กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1721
ชื่อเรื่อง: ประชาคมปลาในแนวปะการังกับความสภาพความแปรผันของสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชทางทะเล หมู่เกาะแสมสาร จังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Coral reef fishes assemblages and climate variation in the Marine Plant Genetic Conservation Area, Mo Ko Samaesarn, Chonburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิภูษิต มัณฑะจิตร
สุชา มั่นคงสมบูรณ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
คำสำคัญ: การเพาะเลี้ยง
ปลาแนวปะการัง
ลมมรสุม
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ปี พ.ศ.๒๕๕๗ โดยการเก็บข้อมูลของชนิดและความชุกชุมของปลาที่พบในสถานีศึกษา รวม ๔ สถานี โดยเก็บข้อมูลรวม ๙ ครั้งในหนึ่งปี พบปลารวมทั้งสิ้น ๗๕ ชนิด จาก ๓๐ วงศ์ มีปลา ๗ ชนิดที่พบ ชุกชุมเป็นชนิดเด่น ได้แก่ Neopomacentrus cyanomos (๒๘.๔%), Neopomacentrus filamentosus (๒๓.๔%), Parioglossus formosus (๑๖.๕%), Pomacentrus cuneatus (๗.๖%), Pempheris oualensis (๓.๐%), Ptereleotris monoptera (๒.๕%), Halichoeres nigrescens (๒.๔%), Halichores chloropterus (๒.๐%), Sphyraena Juvenile (๑.๗%), Stolephorus indicus (๑.๔%), Abudefduf sexfasciatus (๑.๔%) และ Neopomacentrus azysron (๑.๐%) ความหลากหลายชนิด ของปลาที่ถูกพบในแต่ละสถานี พบอยู่ระหว่าง ๖ ถึง ๓๓ ชนิด โดยความมากชนิดของแต่ละสถานีมีการเปลี่ยนแปลงตามเวลาที่แตกต่างกัน สอดคล้องกับผลการวิเคราะห์องค์ประกอบของชนิดและการวิเคราะห์ การจัดกลุ่ม อย่างไรก็ตามความหลากชนิดของปลาของทุกสถานีมีแนวโน้มสูงขึ้นระหว่างเดือนสิงหาคม ถึงเดือนธันวาคม ซึ่งตรงกับช่วงฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทั้งนี้สภาพภูมิอากาศของปี พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นปีที่มีการเตือนระดับการเฝ้าระวัง โดยบริเวณเกาะแรดพบมีปะการังฟอกขาวไม่รุนแรง
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1721
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2559_112.pdf5.75 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น