กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/17253
ชื่อเรื่อง: | ความพร่องในการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Self-care Deficit in Coronary Heart Disease Patients |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ศิริวัลห์ วัฒนสินธุ์ |
คำสำคัญ: | สุขภาพและอนามัย -- การดูแลและสุขวิทยา |
วันที่เผยแพร่: | 2543 |
สำนักพิมพ์: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นสาเหตุของการตายที่สำคัญของพลเมืองไทย โดยเฉพาะจังหวัดชลบุรี ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเพิ่มจำนวนมากขึ้น ปัญหาสำคัญประการหนึ่งของผู้ป่วยคือ การปฏิบัติตนไม่ถูกต้องจึงเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยอาการที่รุนแรงมากขึ้น และอาจถึงแก่กรรมโดยกระทันหัน แต่ปัญหาเหล่านั้นสามารถป้องกันได้ถ้าผู้ป่วยมีความสามารถในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีความสนใจศึกษาความพร่องในการดูแลตนเองในผู้ป่วยหลอดเลือดหัวใจ และศึกษาความสัมพันธ์และอำนาจการทำนายของเพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา รายได้ของครอบครัว ระยะเวลาการเจ็บป่วย ระดับสมรรถภาพของหัวใจ การรับรู้ภาวะสุขภาพ และบุคลิกภาพกับความพร่องในการดูแลตนเองในผู้ป่วยหลอดเลือดหัวใจ กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจที่มาติดตามการรักษาที่คลินิกโรคหัวใจ แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลชลบุรี จำนวน 170 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนตัว แบบวัดบุคลิกภาพ และแบบวัดความพร่องในการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดย การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียรสัน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างมีความพร่องในการดูแลตนเองโดยรวมในระดับน้อย โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 17.38 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 7.0 โดยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความพร่องในการดูแลตนเองในเรื่องการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันมาก ๆ ร้อยละ 87 รองลงมาคือการพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้ป่วยโรคเดียวกัน คิดเป็นร้อยละ 74.1 นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ป่วยยังคงมีความพร่องในการดูแลตนเองในเรื่องของปัจจัยเสี่ยงและการป้องกันภาวะแทรกซ้อน คือ การอยู่ในบริเวณที่มีควันบุหรี่หรือผู้สูบบุหรี่ ร้อยละ 64.1 ไม่จับชีพจรและสังเกตอาการผิดปกติขณะออกกำลังกาย ร้อยละ 64.1 2. ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงกับความพร่องในการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ได้แก่ การรับรู้ภาวะสุขภาพ (PH) และเพศหญิง (S) สามารถทำนายความพร่องในการดูแลตนเอง (B) ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยสามารถทำนายได้ร้อยละ 8.6 (R2 = 0.9, R = 0.29) สมการ B = 22.20 -0.83 (PH) -2.19 (S) |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/17253 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2568_021.pdf | 1.93 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น