กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/17349
ชื่อเรื่อง: | ความเชื่อและพิธีกรรมของชาวประมงชายฝั่งทะเลตะวันออก |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ทัศนีย์ ทานตวณิช |
คำสำคัญ: | ความเชื่อ โชคลาง พิธีทางศาสนาและพิธีกรรม ไสยศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2535 |
สำนักพิมพ์: | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้านี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมและจำแนกประเภทของความเชื่อและพิธีกรรมในการประกอบอาชีพของชาวประมงชายฝั่งทะเลตะวันออกทั้งในอดีตและปัจจุบัน และศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความเชื่อและพิธีกรรมตลอดจนอิทธิพลของความเชื่อและพิธีกรรมที่มีผลต่อการประกอบอาชีพประมง การรวบรวมและจำแนกประเภทความเชื่อและพิธีกรรมของชาวประมงในอดีต กระทำโดยวิธีสัมภาษณ์และบันทึกเสียงวิทยากร 20 คน ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก 7 ตำบล ตั้งแต่ตำบลอ่างศิลา อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ถึงตำบลเกาะเสม็ด อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี เพื่อให้ทราบความเชื่อและพิธีกรรมที่ชาวประมงเชื่อถือและปฏิบัติตั้งแต่ก่อน พ.ศ. 2520 ขึ้นไป ปรากฏว่าสามารถรวบรวมความเชื่อถือได้ 84 ข้อ จำแนกเป็น 6 หมวด คือ หมวดความเชื่อเกี่ยวกับเรือและอุปกรณ์ในเรือ หมวดสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เครื่องราง ของขลัง หมวดปรากฎการณ์ธรรมชาติ หมวดยากลางบ้าน หมวดข้อห้าม และหมวดข้อควรปฎิบัติ สำหรับพิธีกรรมรวบรวมได้ 7 พิธี จำแนกเป็น 2 ประเภทคือ พิธีกรรมส่วนบุคคลและพิธีกรรมของสังคม เมื่อนำผลดังกล่าวมาสร้างเป็นแบบสอบถามแล้วนำไปสัมภาษณ์วิทยากร 124 คน ที่อาศัยอยู่ใน 5 ตำบล ตั้งแต่ตำบลอ่างศิลา อำเภอเมืองชลบุรี ถึงตำบลแหลมงอบ อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด เพื่อให้ทราบความเชื่อและพิธีกรรมของชาวประมงในปัจจุบัน พบว่า ความเชื่อที่ชาวประมงยังเชื่ออย่างเหนียวแน่นคือ เรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของแม่ย่านาง และเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับแม่ย่านาง ความเชื่อที่ชาวประมงเชื่อถือน้อยลงมามักเกี่ยวกับเครื่องรางของขลัง และภูตผี สำหรับพิธีกรรมนั้น ชาวประมงส่วนมากยึดถือตามพิธีกรรมในอดีต การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์และการสังเกตทำให้ทราบว่าปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความเชื่อและพิธีกรรม มี 2 ลักษณะ คือ ปัจจัยที่ช่วยธำรงรักษา และปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงความเชื่อและพิธีกรรม ปัจจัยที่ช่วยธำรงรักษาความเชื่อและพิธีกรรม ได้แก่ การยึดมั่นตามคำบอกเล่าของคนรุ่นก่อน ความสามารถสนองความต้องการจำเป็น (Need) ของคน ผลของการปฎิบัติตามความเชื่อและพิธีกรรม ความสอดคล้องของความเชื่อและพิธีกรรมกับสภาพความเป็นจริง และความเป็นเหตุเป็นผลที่แฝงไว้ในความเชื่อและพิธีกรรม ส่วนปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงความเชื่อและพิธีกรรม ได้แก่ เรือและอุปกรณ์การเดินเรือที่มีขนาดใหญ่และทันสมัยขึ้น เทคโนโนโลยีที่ใช้ในการประกอบอาชีพและเครื่องมือจับสัตว์น้ำมีมากขึ้น ความมุ่งหมายในการประกอบอาชีพเปลี่ยนไป เวลา- ระยะทางในการเดืนเรือ และจำนวนประชากร - จำนวนเรือเพิ่มชึ้น บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเรือประมงขาดความผูกพันต่องานอย่างแท้จริง ชาวประมงคิดด้วยกระบวนการคิดแบบวิทยาศาสตร์มากขึ้น และค่านิยมของสังคมเปลี่ยนจากจิตนิยมเป็นวัตถุนิยม สำหรับผลการวิเคระห์อิทธิพลของความเชืื่อและพิธีกรรมที่มีต่อการประกอบอาชีพประมง พบว่า ความเชื่อและพิธีกรรมมีอิทธิพลต่อความคิดและจิจใจของชาวประมงให้ยอมรับอำนาจลึกลับตามแนวลัทธิวิญญาณนิยม ยอมรับคติธรรมทางพุทธศาสนา และคติทางไสยศาสตร์ของพราหมณ์ นอกจากนั้นยังมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของชาวประมงให้ปฏิบัติตนไม่ขัดแย้งกับความเชื่อและพิธีกรรม และมีอิทธิพลต่อการสร้างวัตถุต่าง ๆ เช่น ศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่ต่าง ๆ ผ้าผูกหัวเรือ ยันต์ เป็นต้น |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/17349 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2568_086.pdf | 5.07 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น