กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1646
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | ถนอมศักดิ์ บุญภักดี | th |
dc.contributor.author | สมถวิล จริตควร | th |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T09:08:31Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T09:08:31Z | |
dc.date.issued | 2558 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1646 | |
dc.description.abstract | ทำการวิเคราะห์สัดส่วนไอโซโทปเสถียรของคาร์บอน ( 13 C) ไนโตรเจน ( 13 N) สัดส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C:N) และสัดส่วนคาร์บอนอินทรีย์ต่อคลอโรฟิลล์เอ (POC: Chla) เพื่อศึกษาการกระจายและแหล่งที่มาของสารอินทรีย์แขวนลอย (POM) ในอ่าวไทยตอนใน โดยทำการเก็บตัวอย่างน้ำจาก 22 สถานี ในช่วงฤดูน้ำมาก (30 สิงหาคม – 3 กันยายน 2552, 18-22 พฤศจิกายน 2552 และ 7-11 กันยายน 2553) และฤดูน้ำน้อย (14-18 มีนาคม 2552, 20-24 มีนาคม2553 และ 1-5 มีนาคม 2554) พบว่าการกระจายของสารอินทรีย์แขวนลอยมีการเปลี่ยนแปลงตามพื้นที่ และปริมาณน้ำท่าที่ไหลลงสู่อ่าวไทยตอนใน โดยสัดส่วน ( 13 C) ในสารอินทรีย์แขวนลอย บริเวณที่อยู่ใกล้ชายฝั่งน้อยกว่าบริเวณปากอ่าวทั้งสองฤดูกาล โดยบริเวณที่อยู่ใกล้ชายฝั่งและบริเวณปากอ่าวมีสัดส่วน 13 C เท่ากับ -25+-18% และ -23.2+-0.5% ตามลำดับ ส่วนในฤดูน้ำน้อยบริเวณที่อยู่ใกล้ฝั่งและบริเวณปากอ่าวในมีสัดส่วน 13 C เท่ากับ -24.8+ 1.4% และ -23.7+-0.9% ตามลำดับ และพบว่าในฤดูน้ำมาก มีสัดส่วน 13 C ในพื้นที่ใกล้ปากแม่น้ำน้อยกว่าในฤดูน้ำน้อย (-25.4+-1.7%) และ -23.2+-1.4% ตามลำดับ) แต่ในบริเวณปากอ่าวมีสัดส่วน 13 C ใกล้เคียงกันทั้งสองฤดูกาล (-23.2+-0.5% และ -23.7+-0.9% ตามลำดับ) ขณะเดียวกันในฤดูน้ำมากบริเวณใกล้ปากแม่น้ำมีปริมาณของคาร์บอนอินทรีย์มากกว่าในฤดูน้ำน้อย (1362.7+-194.5 ug/l และ 978.7+-91.3 ug/l ตามลำดับ) และมีปริมาณลดลงเมื่อออกห่างจากปากแม่น้ำ โดยการกระจายของสารอินทรีย์แขวนลอยในอ่าวไทยตอนในไม่มีความแตกต่างกันตามระดับความลึก ซึ่งสารอินทรีย์แขวนลอยในอ่าวไทยตอนในทั้งในฤดูน้ำมากและฤดูน้ำน้อย มีสัดส่วน 13 C อยู่ในช่วง -26.0 ถึง-20.0% (-23.7+-1.5%) และมีสัดส่วน 15 N อยู่ในช่วง 2.0-8.0% (4.3+-2.4%) ซึ่งใกล้เคียงกับสารอินทรีย์แขวนลอยในทะเล (-21.0% และ 7.3% ตามลำดับ) และ POC: Chl a มีสัดส่วนน้อยกว่า 100 จึงสามารถบ่งชี้ได้ว่าแหล่งที่มาของคาร์บอนอินทรีย์แขวนลอยมาจากแพลงก์ตอนพืชในทะเลเป็นหลัก องค์ประกอบทางเคมีและไอโซโทปเสถียรของสารอินทรีย์ในดินตะกอน พบว่ากระจายของสารอินทรีย์รวม (TOM) สารอินทรีย์คาร์บอนรวม (TOC) และไนโตรเจนรวม (TN) มีรูปแบบที่คล้ายคลึงกันในทุกครั้งการเก็บตัวอย่าง โดยในพื้นที่ใกล้ชายฝั่งมีปริมาณสูงกว่าพื้นที่ห่างชายฝั่ง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และมีสัดส่วนของ 13 C และ 15 N อยู่ระหว่าง -23.6 ถึง19.9 และ -2.5 ถึง 6.6% และมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 21.4+-0.7 และ 4.1+-1.3% ตามลำดับ นอกจากนี้ ปริมาณ TOM, TOC และ TN ในดินตะกอนตามความลึกจะลดลงเมื่อความลึกเพิ่มขึ้นในขณะที่สัดส่วนของ 13 C และ 15 N ในดินตะกอนตามความลึกไม่มีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน แหล่งที่มาของสารอินทรีย์ในดินตะกอนในอ่าวไทยตอนในนั้นมาจากแม่น้ำและทะเล โดยร้อยละของสารอินทรีย์แขวนลอยจากแม่น้ำที่สะสมในดินตะกอนในพื้นที่ปากแม่น้ำที่สะสมในดินตะกอนในพื้นที่ปากแม่น้ำชายฝั่ง กลางอ่าว และปากอ่าว มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 9.4+-9.2, 1.9+-2.2, 4.4+-4.7 และ 3.2+-2.8 ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าสารอินทรีย์ในดินตะกอนในอ่าวไทยตอนในมีแหล่งที่มาจากสารอินทรีย์ในทะเลเป็นหลัก ทั้งนี้สารอินทรีย์แขวนลอยจากแม่น้ำจะสะสมอยู่ในดินตะกอนบริเวณใกล้ปากแม่น้ำและจะเคลื่อนย้ายออกสู่บริเวณอื่นต่อไป เก็ยตัวอย่างแพลงก์ตอนและตัวอย่างน้ำจากสถานีเก็บตัวอย่าง 22 สถานี ครอบคลุมพื้นที่อ่าวไทยตอนในในเดือนมีนาคม สิงหาคม และพฤศจิกายน 2552 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการผันแปรตามฤดูกาลของแพลงก์ตอนพืชและผลผลิตขั้นต้น รวมถึงปัจจัยทางกายภาพบางประการที่ส่งผลต่อรูปแบบการแปรผันดังกล่าว การศึกษาครั้งนี้พบแพลงก์ตอนพืชทั้งหมด 178 ชนิด จาก 64 สกุล ดัชนีความหลากชนิดของแพลงก์ตอนพืชมีค่าสูงสุดในเดือนสิงหาคม 2552 โดยมีค่าเฉลี่ย 2.09+-0.41 และมี Pseudonitzschia spp. เป็นสกุลเด่น ดัชนีความหลากชนิดมีค่าต่ำที่สุดในเดือนมีนาคม 2552 มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 1.44+-0.92 อันเป็นผลมาจากการเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วของ Noctiluca scintillans ส่วนในเดือนพฤศจิกายน 2552 ดัชนีความหลากชนิดของแพลงก์ตอนพืชมีค่าเฉลี่ย 1.60+-0.66 โดยมี Rhizosolenia spp. เป็นสกุลเด่น ความชุกชุมรวมของแพลงตอนพืชมีค่าสูงสุดในเดือน 2552 และต่ำสุดในเดือนพฤศจิกายน 2552 โดยมีค่า 2.23X10 5 เซลล์ต่อลิตร และ 1.70X 10 3 เซลล์ต่อลิตร ตามลำดับ ผลผลิตขั้นต้นมีค่าเฉลี่ยสูงสุดบริเวณพื้นที่ใกล้ปากแม่น้ำและลดลงในบริเวณพื้นที่ชายฝั่ง กลางอ่าวไทยและปากอ่าวไทย โดยมีค่าเฉลี่ยตลอดการศึกษาเท่ากับ 29.43+-30.28, 4.16+-1.09, 3.36+-1.66 และ 0.86+-1.02 มิลลิกรัมคาร์บอนต่อตารางเมตรต่อวันตามลำดับ ศึกษาความชุกชุมและการกระจายของแพลงก์ตอนสัตว์บริเวณอ่าวไทยตอยใน โดยเก็บตัวอย่างแพลงก์ตอนสัตว์และปัจจัยสิ่งแวดล้อมบางประการ ระหว่างวันที่ 14-18 มีนาคม 2552 จำนวน 21 สถานี วันที่ 30 สิงหาคม ถึง 3 กันยายน 2552 จำนวน 22 สถานี และวันที่ 18-22 พฤศจิกายน 2552 จำนวน 18 สถานี ทำการลากแพลงก์ตอนสัตว์โดยใช้ถุงลากแพลงก์ตอนขนาดความถี่ตาข่าย 250 ไมโครเมตร พบแพลงก์ตอนสัตว์ทั้งหมด 52 กลุ่ม (Taxa) จาก 14 ไฟลัม แบ่งเป็นแพลงก์ตอนสัตว์ถาวร 29 กลุ่ม และแพลงตอนสัตว์ชั่วคราว 23 กลุ่ม โดยไฟลัม Arthropoda มีความชุกชุมมากที่สุด รองลงมาได้แก่ Chordata และ Chaetognatha ตามลำดับ โดยมี Copepods เป็นแพลงก์ตอนสัตว์กลุ่มเด่น สำหรับความชุกชุมของแพลงก์ตอนสัตว์มีค่าสูงสุดบริเวณปากแม่น้ำ (82.36x 10 4 ตัวต่อ 100 ลูกบาศก์เมตร) และมีค่าต่ำสุดบริเวณชายฝั่งด้านตะวันตกของอ่าวไทยตอนใน (21.11X 10 4 ตัวต่อ 100 ลูกบาศก์เมตร) เมื่อเปรียบเทียบจากการศึกษาในแต่ละครั้งพบว่าในการเก็บตัวอย่างวันที่ 30 สิงหาคม ถึง 3 กันยายน 2552 และวันที่ 18-22 พฤศจิกายน 2552 มีความชุกชุมของแพลงก์ตอนสัตว์สูงสุดเท่ากับ 601x10 4 และ 380.43 x 10 4 ตัวต่อ 100 ลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ และในการเก็บตัวอย่างระหว่างวันที่ 14-18 มีนาคม 2552 พบความชุกชุมของแพลงก์ตอนสัตว์ต่ำสุดเท่ากับ 89.84 x 10 4 ตัวต่อ 100 ลูกบาศก์เมตร | th_TH |
dc.description.sponsorship | งานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนการวิจัยประเภทงบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552-2554 | en |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | มลสาร | th_TH |
dc.subject | ไอโซโทป | th_TH |
dc.subject | สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา | th_TH |
dc.title | การใช้ไอโซโทปเสถียรในการตรวจสอบการแพร่กระจายและแหล่งที่มาของมลสารในอ่าวไทยตอนใน | th_TH |
dc.title.alternative | Using stable isotopes for detecting and mapping source of anthropogenic pollutions in the inner gulf of Thailand | en |
dc.type | Research | |
dc.year | 2558 | |
dc.description.abstractalternative | Samples of particulate organic matter (POM) in the Inner Gulf of Thailand were collected for 13 C, 13 N, C:N and POC: Ch1 a ratios analyses. Samples were taken from 22 stations during the high water discharge (30 August -3 September 2009, 18-22 November 2009 and 7-11 September 2010) and the low water discharge (14-18 March 2009, 20-24 March 2010 and 1-5 March 2011) seasons. The value of 13 C, in the both seasons were -26.0 to 20.0% (-23.7+-1.5%) And value of 15 N, were 2.0 to 8.0% (4.3+-2.4%). Particulate organic carbon (POC) in near river mouth during the high water discharge was higher (1362.7+-194.5 ug/l) than that during the low water discharge (978.7+-91.3 ug/l) season and decreased by distance from river mouth. The value of 13 C in nearshore (-25.8+-1.8%) and near river mouth (-25.4+-1.7%) were lower than Those at bay mouth (-23.2+-0.5%) in the high water discharge season. During the low water discharge season, values of 13 C in near river mouth and bay mouth were similarly (-23.2+-0.5% And -23.7+-0.9%, respectively) and they were higher than those in nearshore (-24.8+-1.4%). Values of 15 N, in near river mouth, nearshore, middle of the bay and bay mouth during the high water discharge season were 3.5+-2.5%, 3.0+-2.7%, 6.0+-3.0% and 3.2+-2.6% respectively. During high water discharage season, C:N ratios were high in near river mouth 97.4+-3.5) and nearshore (8.5+-3.9). Distribution of POM was not significantly different along water depth. Their fractionations of marine POM at near river mouth, nearshore, middle of the bay and bay mouth were higher than 50% in the both seasons. These results showed that marine phytoplankton was dominant source of POM in the Inner Gulf of Thailand Compositions of chemical and stable isotope of organic matter in sediment from the inner Gulf of Thailand were studied. Sediment sampling was collected six times at 22 stations from March 2009 to March 2011. Total organic matter (TOM), total organic carbon (TOC) and total nitrogen (TN) in surface sediment were significantly higher (p<0.05) in nearshore than those in offshore stations. The stable isotope carbon (13 C) and nitrogen (15 N) of sediment orhanic matter ranged from -23.6 to – 19.9 and -2.5 to 6.6% with an average -21.4+-0.7 and 4.1+-1.3%, respectively. In addition TOM, TOC and TN contents decreased with an increase in sediment depth. 13 C and 15 N insediment depth were not clear vertical change. Sediment organic matter in The inner Gulf of Thailand was a mixture from two sources, reverine particulate organic matter (riverine POM) and marine organic matter (marine OM). The percentage of reverine POM Accumulated on river mouth, nearshore, middle gulf and bay mouth areas were average 9.4+-9.2+-, 1.9+-2.2, 4.4+-4.7 and 3.2+-2.8%, respectively. This indicates that marine OM acts the major contributor to sediment organic matter in the inner Gulf of Thailand. Riverine POM was deposited on the bottom of the river mouth area. Seasonal variations of phytoplankton, primary production as well as some governing physical parameters in the inner Gulf of Thailand. The cruise of 22 survey stations distributed throughout the inner Gulf of Thailand were collected in March, August and November, 2009. A yotal of 178 phytoplankton species belonging to 64 genera in 2 divisions were identified. Diatom was the most highly diverse group of phytoplankton in which 114 species from 46 genera were identified. The highest diversity index (H) was found in August, 2009 with the average of 2.09+-0.41 and Pseudonitzschia spp. Was a predominant genus. The lowest diversity index was observed in March, 2009 with the average value of 1.44+-0.92. This was due to a rapid bloom of dinoflagellate, Noctiluca scintillans in most station. In November, 2009 diversity index was of 1.60+-0.66 with Rhizosolenia spp. As a predominant genus. Phytoplankton abundance was peaked in August, 2009 with the value of 2.23x10 5 cell/l and lowest in November, 2009 with that of 1.70x10 3 cell/l. The highest primary production occurred in stations near river mouths (29.43+-30.28 mg c/m2 /d) and declined toward the coasts (4.16+-1.09 mg C/ m2/d), central region (3.36+-1.66 mg C/m2/d) and the open region of the inner Gulf of Thailand (0.86+-1.02 mg C/m2/d). Abundance and distribution of mesozooplankton and environmental factors in the Inner Gulf of Thailand were investigated in 3 periods, namely, 14-18 March 2009 (21 stations); 30 August -3 September 2009 (22 stations) and 18-22 November 2009 (18 stations). Zooplankton samples were collected using a 250 micron mesh size plankton net. Fifty-two group of 14 zooplankton phyla were found with 29 groups of holoplankton and 23 groups of meroplankton. The highest abundance of zooplankton found in Phylum Arthropoda, followed by Chordata and Chaetognatha. Copepods were the dominant group found in this study area. Comparing with the study areas, river mounth had the highest density (82.36x10 4 ind./100 m3) while the lowest was found in the west coast area (21.11x 10 4 ind./100 m3). Considering in each period of samplings due to the season, it was found that the sampling during 30 August- 3 September 2009 and 18-22 November 2009 had the abundance of zooplankton of 601.90 x 10 4 and 380.43 x 10 4 ind./100 m2, respectively while the lowest density found in 14-18 March 2009 samples (89.84x 10 4 ind,/100 m2). | en |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น