กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1648
ชื่อเรื่อง: โรค Metabolic Syndrome ในเด็กวัยเรียนในเขตภาคตะวันออกของประเทศ: ความชุก และการศึกษาติดตาม (ปีที่ 1)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Metabolic syndrome among school-age children in the Eastern region of Thailand: Prevalence and a cohort study (1 st year).ฃ
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นุจรี ไชยมงคล
ยุนี พงศ์จตุรวิทย์
ทวีลาภ ตั๊นสวัสดิ์
ชรริน ขวัญเนตร
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: โรคเมตาบอลิกซินโดรม
เด็กวัยเรียน
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ปัจจุบันแนวโน้มเด็กวัยเรียนมีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งนำไปสู่ลักษณะและกลุ่มอาการที่เข้าได้กับโรค metabolic syndrome การวิจัยนี้เป็นแบบ cohort-prospective study มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความชุก ปัจจัยที่เกี่ยวข้องและมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรค metabolic syndrome ในเด็กวัย เรียน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 675 ราย คัดเลือกโดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม-แบ่งชั้นแบบหลายขั้นตอน เป็นผู้ที่ศึกษาอยู่ชั้นประถมปีที่ 1-6 โรงเรียนระดับประถม ในเขตเทศบาลเมืองชลบุรี ปี การศึกษา 2557 อายุเฉลี่ย 9.18 (+ 1.73) ปี เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับเด็กและครอบครัว ร่วมกับ การตรวจร่างกายเด็ก ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง เส้นรอบเอว วัดความดันโลหิต และตรวจเลือด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ พรรณนา χ2-test, t-test, one-way ANOVA, Pearson’s correlation coefficients, Point bi-serial coefficients, Stepwise multiple linear regression และ Multivariate logistic regression ผลการวิจัยพบความชุกของโรคเมตาบอลิกซินโดรมร้อยละ 5.0 ในเด็กอายุ 10-12 ปีท3ีมีภาวะนKำหนักเกิน (% BMI-for-age > P 85) และเส้นรอบเอวเกินมาตรฐาน (> P90) (n = 60) เด็กวัยเรียนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดมีความชุกของภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนร้อยละ 30.9 เด็กชายมีความชุกมากกว่าเด็กหญิง (χ2 = 4.861, p < .05) แต่ค่าเส้น รอบเอวเกินไม่แตกต่างกัน (p > .05) BMI percentile และ Waist circumference (WC) มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงมาก (r = .836, p <.001) ไขมันที่มีความหนาแน่นสูง (HDL-C) เป็นปัจจัยทีดีทีสุดและ ทำนายดัชนีมวลกายเปอร์เซ็นไทล์ และเส้นรอบเอวของเด็กนักเรียนได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้ร้อยละ 10.4 และ 9.7 ตามลำดับ ไขมันไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ทำนายได้ร้อยละ 3.2 และ 4.8 ตามลำดับ และ Systolic blood pressure ทำนายได้ร้อยละ 2.8 และ 18.3 ตามลำดับ ค่าระดับน้ำตาลในเลือดภายหลังอดอาหารตั้งแต่ 8 ชั่วโมงขึ้นไป และค่า Diastolic blood pressure ไม่เกี่ยววข้องและ ไม่สามารถทำนายการเกิดโรคเมตาบอลิกซินโดรมในเด็กวัยเรียน ผลการวิจัยนี้ให้ข้อเสนอแนะว่าพยาบาล ครูผู้สอน และผู้บริหารโรงเรียนประถมควรให้ความสำคัญ ส่งเสริม และสนับสนุนการจัดกิจกรรมป้องกันการเกิดโรคเมตาบอลิกซินโดรมในเด็กวัยเรียน ในการศึกษาครั้งต่อไปยังคงต้องการการศึกษาติดตามระยะยาว การวิจัยเพิ่มเติมในกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่ และในบริบทหลากหลาย รวมทั้งการวิจัยเพื่อสร้างเกณฑ์มาตรฐานเส้นรอบเอวเปอร์เซนไทล์ของเด็กในประเทศไทยที่ครอบคลุมทุกเพศและทุกวัย
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1648
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2559_101.pdf1.08 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น