กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/17242
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | บุญเดิม พันรอบ | - |
dc.date.accessioned | 2024-05-27T04:07:39Z | - |
dc.date.available | 2024-05-27T04:07:39Z | - |
dc.date.issued | 2545 | - |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/17242 | - |
dc.description.abstract | การศึกษาพวนในภาคตะวันออกศึกษาชุมชนไทยเชื้อสายพวนในภาคตะวันออกที่นครนายก ปราจีนบุรี และ ฉะเชิงเทรา ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นข้อมูลชั้นหนึ่งและศึกษาจากเอกสารข้อมูลชั้นสองเมื่อปี พ.ศ.2545 ผลการศึกษาพบว่า 1. การตั้งถิ่นฐาน การอพยพของคนไทยเชื้อสายพวนจากภูพาน แขวงเมืองเชียงขวาง ประเทศลาวเมื่อปี พ.ศ.2321 สมัยพระเจ้าตากสินมหาราช จนถึงสมัยรัชกาลที่สี่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 2. การตั้งถิ่นฐานชุมชนพวนในภาคตะวันออก ประกอบด้วยชุมชนไทยเชื้อสายพวนที่อำเภอปากพลีและบริเวณใกล้เคียง จังหวัดนครนายก ชาวไทยเชื้อสายพวนที่อำเภอโคกปีหรือศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรีและชุมชนคนไทยเชื้อสายพวนที่พนมสารคามและบริเวณใกล้เคียงที่ฉะเชิงเทรา 3. วัฒนธรรมข้าว ชาวไทยเชื้อสายพวนที่ปราจีนบุรีปลูกข้าวพันธุ์ รวม 14 พันธุ์ ที่ฉะเชิงเทรา และใกล้เคียงจำนวน104 สายพันธุ์ มีกระบวนการปลูกข้าว เทคโนโลยี และพิธีกรรมเกี่ยวกับการทำนาที่มีอัตลักษณ์ 4.วัฒนธรรมเครื่องจักสาน ชาวไทยเชื้อสายพวนมีอัตลักษณ์การทำเครื่องจักสานด้วยไม้ใผ่ แสดงออกทางด้านเทคโนโลยี การออกแบบผลิตภัณฑ์สำหรับใช้ในชีวิตประจำวันและการทำนาอย่างน่าสนใจ 5. วัฒนธรรมผ้าชาวไทยเชื้อสายพวนมีลักษณ์เด่นเป็นอัตลักษณ์ประจำกลุ่มทั้งด้านการออกแบบและลวดลาย 6. วัฒนธรรมอาหารและสมุนไพรชาวไทยเชื้อสายพวนมีวัฒนธรรมเกี่ยวกับอาหารและสมุนไพรประกอบด้วยอาหารมื้อหลักที่เป็นอัตลักษณ์และสมุนไพรประจำกลุ่ม 7. ประเพณีท้องถิ่นมีประเพณีเพื่อการทำกิจกรรมร่วมกันมากมายเป็นอัตลักษณ์เช่น ประเพณีในรอบปีและประเพณีทั่วไป 8.ประเพณีส่วนบุคคลเกี่ยวกับประเพณีการเกิด ประเพณีการแต่งงาน ประเพณีการบวชและประเพณีการตาย 9.ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ภูมิปัญญาเกี่ยวกับภาษาและวรรณกรรม ภูมิปัญญาการสร้างบ้านเรือน ภูมิปัญญาด้านอาหาร ภูมิปัญญาด้านผ้า เป็นต้น | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | พวน -- ความเป็นอยู่และประเพณี -- วิจัย | th_TH |
dc.subject | พวน -- ประวัติ -- วิจัย | th_TH |
dc.title | พวนในภาคตะวันออก | th_TH |
dc.type | Research | th_TH |
dc.year | 2545 | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The aims of this research to study Thai-Phaun in Eastern Area : The settlement of Thai-Phaun by 2002 in Nakhon Nayok , Prachin Buri and Chachoengsao with the primary data from deep interview and the secondary data about Thai-Phaun community . The results are: 1. The settlement of Thai-Phaun from Xiangkhauang People’ Democratic Republic of Laos by 1778 in King Taksin the Great of Thon Buri to King Rama 4 of Rattanakosin. 2. The settlement of Thai-Phaun in eastern area are in Nakhon Nayok , Prachin Buri and Chachoengsao 3.Thai-Phaun’ Rice culture in Prachin Buri has 14 rice seeds, Chachoengsao has 104 rice seeds. They have the culture of processes of rice plant, technology and the identification of rite. 4. Basketry culture with bamboo identification, creative design, technology and way of life. 5. They have identification of weaving culture about the creative design. 6. They have the identification about food and herb culture. 7.They have identification about local tradition 8. They have personal tradition about birth, marriage, ordain and death. 9.They have identification local wisdom about literature . building house. | th_TH |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2568_024.pdf | 16.51 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น