กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1656
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | สิริลักษณ์ โสมานุสรณ์ | th |
dc.contributor.author | รัชนีภรณ์ ทรัพย์กรานนท์ | th |
dc.contributor.author | กิ่งดาว การะเกด | th |
dc.contributor.author | พรพรรณ ศรีโสภา | th |
dc.contributor.author | พวงทอง อินใจ | th |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T09:08:32Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T09:08:32Z | |
dc.date.issued | 2558 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1656 | |
dc.description.abstract | การดูแลผู้ที่อยู่ในระยะสุดท้ายของชีวิตเพื่อให้ได้ตายอย่างสงบ ถือเป็นเป้าหมายสูงสุดของผู้สูงอายุในระยะสุดท้ายและสมาชิกในครอบครัว การศึกษาครั้งนี้เป็น การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เพื่อการพัฒนารูปแบบการเตรียมความพร้อมของผู้สูงอายุและครอบครัวสู่การตายอย่างสงบที่บ้าน เก็บข้อมูลโดยวิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการตอบแบบสอบถามผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยนี้ ประกอบด้วย ผู้สูงอายุ 8 ราย สมาชิกในครอบครัว 10 ราย และแกนนำชุมชน 1 ราย รวมทั้งสิ้น 30 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธี Content analysis และสถิติเชิงพรรณนา จากการดำเนินการวิจัยพบว่า การพัฒนารูปแบบการดูแล แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ ระยะที่ 1 การค้นหาปัญหา จากการสำรวจและสัมภาษณ์ปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุระยะสุดท้ายและสมาชิกในครอบครัว ระยะที่ 2 การวางแผนแก้ไขปัญหา โดยการสังเคราะห์จากข้อมูลที่รวบรวมได้เพื่อสรา้งรูปแบบและวางแผนแก้ไขปัญหาในระยะนี้ มีการจัดกิจกรรมที่สำคัญ 3 กิจกรรม ระยะที่ 3 การลงมือปฏิบัติ โดยการนำรูปแบบไปปฏิบัติจริงกับผู้สูงอายุที่อยู่ในระยะสุดท้ายที่ต้องการเสียชีวิตที่บ้าน และระยะที่ 4 การสะท้อนผลการปฏิบัติและการประเมินผล เป็นการทบทวนและประเมินผลการปฏิบัติจริงเพื่อปรับรูปแบบการดูแลให้เหมาะสม และผลการศึกษายังพบว่า องค์ประกอบที่สำคัญของรูปแบบการดูแลนี้ มี 3 ส่วน คือ 1. ผู้สูงอายุที่ต้องการจะเสียชีวิตที่บ้าน 2. ครอบครัวที่คำนึงถึงความต้องการของผู้สูงอายุและการให้การดูแลด้วยความรักและกตัญญู และ 3. การดูแลเพื่อการตายอย่างสงบที่อาศัยความร่วมมือจากหลายส่วน เช่น เครือญาติ อาสาสมัครสาธารณสุขของผู้สูงอายุ พระ และพยาบาล การดูแลตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้นนี้ ช่วยให้ญาติยอมรับการจากไปของผู้สูงอายุได้ง่ายขึ้น เนื่องด้วยผู้สูงอายุได้จากไปอย่างสงบที่บ้านของตนอย่างงดงาม รูปแบบการเตรียมความพร้อมของผู้สูงอายุและครอบครัวสู่การตายอย่างสงบที่บ้านนี้ถือเป็น "การดูแลด้วยความรักและความกตัญญู" ผลการศึกษาที่ได้ ควรใช้เป็นแนวทางสำหรับพยาบาลในการเตรียมผู้ดูแลเพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุได้ตายอย่างสงบที่บ้าน โดยคำนึงถึงความต้องการของทั้งผู้สูงอายุและครอบครัวเพื่อให้ผู้สูงอายุได้ใช้เวลาในช่วงสุดท้ายที่บ้านและจากไปท่ามกลางความรักและการดูแลของสมาชิกในครอบครัว | th_TH |
dc.description.sponsorship | ทุนสนับสนุนงานวิจัย งบประมาณเงินรายได้ (เงินอุดหนุนจากรัฐบาล) ประจำปีงบประมาณ 2556 | en |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | การตาย | th_TH |
dc.subject | ผู้สูงอายุ | th_TH |
dc.subject | สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ | th_TH |
dc.title | รูปแบบการเตรียมความพร้อมของผู้สูงอายุและครอบครัวสู่การตายอย่างสงบที่บ้าน (ระยะที่ 2) | th_TH |
dc.title.alternative | Model of home-based on peaceful dying preparation of the elderly and family (Phase 2) | en |
dc.type | Research | th_TH |
dc.year | 2558 | |
dc.description.abstractalternative | Peaceful dying is normally concerned as a goal of end-of-life persons and their families, and providing a peaceful death for each indidual patient is also an ultimate goal of the end-of-life care. The purpose of this participant action research (PAR) was to develop a home-based model of peaceful dying preparation of the elderly and family. Qualitative was performed using in-depth interview, focus group, and participant observation while quantitative data were collected by questionnaire. Participants in this second phase consisted of the groups of 8 elderly people, 10 family members, 8 health volunteers, 1 chief of community, and 3 community nurses. Data were analyzed by content analysis and descriptive statistics. The model was developed in the 4 steps including 1) assessment phase: interviewing and surveying data related to problems and needs of the dying elderly by the elderly themselves and family members, 2) planning phase: synthesizing the model from interviewed and surveyed data and providing 3 important activates to the participants, 3) action phase: implementing the model with an end-of-life elderly who needed to die at her home, and 4) reflection and evaluation phase: evaluating and revising the model of care. The findings revealed that this model consisted with the important parts which were 1) the elderly needed to die peacefully at home, 2) the family responded to the needs of the elderly and cared them with love and gratitude, and 3) peaceful dying needed support from others such as relatives, health volunteers, monks, and nurses. The families appreciated the care that could help their loved elderly to pass away in peace. As well, they could feel that a peaceful death at home was a wonderful moment. A home-based model of peaceful dying preparation of the elderly and family is a "care with love and gratitude". These findings could be used to guide nurses to prepare caregivers to assist the elderly dying peacefully at home. It is noted that, the nursing intervention should focus on responding to the needs of the dying elderly and their families, particularly dying in the love and care of family members. | en |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2567_029.pdf | 4.04 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น