กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/17366
ชื่อเรื่อง: ผลของการฝึกแบบหนักสลับเบาความหนักสูงที่มีต่อสมรรถภาพเชิงแอนแอโรบิก ความเร็วความคล่องแคล่วว่องไว และความสามารถสูงสุดในการนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายในนักกีฬาฟุตบอล
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of High Intensity Interval Training on Anaerobic Performance, Speed, Agility and Maximum Oxygen Consumption in Soccer Players
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิรัตน์ สนธิ์จันทร์
สราลี สนธิ์จันทร์
คำสำคัญ: นักกีฬาฟุตบอล
วันที่เผยแพร่: 2567
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาผลของการฝึกแบบหนักสลับเบาความเข้มข้นสูงที่มีต่อสมรรถภาพเชิงแอนแอโรบิก ความเร็ว ความคล่องแคล่วว่องไว และ ความสามารถสูงสุดในการนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายในนักกีฬาฟุตบอล และ เพื่อเปรียบเทียบผลของการฝึกแบบหนักสลับเบาความเข้มข้นสูง 3 รูปแบบที่มีต่อ สมรรถภาพเชิงแอนแอโรบิก ความเร็วความคล่องแคล่วว่องไว และ ความสามารถสูงสุดในการนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายในนักกีฬาฟุตบอล วิธีการวิจัย: นักกีฬาฟุตบอลระดับมหาวิทยาลัยจำนวน 31 คน (อายุเฉลี่ย: 20.35 ? 0.98 ปี, ส่วนสูงเฉลี่ย: 175.06 ? 6.49 ซม., น้ำหนักเฉลี่ย: 67.77 ? 10.09 กก.) แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ฝึกแบบหนักสลับเบาความเข้มข้นสูงด้วยการวิ่งสปรินท์ 20 เมตร 20 เซต เวลาพักระหว่างเซต 15 วินาที กลุ่มที่ 2 ฝึกแบบหนักสลับเบาความเข้มข้นสูงด้วยการวิ่งสปรินท์ 40 เมตร 10 เซต เวลาพักระหว่างเซต 30 วินาที และ กลุ่มที่ 3 ฝึกแบบหนักสลับเบาความเข้มข้นสูงด้วยการวิ่งสปรินท์ 60 เมตร 5 เซต เวลาพักระหว่างเซต 60 วินาทีทำการฝึกสัปดาห์ละ 2 วัน เป็นเวลา 6 สัปดาห์ ตัวแปรที่ศึกษา สมรรถภาพเชิงแอนแอโรบิก ประกอบด้วย พลังแอนแอโรบิก ความสามารถในการยืนระยะเชิงแอนแอโรบิก และ กำลังของกล้ามเนื้อต้นขา ความคล่องแคล่วว่องไว และ ความสามารถสุงสุดในการนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย ก่อนและหลังการฝึก ผลการวิจัย: ในกลุ่มที่ 1 พลังแอนแอโรบิก ความสามารถในการยืนระยะเชิงแอนแอโรบิก กำลังของกล้ามเนื้อต้นขาข้างไม่ถนัด และ ความเร็วในระยะ 30 เมตร ภายหลังการฝึกแตกต่างจากก่อนการฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) กลุ่มที่ 2 พลังแอนแอโรบิก ความสามารถในการยืนระยะเชิงแอนแอโรบิก ความเร็วในระยะ 10, 20 และ 30 เมตร และ ความสามารถสูงสุดในการนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย ภายหลังการฝึกแตกต่างจากก่อนการฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และ กลุ่มที่ 3 กำลังของกล้ามเนื้อต้นขาข้างไม่ถนัด ความเร็วในระยะ 20 และ 30 เมตร และ ความสามารถสูงสุดในการนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย ภายหลังการฝึกแตกต่างจากก่อนการฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และไม่พบความแตกต่างเมื่อทำการวิเคราะห์ความแปรปรวนระหว่างทั้ง 3 กลุ่ม สรุป: จากข้อมูลที่ปรากฏทำให้สรุปได้ว่า การฝึกแบบหนักสลับเบาความเข้มข้นสูงทั้ง 3 รูปแบบ สามารถพัฒนาสมรรถภาพเชิงแอนแอโรบิก ความเร็ว และ ความสามารถสูงสุดในการนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายสำหรับนักกีฬาฟุตบอลได้
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/17366
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2568_123.pdf3.69 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น