กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/171
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorสุนันทา โอศิริ
dc.contributor.authorสุภาภรณ์ ปิติพรth
dc.contributor.authorสมบูรณ์ วณิชโยบลth
dc.contributor.authorผกากรอง ขวัญข้าวth
dc.contributor.authorณัฐดนัย มุสิกวงศ์th
dc.contributor.authorพินิต ชินสร้อยth
dc.contributor.authorลักขณา สมประสงค์th
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร
dc.date.accessioned2019-03-25T08:45:54Z
dc.date.available2019-03-25T08:45:54Z
dc.date.issued2554
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/171
dc.description.abstractการศึกษาประสิทธิภาพผลของยาลูกกลิ้งพริกในการลดอาการปวดกล้ามเนื้อและข้อเรื้อรัง โดยการวิจัยทางคลินิก แบบ Randomized single blind controlled trial ในผู้ที่มีอาการปวดข้อหรือปวดกล้ามเนื้อมานานมากกว่า 6 เดือน ที่เป็นผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร โรงพยาบาลกุดชุม และโรงพยาบาลวังน้ำเย็น ผู้ป่วยจะถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยวิธีการจับสลากให้ใช้ยาลูกกลิ้งพริก (0.025% capsaicin cream) เปรียบเทียบกับยาหลอก ทาบริเวณกล้ามเนื้อหรือข้อวันละ 4 ครั้งนาน 4 สัปดาห์ ทำการประเมินผล 5 ครั้ง โดยประเมินก่อนเริ่มศึกษา สิ้นสุดสัปดาห์ที่ 1,2,3 และ 4 ตามลำดับ โดยเปรียบเทียบระดับความรู้สึกปวด โดยรวมใช้ Visual analog scale(VAS) 0-10 ระดับความรู้สึกโดยรวม (Patient’s global assessment) 5 ระดับ ประเมินความพึงพอใจต่อการใช้ยา 5 ระดับ และผลข้างเคียงจากการใช้ยา ผลการศึกษาในผู้ป่วย 132 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่ใช้ยาลูกกลิ้งพริก 69 คน กลุ่มที่ใช้ยาหลอก 63 คน สัดส่วนเพศชายต่อเพศหญิง อายุเฉลี่ย และดัชนีมวลกาย ทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน (p = 0.227, 0.523, 0.739 ตามลำดับ) ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการ Muscle pain 37 คน (68.52%) และ 43 คน (86%) ตามลำดับ ก่อนเข้ารับราชการและหลังจากใช้ยาไปแล้ว 4 สัปดาห์พบว่า ความถี่ในการปวด อาการปวดขณะนอน จำนวนครั้งของการปวด การออกกำลังกายเพื่อลดปวด ทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน (p = 0.512, 0.113, 0.223, 0.681) ก่อนเข้ารับการรักษาค่าเฉลี่ยความรุนแรงของอาการปวดทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน (5.54±2.19 และ 5.67±2.01) (p=0.63) แต่หลังเข้ารับการรักษาแล้ว ความรุนแรงของอาการปวดมีแนวโน้มลดลงในทั้งกลุ่มยาลูกกลิ้งพริกและยาหลอกโดยไม่แตกต่างกันภายใน 2 สัปดาห์แรก แต่เมื่อสัปดาห์ที่ 3 และ 4 พบว่ากลุ่มผู้ใช้ยาลูกกลิ้งมีค่าเฉลี่ยความรุนแรงของอาการปวดต่ำกว่ากลุ่มผู้ใช้ยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (3.36±1.74 และ4.25±1.62)(2.94±1.16 และ 3.83±1.74) (p = 0.019, 0.024) ผลวิเคราะห์ความพึงพอใจพบว่าผู้ใช้ยาลูกกลิ้งพริกมีความพึงพอใจมากกว่ากลุ่มยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.039) พบอาการข้างเคียงที่มีอาการแสบร้อนในกลุ่มผู้ใช้ยาลูกกลิ้งพริก 15 ราย (15.6 %) มีอาการคันและผื่นแดงอย่างละ 1 ราย และพบอาการแสบร้อน 1 รายในกลุ่มหลอก อาจสรุปได้ว่ายาลูกกลิ้งพริกสามารถลดระดับความรุนแรงของอาการปวดได้ดีกว่ายาหลอก โดยต้องใช้ระยะเวลาการรักษาประมาณ 3-4 สัปดาห์ แต่ก็พบผลข้างเคียงมากกว่า จึงควรมีการปรับปรุงสูตรสำหรับยานี้เพื่อลดอาการปวดแสบร้อนth_TH
dc.description.sponsorshipงานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนจาก งบประมาณเงินรายได้ คณะการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร มหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. 2554en
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectพริก - - การใช้รักษาth_TH
dc.subjectพริกขี้หนูth_TH
dc.subjectสมุนไพร - - การใช้รักษา - - วิจัยth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัชth_TH
dc.titleประสิทธิผลของผลิตภัณฑ์ลูกกลิ้งพริกในการลดอาการปวดกล้ามเนื้อและข้อเรื้อรังth_TH
dc.title.alternativePain relief of chili roll-on in chronic musculoskeletal painen
dc.typeResearchth_TH
dc.year2554
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น