวิจัยระยะที่ 2 พบว่า ระยะทางที่ผู้ป่วยสามารถเดินได้ใน 6 นาทีในช่วงระยะ 3 เดือน และ 6 เดือน กลุ่มสีเหลือง/แดงมีระยะทางที่เดินได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มสีเขียว (p<0.05) เมื่อติดตามผลการศึกษาที่ระยะ 6 เดือน พบว่า จำนวนภาวะอาการหลังโควิด-19 จำนวนครั้งที่ผู้ป่วยสามารถลุกนั่งได้ใน 1 นาที เวลาที่ผู้ป่วยใช้ในการลุก-นั่ง 5 ครั้ง มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับระยะ 0 และ 3 เดือน (p<0.05) และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มสีเขียวและสีเหลือง/แดง พบว่า ตัวแปรด้านสมรรถภาพทางกายทั้งหมดมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นตัวแปรระดับกิจกรรมทางกายที่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) สรุปผลการศึกษา: ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะอาการหลังโควิด-19 ส่วนใหญ่เป็นปัจจัยทางด้านร่างกายเป็นหลัก และเกี่ยวข้องกับระดับความรุนแรงของโรคโควิด-19 โดยผลกระทบของระดับความรุนแรงของโรคโควิด-19 ส่งผลต่อภาวะอาการหลังติดเชื้อโควิดหลังจากติดเชื้อโควิด-19 และสมรรถภาพทางกายในกลุ่มผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อโควิด-19 โดยกลุ่มสีเหลือง/แดงมีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบทางสุขภาพภายหลังการติดเชื้อโควิด-19 มากกว่ากลุ่มสีเขียว |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/17471 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2569-033.pdf | 4.67 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น