กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/167
ชื่อเรื่อง: ฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งจากสารสกัดบริสุทธิ์ลำบิดดงและท้าวแสนปม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Anti-proliferative activities of pure compounds from Diospyros filipendula and Diospyros cauliflora
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จันทรวรรณ แสงแข
วารี เนื่องจำนงค์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสหเวชศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: ท้าวแสนปม (พืช)
พฤกษเคมี
ลำบิดดง (พืช)
เซลล์มะเร็ง
สารสกัดจากพืช - - การใช้ประโยชน์
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: เกือบทุกส่วนของพืชสกุล Diospyros ถูกใช้ในทางการแพทย์แผนโบราณทั่วโลก และสกัดสารบริสุทธ์ได้แก่ hydrocarbons, steroids, terpenoids และ naphthoquinones เป็นต้น ซึ่งเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งกระตุ้นกระบวนการ apoptosis แต่อย่างไรก็ตามพบว่าพืชในสกุล D. filipendula และ D. cauliflora ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้นจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธ์ยับยั้งการเจริญของเซลล์ และกลไกการออกฤทธิ์ระดับโมเลกุล ในเซลล์มะเร็งปากมดลูก โดยทำการตกผลึกจากส่วนสกัดเฮกเซนของรากท้าวแสนปม (D. cauliflora) ได้สารบริสุทธิ์ 1 ชนิด คือ lupeol ทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการเจริญในเซลล์มะเร็งปากมดลูกโดยเทคนิค MTT ทำการสกัด DNA จากตัวอย่างและทดสอบการแตกของเส้น DNA ด้วยวิธี electrophoresis ใน 1.5% agarose gel และทดสอบการแตกของนิวเคลียสด้วยสีฟลูออเรสเซนต์ DAPI และ propium iodide (PI) ผลการทดลองพบว่าสาร stigmasterol, taraxerol และ lupeol ทำให้เซลล์ตาย ตามขนาดความเข้มข้นที่เพิ่มขึ้น เซลล์ที่ตายมีลักษณะกลม เยื่อหุ้มเซลล์เป็นถุง (blrb) และมี apoptotic body ในขณะที่กลุ่มควบคุมมีลักษณะเหยียดเป็นรูปกระสวย ความเข้มข้นที่ยับยั้งการเจริญของเซลล์ได้ 50% เท่ากับ 37+-2.49, 10 +- 1.3 และ 20 +- 2.6 ug/ml ตามลำดับ พบการแตกของเส้น DNA เป็นแบบ smear band ซึ่งไม่พบลักษณะดังกล่าวในกลุ่มควบคลุ่ม เมื่อย้อมนิวเคลียสด้วยสีฟลูออเรสเซนต์ พบเซลล์ในกลุ่มทดลองมี apoptotic nuclei เท่ากับ 30.27 +- 0.9, 23.8 +- 0.99 and 42.23 +- 2. 51% ตามลำดับในขณะที่กลุ่มควบคุมมีค่าเท่ากับ 3.12 +- 1.29 % ผลการทดลองแสดงว่าสารทั้ง 3 ชนิด เป็นผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากพืชที่ใช้เป็นอาหาร สามารถเหนี่ยวนำให้เซลล์ปากมดลูกตาแบบ apoptosis จึงมีการศึกษาเกี่ยวกับเอนไซม์ caspase ต่อไป
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/167
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2566_027.pdf1.11 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น