กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1698
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorดวงทิพย์ อู่เงินth
dc.contributor.authorวรเทพ มุธุวรรณth
dc.contributor.authorเสาวภา สวัสดิ์พีระth
dc.contributor.authorศิรประภา ฟ้ากระจ่างth
dc.contributor.authorภาวินี ภัทรปราการth
dc.contributor.authorปรารถนา ควรดีth
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
dc.date.accessioned2019-03-25T09:08:35Z
dc.date.available2019-03-25T09:08:35Z
dc.date.issued2558
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1698
dc.description.abstractโครงการวิจัยนี้ประกอบด้วยการทดลองจำนวน 3 การทดลองเพื่อทดสอบปัจจัยที่มีผลต่ออัตรารอดและการเจริญเติบโตของลูกปลาแมนดารินวัยอ่อน โดยการทดลองที่ 1 มีวัตถุประสงค์ที่จะหาความหนาแน่นของลูกปลาที่เหมาะสมสำหรับการอนุบาล การทดลองที่ 2 มีวัตถุประสงค์ที่จะหาความหนาแน่นที่เหมาะสมของโรติเฟอร์ในการใช้เป็นอาหาร และการทดลองที่ 3 มีวัตถุประสงค์ที่จะหาระยะเวลาที่เหมาะสมในการเปลี่ยนชนิดอาหาร โดยนำผลที่ได้จากการทดลองก่อนหน้าไปใช้ในการทดลองต่อไป ทุกการทดลองจะทำในตู้กระจกความจุน้ำ 5 ลิตร จำนวน 12 ตู้ แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม (ชุดทดลอง) กลุ่มละ 3 ตู้ (ซ้ำ)โดยทำการอนุบาลลูกปลาวัยอ่อนที่ระดับความหนาแน่น 5 10 15 และ 20 ตัวต่อลิตร ระดับความหนาแน่นของโรติเฟอร์ 10 15 20 และ 25 ตัวต่อมิลลิลิตรและระยะเวลาในการเปลี่ยนชนิดอาหารจากโรติเฟอร์เป็นอาร์ทีเมียแรกฟัก โดยชุดทดลองที 1 ให้โรติเฟอร์เป็นอาหารตลอดการทดลอง ชุดการทดลองที่ 2-4 จะทำการเปลี่ยนชนิดของอาหารในวันที่ 15 20 และ 25 ตามลำดับ ระยะเวลาทำการทดลอง 30 วัน การทดลองที่ 1 ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าการอนุบาลลูกปลาที่ความหนาแน่นต่างกัน มีผลต่ออัตรารอดของลูกปลา (p<0.05) แต่ไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตและระยะเวลาที่ลูกปลาเจริญเติบโตจากระยะวัยอ่อนไปสู่ระยะหลังวัยอ่อนของลูกปลา (p>0.05) โดยลูกปลามีอัตรารอดต่ำที่สุด (3.56±0.44%b) เมื่ออนุบาลที่ความหนาแน่น 15 ตัวต่อลิตร แตกต่างกับลูกปลาที่อนุบาลที่ความหนาแน่น 5 ตัวต่อลิตร 10 ตัวต่อลิตร และ 20 ตัวต่อลิตร ที่มีอัตรารอดเฉลี่ย (±SE) 10.67±1.09%a6.67±1.33%abและ 7.00±2.08%ab ตามลำดับ เมื่อสิ้นสุดการทดลองลูกปลามีความยาวมาตรฐาน (Standard length) (±SE) ต่ำสุดเท่ากับ 4.05±0.51 มิลลิเมตร สูงสุดเท่ากับ 5.00±0.07 มิลลิเมตร ความยาวเหยียด (total length) (±SE) ต่ำสุดเท่ากับ 5.25±0.64 มิลลิเมตร สูงสุดเท่ากับ 6.37±0.06 มิลลิเมตร สำหรับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากการอาศัยอยู่ในมวลน้ำมาอาศัยอยู่บริเวณขอบและพื้นตู้ (Post larvae) นั้นพบว่าลูกปลา (±SE) สามารถเปลี่ยนแปลงรูปร่างได้เร็วที่สุดมีค่า 13.67±2.19 วัน และได้ช้าสุด 24.67±2.67 วัน การทดลองที่ 2 ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าความหนาแน่นของโรติเฟอร์ที่ต่างกัน มีผลต่ออัตรารอดและการเจริญเติบโตของลูกปลา (p<0.05) แต่ไม่มีผลต่อระยะเวลาที่ลูกปลาเจริญเติบโตจากระยะวัยอ่อนไปสู่ระยะหลังวัยอ่อน โดยลูกปลามีอัตรารอดเฉลี่ย(±SE) สูงเมื่ออนุบาลด้วยความหนาแน่นของโรติเฟอร์ 15 และ 25 ตัวต่อมิลลิลิตร เท่ากับ 3.00±1.00%aและ 3.33±0.88%a แตกต่างกับ (p<0.05) ลูกปลาที่อนุบาลด้วยความหนาแน่นของโรติเฟอร์ 10 และ 20 ตัวต่อมิลลิลิตร มีอัตรารอดของลูกปลาเฉลี่ย 1.00±0.0%bและ1.33±0.33%b ตามลำดับ เมื่อสิ้นสุดการทดลองลูกปลาที่อนุบาลด้วยความหนาแน่นของโรติเฟอร์ 15 ตัวต่อมิลลิลิตร มีความยาวมาตรฐาน (Standard length) และความยาวเหยียด (Total length) (±SE) สูงสุดเท่ากับ 5.16±0.18a มิลลิเมตร และ 6.51±0.19a มิลลิเมตร แตกต่างกับ (p<0.05) ลูกปลาที่อนุบาลด้วยความหนาแน่นของโรติเฟอร์ 10 20 และ 25 ตัวต่อมิลลิลิตร มีค่าเฉลี่ย(±SE) เท่ากับ 3.86±0.21b, 3.94±0.39b, 3.46±0.30b มิลลิเมตร และ 5.01±0.27b, 4.94±0.52b, 4.42±0.43b มิลลิเมตร ตามลำดับ สำหรับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากการอาศัยอยู่ในมวลน้ำมาอาศัยอยู่บริเวณขอบและพื้นตู้ (Post larvae) นั้น พบว่าลูกปลาวัยอ่อนใช้เวลาในการเจริญเติบโตเข้าสู่ระยะวัยหลังอ่อน ได้เร็วที่สุดมีค่าเท่ากับ(±SE) 14.67±1.67 วัน และช้าสุดเท่ากับ 20.67±0.33 วัน การทดลองที่ 3 ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าการอนุบาลลูกปลาแมนดารินวัยอ่อน โดยระยะเวลาในการเปลี่ยนชนิดอาหารจากโรติเฟอร์เป็นอาร์ทีเมียแรกฟักในช่วงอายุต่างกันไม่มีผลต่ออัตรารอดและการเจริญเติบโตของลูกปลา (p>0.05) แต่มีผลต่อระยะเวลาที่ลูกปลาเจริญเติบโตจากระยะวัยอ่อนไปสู่ระยะหลังวัยอ่อน (p<0.05) โดยลูกปลามีอัตรารอดเฉลี่ย (±SE) 8.33±3.95%, 6.00±3.00%, 7.33±2.19% และ 4.00±0.58% ตามลำดับ เมื่อสิ้นสุดการทดลองลูกปลามีความยาวมาตรฐาน (Standard length) (±SE) ต่ำสุดเท่ากับ 3.58±0.22 มิลลิเมตร สูงสุดเท่ากับ 3.99±0.15 มิลลิเมตร ความยาวเหยียด (total length) (±SE) ต่ำสุดเท่ากับ 4.38±0.38 มิลลิเมตร สูงสุดเท่ากับ 4.98±0.10 มิลลิเมตร สำหรับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากการอาศัยอยู่ในมวลน้ำมาอาศัยอยู่บริเวณขอบและพื้นตู้ (Post larvae) นั้นพบว่าลูกปลามีพัฒนาการช้าที่สุดเท่ากับ 16.00±0.00b วัน เมื่อไม่มีการเปลี่ยนอาหารและพบลูกปลาระยะหลังวัยอ่อนเร็วขึ้นที่ 15.33±0.33ab 14.00±0.00a และ 14.00±1.00a วัน เมื่อเปลี่ยนอาหารที่อายุ 15 20 และ 25 วัน ตามลำดับ สรุปได้ว่าในการอนุบาลลูกปลาแมนดารินวัยอ่อน ผู้เลี้ยงสามารถอนุบาลลูกปลาที่ความหนาแน่น 20 ตัวต่อลิตร โดยให้อาหารเป็นโรติเฟอร์ที่ความหนาแน่น 15 ตัวต่อมิลลิลิตร และลูกปลาสามารถเปลี่ยนอาหารจากโรติเฟอร์เป็นอาร์ทีเมียแรกฟักเมื่อลูกปลามีอายุ 15 วัน เหมาะสมที่สุด โดยไม่มีผลต่ออัตรารอดและการเจริญเติบโต ABSTRACT Three experiments were performed using twelve 5-litre glass tanks which were divided into 4 triplicate treatments. Experiment 1: The experiments were conducted to evaluate the optimal stocking (5, 10, 15, and 20 larvae L-1). Experriment 2: The experiments were conducted to evaluate the optimal rotifer density (10, 15, 20 and 25 rotifer ml-1) and Experriment 3: Investigate the optimal age of the mandarinfish larvae for weaning from rotifer to Artemia nauplii for rearing of the newly hatched Green mandarinfish larvae for 30 days. Experriment 1: The results showed that stocking densities affect survival of the larvae (p<0.05) but there were no significant differences in growth and development from larva to post larva of the larvae among treatments (p>0.05). The larvae at a stocking density of 15 larvae L-1 had the lowest survival rate (3.56±0.44%b) while there were no significant differences in survival rates (±SE) at stocking densities of 5 (10.67±1.09%a), 10 (6.67±1.33%ab), and 20 larvae L-1 (7.00±2.08%ab), respectively. Average final standard length (±SE) and total length (±SE) in mm. of the larvae from 4 treatments were 4.56±0.16, 4.05±0.51, 5.00±0.07, 4.43±0.64 and 5.73±0.17, 5.25±0.64 6.37±0.06, 5.60±0.83, respectively. The earliest post larvae were found within 13.67±2.19 days (±SE) while the latest development occurred within 24.67±2.67 days. Experriment 2: The results showed that rotifer densities affect survival and growth of the larvae (p<0.05) but there were no significant differences in development from larva to post larva of the larvae among treatments (p>0.05).The best survivals rate of 3.00±1.00%a and 3.33±0.88%a was found when the larvae fed with rotifer at 15 and 25 rotifer ml-1 while the lowest survivals rate of 1.00±0.0%b and 1.33±0.33% b was found when the larvae fed with rotifer at 10 and 20 rotifer ml-1, respectively. The best of average final standard length and total length (5.16±0.18aand 6.51±0.19 a mm) was found when the larvae fed with rotifer at 15 rotifer ml-1(p<0.05) while the average lengths were 3.86±0.21band 3.94±0.39b, 3.46±0.30b and 5.01±0.27b, 4.94±0.52band 4.42±0.43b when the larvae fed with rotifer at 10 20 and 25 ml-1, respectively. The earliest post larvae were found within 14.67±1.67 days while the latest development occurred within 20.67±0.33 days. Experriment 3: The results showed that ages at weaning had no effect on survival and growth of the larvae (p>0.05) but there were significant differences in development from larva to post larva of the larvae among treatments (p<0.05). The survival rates of mandarinfish larvae weaning from rotifer to Artemia nauplii at various ages were (±SE) 8.33±3.95%, 6.00±3.00%, 7.33±2.19% and 4.00±0.58%, respectively. Average final standard length (±SE) and total length (±SE) in mm. of the larvae from 4 treatments were 3.58±0.22, 3.99±0.15, 3.87±0.29 and 3.99±0.56 mm., 4.38±0.38, 4.98±0.10, 4.73±0.32 and 4.89±0.65 mm, respectively. The earliest post larvae were found when the larvae were weaned at ages of 15 20 and 25 days (15.33±0.33ab, 14.00±0.00a, and 14.00±1.00a days) while the laval development were delayed to 17.00±0.67 days when the lavae were totally fed with rotifer. The overall results suggest that Green mandarinfish larvae should be stocked at 20 larvae L-1, fed with rotifer at 15 rotifer ml-1 and 15-day-old larvae can be weaned from rotifer to Artemia nauplii with out any effect on survial and growth.th_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectปลา - -การเจริญเติบโตth_TH
dc.subjectปลาแมนดารินth_TH
dc.subjectสาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยาth_TH
dc.titleผลของความหนาแน่นของลูกปลา โรติเฟอร์ และระยะเวลาเปลี่ยนชนิดของอาหารต่ออัตรารอดและการเจริญเติบโตของลูกปลาแมดาริน, Synchiropus splendidus (Herre, 1927)th_TH
dc.title.alternativeEffects of larval density, rotifer density and weaning age on survival rate and growth of mandarinfish, Synchiropus splendidus (Herre, 1927) larvaeen
dc.typeResearchth_TH
dc.year2558
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2559_002.pdf1.26 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น