กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/17375
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | อรอุษา พิมพ์สวัสดิ์ | - |
dc.date.accessioned | 2024-12-13T02:56:08Z | - |
dc.date.available | 2024-12-13T02:56:08Z | - |
dc.date.issued | 2567 | - |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/17375 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประเด็นปัญหาในการการเจรจาและสื่อสารข้ามวัฒนธรรมของผู้ปฏิบัติงานในเขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก 2) ออกแบบหลักสูตรและกิจกรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพกำลังคนด้านการเจรจาและสื่อสารข้ามวัฒนธรรมที่เหมาะสมกับบริบทของผู้ปฏิบัติงานในเขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก โดยรวบรวมแบบสอบถามที่สมบูรณ์จากผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 75 คนวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม ในการคำนวณค่าสถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และไคสแควร์ จากนั้นทดลองใช้หลักสูตรและเปรียบเทียบผลการทดสอบหลังการอบรมกับเกณฑ์ที่กำหนดเพื่อทดสอบว่าคะแนนเฉลี่ยหลังการอบรมสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ตอบแบบสอบถาม สุ่มโดยวิธีแบบตามสะดวก จำนวน 5 คน ผลการวิจัย พบว่า ผู้ปฏิบัติงานส่วนใหญ่มีประสบการณ์การสื่อสารไทย-อังกฤษ ลักษณะงานที่ทำประจำวันมีโอกาสได้ติดต่อประสานงานกับต่างชาติ โดยมีความสัมพันธ์เป็นเพื่อนร่วมงาน หัวหน้า ลูกค้าหรือ ผู้บังคับบัญชา มีการจัดการการเจรจาและสื่อสารข้ามวัฒนธรรมในรูปแบบการรองรับ คือ ไม่แสดงออก สงวนท่าที และให้ความร่วมมือ เพื่อรักษาสายสัมพันธ์กับคู่สนทนา ให้ความสำคัญกับการสื่อสารในบริบทต่ำ เช่น การสื่อสารอย่างเปิดเผย แม่นยำ และชัดเจนกับคู่สนทนาต่างชาติ และคาดหวังการตอบสนองที่ตรงไปตรงมา และสามารถใช้จังหวะการหยุดและการเงียบอย่างเหมาะสมตามสถานการณ์ข้ามวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไป การให้ความสำคัญกับการแสดงออกทางวัจนภาษาและอวัจนภาษาสะท้อนความสามารถทางวัฒนธรรมในด้านพฤติกรรมนิยม ภาษากลางส่วนใหญ่ใช้ภาษาอังกฤษ อย่างไรก็ตามผู้ปฏิบัติงานมีปัญหาในการติดต่อประสานงานกับชาวต่างชาติส่วนใหญ่เนื่องจากขาดทักษะการใช้ภาษาอังกฤษอย่างคล่องแคล่ว และพื้นเพภูมิภาคที่แตกต่างกันเป็นอุปสรรคในเรื่องการสื่อสาร จากการทดสอบความสัมพันธ์เกี่ยวกับการเจรจาสื่อสารข้ามวัฒนธรรม พบว่า กลุ่มผู้บริหารและกลุ่มไม่ใช่ผู้บริหาร มีการติดต่อเจรจาสื่อสารกับชาวญี่ปุ่นมากที่สุด รองลงมา จีน อังกฤษ และมีเจตคติในประเด็นข้ามวัฒนธรรมแบบวัฒนธรรมสัมพัทธนิยม ได้แก่ การยอมรับ และ การปรับตัว คือ เคารพความแตกต่างทางพฤติกรรมและเคารพความแตกต่างของคุณค่า มีความพร้อมที่จะเรียนรู้ เตรียมการวางแผน จัดเป็นความฉลาดทางวัฒนธรรมด้านอภิปัญญานิยม มีความประสงค์ฝึกอบรมเรียนรู้การสื่อสารและเจรจาข้ามวัฒนธรรมเกี่ยวกับประเภทและลักษณะการเจรจาต่อรอง รองลงมา กลยุทธ์และกระบวนการในการเจรจา ปัญหาและอุปสรรคในการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม ตามลำดับ ในด้านผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้จรณะทักษะโดยการเปรียบเทียบผลการอบรมกับเกณฑ์ที่กำหนด โดยการคำนวณค่าทางสถิติพบว่าค่าเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการเจรจาและสื่อสารข้ามวัฒนธรรมในกลุ่มผู้ปฏิบัติงานนี้ คือ ความสามารถในการใช้ทักษะภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้อย่างคล่องแคล่ว เป็นผู้ฟังและผู้พูดที่ดี มีการใช้ผลัดการสนทนาอย่างเหมาะสม ความใกล้เคียงทางวัฒนธรรม และความรู้ในวัฒนธรรม ตลอดจนความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม เพื่อลดและหลีกเลี่ยงอุปสรรคความยากลำบากในการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม | th_TH |
dc.description.sponsorship | โครงการวิจัยผ่านกองทุนสaงเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปีบประมาณ พ.ศ. 2564 งบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ประเภท Basic Research Fund | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก | th_TH |
dc.subject | การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม | th_TH |
dc.subject | เขตเศรษฐกิจพิเศษ -- นโยบายของรัฐ | th_TH |
dc.title | การพัฒนาศักยภาพด้านการเจรจาและสื่อสารข้ามวัฒนธรรมของกำลังคนในเขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก | th_TH |
dc.title.alternative | The Development of Cross-Cultural Negotiation and Communication for Improving Competitive Positioning of the Manpower in the Eastern Economic Corridor (EEC) | th_TH |
dc.type | Research | th_TH |
dc.year | 2567 | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this research were: 1) to study the issues in cross-cultural negotiation and communication among the personnel who work for an organization in the Eastern Economic Corridor (EEC); 2) to design a training curriculum and activities that are suited to the context of personnel in the EEC in order to help them attain their full potential in cross-cultural negotiation and communication. The data were quantitatively analyzed using percentage, mean, standard deviation, and chi-square after collecting complete questionnaire responses from 75 respondents. The training curriculum was first implemented in a pilot experiment followed by a post-training test, and the results were compared with the evaluation criteria to test whether or not the mean score of the post-test was higher than the specified threshold. The sample consisted of five respondents selected through a convenience sampling method. It was found that the majority of the personnel had experience of Thai-English crosscommunication. The nature of the everyday work responsibilities provided an opportunity to communicate with foreigners who served as co-workers, leaders, customers, or superiors to the personnel. The characteristic style of dealing with cross-cultural negotiations was the accommodating style, i.e. unassertiveness and cooperativeness, to maintain rapport with them. Low-context communication was their preferred cross-cultural communication approach, i.e. communicating openly, precisely, and clearly with foreign interlocutors, and anticipating a straightforward response. Besides, the personnel could manage pauses and silence appropriately under different cross-cultural situations, thereby possessing the behavioral cultural intelligence. The working lingua franca was mostly English. However, owing to a lack of English competence and several regional background hurdles, the personnel had difficulty communicating with most foreigners. The Chi-square test was conducted to test the relationship between variables pertaining to cross-cultural communication negotiation aspects; it was found that the Japanese were the most cross-culturally engaged with by groups of executives and non-executives, followed by the Chinese and the British. The personnel had perception of their intercultural competence as Acceptance and Adaptation; they appreciated each other’s variations in behaviour as well as their values. They were eager to study and prepare for cross-cultural tasks, thereby revealing the metacognitive elements of cultural intelligence. In relation tothe training course content, it was found that they intended to learn the issues of types and nature of negotiation, followed by planning negotiating strategies and processes, problems and obstacles in verbal and non-verbal negotiation and communication in cross-cultural contexts respectively. By comparing the test results with the specified criteria determined by statistical calculations, it was found that the average after the training course was higher than the 60 per cent threshold, a statistical significance at the 0.05 level. The ability to communicate clearly using the English language, being a good listener and speaker and managing turns appropriately were all elements contributing to the effectiveness of cross-cultural negotiation and communication among the personnel. Another contributing aspect to the success of cross-cultural negotiations and communication was cultural proximity, cultural knowledge, and comprehension of cultural differences in order to lessen and avoid cross-cultural communication challenges. | th_TH |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2568_133.pdf | 5.52 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น