กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1716
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาอุปกรณ์ตรวจวัดแบบกระดาษเพื่อวิเคราะห์ปริมาณยาฆ่าแมลงในตัวอย่างอาหารทะเลแห้งโดยใช้อนุภาคนาโนซีเรียเป็นโพรบวัดสี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of paper-based microfluidic device for pesticide analysis in dried seafood using nanoceria as colorimetric probes
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ยุภาพร สมีน้อย
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: อาหารทะเลแห้ง -- การเจือปนและการตรวจสอบ
ยาฆ่าแมลง
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
วันที่เผยแพร่: 2558
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้ได้รายงานเป็นครั้ง แรกในการพัฒนาอุปกรณ์แบบกระดาษที่ เคลือบด้วยอนุภาคนาโนซีเรียที่ใช้เป็นบริเวณตรวจวัดในการวิเคราะห์ยาฆ่าแมลง ออแกโนฟอสฟอรัสโดยอาศัยปฏิกิริยาการยับยั้ง B เอนไซม์เพื่อให้ได้การวิเคราะห์ ที่ง่าย ราคาถูก และรวดเร็วในการวิเคราะห์ออแกโนฟอสฟอรัสในตัวอย่าง การตรวจวัดประกอบด้วยอนุภาคนาโนซีเรีย อะเซติลโคลีนเอสเตอเรส และโคลีน ออกซิเดส ในสภาวะที่มีอะซิติลโคลีน อะเซติลโคลีนเอสเตอเรสและโคลีน ออกซิเดสเร่งปฏิกิริยาการเกิดไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ซึ่งถูกตรวจวัดด้วยอนุภาค นาโนซีเรียที่เคลือบอยู่บนอุปกรณ์ ตรวจวัดแบบกระดาษและปรากฏสีเหลือง เกิดขึ้น เมื่อเติมยาฆ่าแมลงออแกโนฟอสฟอรัสการเร่งปฏิกิริยาของอะเซติลโคลีนเอสเตอเรสจะถูกยับยัง) และผลิตไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ได้น้อยลงทำให้ สีเหลืองที่เกิดขึ้นมีความเข้มน้อยลงด้วย ความเข้มสีสามารถวิเคราะห์ได้ด้วยโปรแกรมอิมเมจเจ วิธีที่พัฒนาขั้นสามารถวิเคราะห์ออแกโนฟอสฟอรัสได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ในการวิเคราะห์ที่ยุ่งยาก และให้ขีดจำกัดการตรวจวัดที่ดีโดยสามารถวิเคราะห์ออแกโนฟอสฟอรัสมาตรฐานได้ความเข้มข้นต่ำถึง 18.3 ng/mL และ 5.2 ng/mL สำหรับการวิเคราะห์เมธิลพาราออกซอน และคลอร์ไพริฟอสออกซอน ตามลำดับ นอกจากนี้วิธีที่พัฒนาขึ้นสามารถประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์เมธิลพาราออกซอนในตัวอย่างผักและอาหารทะเลแห้งที่ถูกสไปค์ พบว่าให้การวิเคราะห์มีร้อยละการได้กลับคืนประมาณ 95 ในการวิเคราะห์ตัวอย่างทั้ง 4 สองชนิด ตัวอย่างที่ ถูกสไปค์ยังถูกตรวจวัดด้วยเทคนิค LC-MS/MS เพื่อเป็นการเปรียบเทียบการวิเคราะห์กับวิธีที่พัฒนาขึ้น พบว่าค่าที่ได้จากการวิเคราะห์ด้วยสองวิธีมีค่าใกล้เคียงกัน แสดงให้เห็นว่าวิธีที่พัฒนาขึ้นให้การวิเคราะห์ที่มีความแม่นยำที่ดีและเหมาะสมที่ จะนำไปวิเคราะห์ออแกโนฟอสฟอรัสในตัวอย่างได้ดังนั้นวิธีที่พัฒนาขึ้นมีแนวโน้มที่สามารถใช้เป็นวิธีทางเลือกใหม่ในการวิเคราะห์ออแกโนฟอสฟอรัส ที่ให้การวิเคราะห์ที่ราคาถูก รวดเร็ว สามารถพกพาไปตรวจวัดภาคสนามได้
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1716
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2559_129.pdf7.65 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น