กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/17443
ชื่อเรื่อง: | โครงการ นวัตกรรมทางสังคมจากรากหญ้ากับการมีส่วนร่วมในการปกครองท้องถิ่นของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก: กรณีศึกษาเทศบาลตำบลบ้านซ่อง อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Grassroots social innovation and participation in local government in the eastern economic corridor : a case study of Ban Song Subdistrict Municipality, Amphoe Phanom Sarakham, Chachoengsao Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เมทินา อิสริยานนท์ |
คำสำคัญ: | องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น นวัตกรรมทางเทคโนโลยี การพัฒนาสังคม การปกครองท้องถิ่น -- การมีส่วนร่วมของประชาชน |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ หนึ่ง เพื่อศึกษาการก่อรูปของนวัตกรรมทางสังคมจากรากหญ้ากับการมีส่วนร่วมในการปกครองท้องถิ่นของเทศบาลตำบลบ้านช่อง อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา สอง เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองท้องถิ่นของเทศบาลตำบลบ้านช่อง อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ที่มีต่อนวัตกรรมทางสังคมจากรากหญ้า และสาม เพื่อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนานวัตกรรม ทางสังคมจากรากหญ้ากับการมีส่วนร่วมในการปกครองท้องถิ่นเทศบาลบ้านช่อง อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยเ)นการวิจัยเชิงคุณภาพแนวประวัติศาสตร์ จากเอกสารและการสัมภาษณ์กลุ่มผู้บริหารและบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชนทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ และนักวิชาการ ผลการศึกษา พบว่า การก่อรูปของนวัตกรรมทางสังคมจากรากหญ้ากับการมีส่วนร่วมในการปกครองท้องถิ่นของเทศบาลตำบลบ้านช่อง อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นความสัมพันธ์ของผู้กระทำการที่ก่อรูปของนวัตกรรมทางสังคมจากรากหญ้า 3 ฝ่าย คือ ผู้นำท้องถิ่นและผู้นำชุมชน หน่วยงานเทศบาล ตำบสลบ้านช่อง และประชาชนในพื้นที่ตำบลบ้านช่อง ส่วนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองท้องถิ่นของเทศบาลตำบลบ้านช่อง อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ประกอบด้วย หนึ่ง กลไกการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเสนอแนะและเข้าร่วมในการวางแผนกำหนดแผนพัฒนาหรือการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของชุมชนและกลไกการประชาสัมพันธ์เสริมสร้างกรมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ สอง กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนผ่านการร่วมกันตรวจสอบการทำงาน และกระบวนสร้างมีส่วนร่วมผ่านการสร้างการเรียนรู้ของชุมชน และสาม ผลที่เกิดขึ้นจากการมีส่วนร่วมของประชาชน ได้แก่ การเสริมสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างชุมชนและเทศบาล การบันทึกข้อมูลของชุมชน การเพิ่มความโปร่งใสและการลดการทุจริตของเทศบาล การสร้างการเรียนรู้ การรักษาความมั่นคง และความยั่งยืนของชุมชน และการได้รับรางวัลจากหน่วยงานต่าง ๆ นอกจากนี้ข้อเสนอเสนอแนะ""แนวทางในการพัฒนานวัตกรรมทางสังคมจากรากหญ้ากับการมีส่วนร่วมในการปกครองท้องถิ่นของเทศบาลตำบลบ้านช่อง อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา มี 8 ประการ คือ 1 การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกระดับ 2 การเสริมสร้างความรู้และการอบรมเพื่อเพิ่มความสามารถให้แก่ชุมชน 3 การสร้างแรงจูงใจการเข้าร่วมของประชนในชุมชน 4 การสนับสนุนโครงการทางนวัตกรรมทางสังคม 5 การเสริมสร้างศักยภาพของผู้นำชุมชน 6 การใช้เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนานวัตกรรมทางสังคม 7 การสร้างพื้นที่เสริมสร้างทางสังคม 8 การสร้างพันธมิตรหรือเครือข่ายทางภาคเอกชนหรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง |
รายละเอียด: | โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรับบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มหาวิทยาลัยบูรพา |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/17443 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2568-147.pdf | 1.48 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น