กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1746
ชื่อเรื่อง: | หาดวอนนภา: ชีวิต วัฒนธรรม ชุมชนชายทะเล |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Won Napa beach: Cultural life of beach community |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ไพบูลย์ โสภณสุวภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ชุมชนชายทะเล วัฒนธรรม หาดวอนนภา สาขาปรัชญา |
วันที่เผยแพร่: | 2549 |
สำนักพิมพ์: | คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | บทความวิจัยนี้เขียนขึ้นเพื่อนำเสนอผลการวิจัยเรื่องหาดวอนนภา : ชีวิต วัฒนธรรม ชุมชนชายทะเล โดยใช้กระบวนการศิลปะการละครเพื่อการเรียนรู้มาเป็นเครื่องมือสำหรับการวิจัย ได้กำหนดวัตถุประสงค์การวิจัยไว้ ๒ ข้อ คือเพื่อวิเคราะห์ถึงคการดำรงอยู่และการปรับเปลี่ยนของชุมชนหาดวอนนภา และเพื่อการศึกษา “ชีวิตวัฒนธรรม”ของชุมชนหาดวอนนภา เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลักประกอบไปด้วยแกนนำชุมชนหาดวอนนภาและบุคคลทั่วไป วิเคราะห์ข้อมูลแบบการตีความข้อมูล(Content Analysis) และป้อนข้อมูลคืนสู่ชุมชนด้วยการแสดงละคร เรื่อง เรื่องเล่าจากยายวอน...นภา ผลการวิจัยพบว่าการดำรงอยู่และการปรับเปลี่ยนพื้นที่ของชุมชนหาดวอนนภา มาจากทิศทางการพัฒน่ชุมชนที่กำเนิดโดยคนนอกชุมชน แผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก (Eastern Seaboard Development Plan) และนโยบายด้านการท่องเที่ยวแบบวัฒนธรรมบริโภค ส่งผลให้ความรู้ ความคิด ความเชื่อและค่านิยมของคนในชุมชนเปลี่ยนไป ซึ่งไม่สอดคล้องกับสภาพภูมิศาสตร์ ภูมิเวศและภูมิสังคม ความเชื่อท่เคยเชื่อว่า “หน้าบ้านเราคือแหล่งอาหารที่หล่อเลี้ยงชีวิต” เลือนหายไปเพราะหน้าบ้านเริ่มเปลี่ยนไปทรัพยากรทางทะเลเริ่มลดลง ทั้งมีนโยบายต่างๆ ทำให้เกิดการปรับพื้นที่เป็นสถานตากอากาศบริเวณหาดบางแสนส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนพื้นที่ชายทะเลปรับเปลี่ยนชีวิตชุมชนและอาชีพทางทะเล แต่ยังปรากฏรูปแบบ “ชีวิตวัฒนธรรม” ที่มีลักษณะของชุมชนชายทะเลยังดำรงวิถีประมง ประกอบอาชีพเกี่ยวข้องกับทะเล ออกเรือหาปลา มีประเพณี ความเชื่อเรื่องศาลเจ้าและเรือ มีภูมิปัญยาท้องถิ่นอาหารทะเลพื้นบ้าน และชุมชนมีตลาดนัดที่สำคัญเป็นแหล่งวัตถุดิบทางทะเลและผักพื้นบ้าน ข้อเสนอแนะและแนวทางสำหรับการนำวิจัยไปใช้ประโยชน์ ชุมชนหาดวอนนภามีศักยภาพในการพัฒนาเป็นชุมชนชายทะเลและผลักดันให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงระบบนิเวศเพราะมีต้นทุนเกี่ยวพื้นที่และรูปแบบชีวิตวัฒนธรรมที่น่าสนใจ ทั้งนี้ควรสร้างการมีส่วนร่วมเป็นชุมชนที่สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาของเทศบาลเมืองแสนสุขที่ระบุไว้ “มุ่งสร้างชุมชนในเทศบาลให้เป็นเมืองน่าอยู่ ควบคู่กับการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน มีแหล่งท่องเที่ยงที่สะอาดสวยงามเป็นที่รู้จักระดับสากล พัฒนาเศรษฐกิจสังคม ให้เจริญรุ่งเรืองเพื่อให้ประชาชนอยู่ดีกินดีตลอดไป” |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1746 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น