กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/17371
ชื่อเรื่อง: | แนวทางการพัฒนาการปฎิบัติงานและดำเนินงานบัณฑิตศึกษา คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Guidelines For Development on Implementation and Operation of Graduate Studies, Faculty of Political Science and Law, Burapha University |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปนัดดา แฉ่งสงวน ปณิตา แฉ่งสงวน |
คำสำคัญ: | การพัฒนา การปฎิบัติงาน การดำเนินงาน |
วันที่เผยแพร่: | 2567 |
สำนักพิมพ์: | คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์ (Cross sectional analytic study) มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นต่อการปฏิบัติงานและดำเนินงานบัณฑิตศึกษา ในด้านกระบวนการ และขั้นตอนการให้บริการ ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก และด้านผลของการให้บริการ เพื่อพัฒนาแนวทางการปฏิบัติงานและดำเนินงานบัณฑิตศึกษา คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เก็บข้อมูลในกลุ่มตัวอย่างนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 87 คน ระหว่างเดือนเมษายน – กรกฎาคม 2567 ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 64.4 เพศชาย ร้อยละ 35.6 มีอายุระหว่าง 20 – 30 ปี ร้อยละ 81.6 ศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาไม่ได้ประกอบอาชีพอื่นๆ ร้อยละ 58.6 มีประสบการณ์ทำงาน 1 – 5 ปี ร้อยละ 58.6 กำลังศึกษารัฐศาสตร์มหาบัณฑิต ร้อยละ 54 ส่วนใหญ่อยู่ชั้นปีที่ 2 ร้อยละ 55.2 ความถี่ในการใช้บริการงานบัณฑิตศึกษา ส่วนใหญ่จำนวน 1 ครั้ง ร้อยละ 36.8 ความคาดหวังต่อคุณภาพบริการของงานบัณฑิตศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( ค่าเฉลี่ย = 4.17, SD. = 0.569) เรียงลำดับค่าเฉลี่ย คือ ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ ( ค่าเฉลี่ย = 4.26, SD. = 0.604) ด้านผลของการให้บริการ ( ค่าเฉลี่ย = 4.22, SD. = 0.621) ด้านกระบวนการและขั้นตอนการให้บริการ ( ค่าเฉลี่ย = 4.17, SD. = 0.507) และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ( ค่าเฉลี่ย =4.06, SD.= 0.696) ตามลำดับ ความคิดเห็นต่อคุณภาพบริการของงานบัณฑิตศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( ค่าเฉลี่ย = 4.28, SD. = 0.155) เรียงลำดับค่าเฉลี่ยคือ ด้านผลของการให้บริการ ( ค่าเฉลี่ย = 4.69, SD. = 0.222) ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ ( ค่าเฉลี่ย = 4.38, SD.= 0.224) ด้านกระบวนการและขั้นตอนการให้บริการ ( ค่าเฉลี่ย = 4.33, SD.= 0.191) และด้านสิ่งอำนวยความสะดวกอยู่ในระดับมาก ( ค่าเฉลี่ย = 4.19, SD. = 0.401) นอกจากนี้พบว่า ปัจจัยที่แตกต่างกันส่งผลให้มีความคาดหวังต่อคุณภาพบริการของงานบัณฑิตศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ได้แก่ นิสิตที่มีอายุ 41 – 50 ปี มีประสบการณ์ทำงาน 11 - 15 ปี และกำลังศึกษารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความคาดหวังและความคิดเห็นต่อคุณภาพบริการของงานบัณฑิตศึกษารายด้าน พบว่าความคาดหวังภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความคาดหวังด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (r = 0.961) ความคิดเห็นด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (r = 0.598) ความคิดเห็นด้านผลของการให้บริการ (r = 0.475) ความคิดเห็นภาพรวม (r = 0.775) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จากการศึกษานี้ ทำให้เห็นว่างานบัณฑิตศึกษา คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาควรสนับสนุนด้านสิ่งอำนวยความสะดวก จัดให้มีอุปกรณ์เทคโนโลยีที่ทันสมัยและเพียงพอต่อการให้บริการอยู่ตลอดเวลา เช่น คอมพิวเตอร์ หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เพื่อความสะดวกในการค้นหาข้อมูล และจัดสถานที่ให้มีความสะอาดต่อการเข้ารับบริการ |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/17371 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2568_128.pdf | 2.33 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น