กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1744
ชื่อเรื่อง: | บ้านเรือน: มรดกทางวัฒนธรรมเมืองชลบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Built vernacular in Chonburi: Resume on cultural heritage |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | มนัส แก้วบูชา มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การท่องเที่ยว มรดกทางวัฒนธรรม สาขาปรัชญา |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเรื่อง บ้านเรือน: มรดกทางวัฒนธรรมเมืองชลบุรี ดำเนินการวิจัยในระหว่างปีพุทธศักราช 2555-2556 มีวัตถุประสงค์คือ 1) สำรวจ ศึกษา บันทึกข้อมูลประวัติศาสตร์บอกเล่า สภาพภูมิสังคม วัฒนธรรม วิถีชีวิตของชุมชนชาติพันธุ์ในชลบุรี 2) ศึกษารวบรวมข้อมูลคุณลักษณะทางวัฒนธรรมและลริบทของบ้านเรือนเก่าอายุ 70 ปี ไม่เปลี่ยนโครงสรา้งและผังพื้นเรือนที่ยังมีคนอาศัยอยู่ 3) สังเคราะห์และพัฒนาข้อมูลไปสู่การเรียนรู้และการท่องเที่ยวมรดกทางวัมนธรรมชลบุรี ผลการวิจัยพบว่า การเลือกทำเลที่ตั้งชุมชน บ้านเรือนแตกต่างกันทางด้านความถนัดทางอาชีพ ภูมิสังคม วัมนธรรม ส่วนรูปลักษณ์ของบ้านเรือน การวางผังบ้าน การวางผังพื้นเรือน และเชิงช่างเป็นไปตามขนบของบรรพบุรุษและชาติพันธุ์ ที่สอดรับกับความเชื่อ ชุมชน สิ่งแวดล้อม รวมทั้งประวัติพัมนาการ ได้แก่ 1) บ้านเรือนชาวจีน บางปลาสร้อย ทรงปั้นหยา 2) บ้านเรือนชาวนาป่ามีบริเวณพื้นที่และอุปกรณ์ทำนา 3) บ้านเรือนชาวไทย คหบดีชาวบ้านทวนค่าย รูปทรงโครงสร้างมีเอกลักษณ์ชลบุรี 4) บ้านเรือนชาวประมงอ่างศิลา ใช้พื้นที่เต็ม 5) บ้านเรือนตากอากาศ บางแสน ทรงบังกะโล สัดส่วนรูปทรงมีเอกลักษณ์ชลบุรี 4) บ้านเรือนชาวประมงอ่างศิลา ใช้พื้นที่เต็ม 5) บ้านเรือนตากอากาศ บางแสน ทรงบังกะโล สัดส่วนรูปทรงมีเอกลักษณ์บางแสน 6) บ้านเรือนชาวลาวหัวถนน มีเรือน มียุ้งแบบของแท้ดั้งเดิม 7) บ้านเรือนชาวมอญ บ้านเก่า รูปทรงเปลี่ยนไป การพัฒนาข้อมูลเพื่อเรียนรู้และการท่องเที่ยวมีผลลัพธ์เอกสารคู่มือ 3 เล่ม คือ 1) เรียนรู้และท่องเที่ยว 1 บ้านเรือน : ทางวัฒนธรรมเมืองชลบุรี 2) เรียนรู้และท่องเที่ยว 2 อ่างศิลา ชุมชนรัฐสนับสนุน 3) เรียนรู้และท่องเที่ยว 3 ชุมชนลาวหัวถนน ย่านคงสภาพของแท้ดั้งเดิม รัฐยังไม่ได้สนับสนุน ผลสรุปและข้อเสนอแนะ ด้านเอกสารสาธารณะทั้งสามเล่มนี้ เป็นการเรียนรู้และจัดการวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ใกล้ตัว จะช่วยสร้างเสริมความภาคภูมิใจแก่ตนเองและชุมชน ซึ่งสามารถพัฒนาข้อมูลไปปรับใช้เป็นแหล่งการเรียนรู้แหล่งท่องเที่ยวมรดกทางวัฒนธรรมที่กว้างขวางขึ้น ส่วนบ้านเรือนที่จะรื้อยายนั้น ควรมีโครงการอนุรักษ์ เคลื่อนย้ายอย่างเร่งรีบมาสงวนรักษาและเรียนรู้คู่ชลบุรีที่มหาวิทยาลัยบูรพาต่อไป |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1744 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น