กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1645
ชื่อเรื่อง: ผลของการจัดการทางกายภาพบำบัดในพระสงฆ์ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effect of physical therapy management in monk with oa knee.
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภูริชญา วีระศิริรัตน์
กฤติกา หงษ์โต
พรพิมล เหมือนใจ
จันทร์ทิพย์ นามสว่าง
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสหเวชศาสตร์
คำสำคัญ: กายภาพบำบัด
ข้อเข่าเสื่อม
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: คณะสหเวชศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: โรคข้อเข่าเสื่อมคือ การสึกของผิวข้อเข่าจากการใช้งานหนักเป็นเวลานาน ทากิจกรรมที่เกิดการเสียดสีของข้อเข่า ซึ่งสาเหตุดังกล่าวมักเกิดขึ้นมากในกลุ่มของพระสงฆ์ ดังนั้นผู้ป่วยจึงควรทราบถึงวิธีในการดูแลรักษาอาการข้อเข่าเสื่อมเบื้องต้นด้วยตัวเอง เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษา รวมถึงประหยัดเวลาในการเดินทางไปโรงพยาบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งยังไม่เคยมีการศึกษาใดที่ศึกษาในพระสงฆ์ที่อาศัยอยู่ในวัด ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะทาการเปรียบเทียบผลของการจัดการทางกายภาพบาบัดในพระสงฆ์ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมก่อนและหลังการรักษา โดยอาสาสมัครที่เข้าร่วมจานวน 12 คน อายุระหว่าง 50-70 ปี ได้รับการรักษาโดยวางแผ่นประคบร้อน การยืดกล้ามเนื้อขา การออกกาลังกายเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อขา และได้รับคาแนะนาในการปฏิบัติตัวจากหนังสือคู่มือการดูแลตัวเอง 3 ครั้ง/สัปดาห์ เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ซึ่งอาสาสมัครทุกคนได้รับการตรวจประเมินข้อเข่า วัดระดับความรุนแรงของอาการปวดโดยใช้ Visual Analog Scale (VAS) ประเมินภาวะความบกพร่องความสามารถของข้อเข่าโดยใช้ The Western Ontario and McMaster Universities Osteoarthritis Index (WOMAC) และวัดองศาการเคลื่อนไหวของข้อเข่าก่อนการรักษา ทันทีหลังการรักษา 4 สัปดาห์ 1 เดือน และ 3 เดือน ผลจากการศึกษาครั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างก่อนและหลังการรักษา พบว่ามีค่าระดับความรุนแรงของอาการปวด และWOMAC function ลดลงแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ทันทีหลังการรักษา 1 เดือน และ 3 เดือน และค่าWOMAC pain และ stiff ลดลงแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ 1 เดือน และ 3 เดือน (p<0.05) แต่ค่าองศาการเคลื่อนไหวของข้อเข่า พบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (p>0.05) จากผลการศึกษาจึงสรุปได้ว่าการจัดการทางกายภาพบาบัดสามารถเป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาพระสงฆ์ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมเพื่อลดอาการปวด และเพิ่มความสามารถในการทางานของข้อเข่าได้อย่างมีประสิทธิภาพหลังจากการติดตามผลที่ 3 เดือน
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1645
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2559_090.pdf983.4 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น