กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/17228
ชื่อเรื่อง: ผลของสารสกัดจากเมล็ดกระทงลาย (Celastrus paniculatus Willd.) ต่อการมีชีวิตของเซลล์ประสาทฮิปโปแคมปัสและซีรีบรัล คอร์เท็กซ์ในหนูแรทเพศผู้
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effect of Celastrus paniculatus Willd. seed extract on the neuronal viability of Hippocampus and cerebral cortex in male rats
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปุณณ์ณิษา กุลวงษ์
ศิริประภา บุญมี
ปัณฑิตา แตงพันธ์
ศิริพร จำเนียรสวัสดิ์
คำสำคัญ: กระทงลาย (พืช)
สารสกัดจากพืช
เซลล์ประสาท
เปลือกสมอง
วันที่เผยแพร่: 2566
บทคัดย่อ: มีการรายงานว่าสารสกัดจากเมล็ดกระทงลายมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) และยับยั้งการตาย (apoptosis) ของเซลล์เพาะเลี้ยงได้ แต่ยังไม่มีการรายงานถึงผลต่อเซลล์ประสาทในสมองหนูแรท วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของสารสกัดจากเมล็ดกระทงลายต่อการเปลี่ยนแปลงทางเนื้อเยื่อสมอง รวมถึงฤทธิ์ในการยับยั้งการตายของเซลล์ประสาทผ่านกลไก apoptosis ในหนูแรทเพศผู้สายพันธุ์ Sprague Dawley วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาไปข้างหน้าแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมในหนูแรทอายุ 4 สัปดาห์ เพศผู้ จำนวน 12 ตัว หนูแรทกลุ่มทดลอง 6 ตัว ได้รับการฉีดสารสกัดจากเมล็ดกระทงลาย ขนาด 80 มก./กก. น้ำหนักตัว เข้าทางช่องท้องติดต่อกันทุกวันเป็นเวลา 2 สัปดาห์ และกลุ่มควบคุม 6 ตัว ได้รับการฉีดด้วย Dimethylsulfoxide (DMSO) ร้อยละ 0.5 ปริมาตร 0.2 มล. ทุกวันเป็นเวลา 2 สัปดาห์เช่นกัน พักหนูแรท 5 วันก่อนนำไปศึกษาเซลล์ประสาทฮิปโปแคมปัสด้วยวิธีย้อมสี hematoxylin และ eosin ศึกษาการแสดงออกของ anti-apoptotic protein ชนิด BCL-2 ในซีรีบรัลคอร์เท็กซ์และฮิปโปแคมปัส ด้วยวิธี immunohistochemistry และศึกษาสัดส่วนการแสดงออกของ anti-apoptotic protein (BCL-2) และ pro-apoptotic protein (BAX) ซึ่งเป็นตัวกำหนดสำคัญในการมีชีวิตรอดของเซลล์ประสาท ด้วยวิธี Western blot จากสมองทั้งลูก (whole brain) นอกจากนี้ ยังทำการบันทึกปริมาณอาหารและน้ำที่กิน และน้ำหนักหนู ตลอดการทดลอง ผลการศึกษา หนูแรทที่ได้รับสารสกัดจากเมล็ดกระทงลายเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงน้ำหนักปริมาณน้ำและอาหารที่กินในแต่ละวัน แสดงว่า การได้รับสารสกัดจากเมล็ดกระทงลายไม่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย หนูแรทกลุ่มทดลองมีลักษณะการจัดเรียงตัวของเซลล์ประสาทภายในฮิปโปแคมปัสไม่แตกแต่งจากกลุ่มควบคุม เป็นไปได้ว่าสารสกัดจากเมล็ดกระทงลายไม่พบความเป็นพิษต่อเซลล์ประสาท และเมื่อศึกษากลไกการยับยั้งการตายของเซลล์ประสาทผ่านการแสดงออกของ BCL-2 ซึ่งเป็น anti-apoptotic protein และ BAX ซึ่งเป็น pro-apoptotic protein พบว่ากลุ่มทดลองมีการแสดงออกของ BCL-2 เพิ่มขึ้นทั้งในซีรีบรัลคอร์เท็กซ์และฮิปโปแคมปัส และเมื่อศึกษาสัดส่วนการแสดงออกของ BCL-2 ต่อ BAX พบว่าเพิ่มขึ้นในกลุ่มทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม ดังนั้นสารสกัดจากเมล็ดกระทงลายควบคุมสัดส่วนการแสดงออก ของ BCL-2 ต่อ BAX จึงอาจจะมีบทบาทสำคัญต่อการปกป้องเซลล์ประสาท สรุป การศึกษานี้บ่งชี้ว่าสารสกัดจากเมล็ดกระทงลายไม่พบความเป็นพิษต่อเซลล์ประสาทและยังส่งเสริมการมีชีวิตของเซลล์ด้วยการยังยั้งการเกิด apoptosis
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/17228
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
med10n2p26-39.pdf2 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น