กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1636
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อศักยภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของครูในการบริหารสถานศึกษาในภาคตะวันออก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The factors affecting teacher abilities on using innovation and information technology competence of teachers in institute administration in Eastern region
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุเมธ งามกนก
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: ผู้บริหารสถานศึกษา
เทคโนโลยีสารสนเทศ
สาขาการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2548
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและตรวจสอบความตรงของดมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อศัยภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของครูในการบริหารสถานศึกษาในภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูในโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคตะวันออก จำนวน 570 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบ่งเป็น 4 ตอน คือ 1) การยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศ 2) ความเป็นผู้นำทางเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหาร 3) สมรรถนะครูรายบุคคล และ 4) ศัยภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของครูในการบริหารสถานศึกษา มีค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง .954-.983 และค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .571-.836 การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติพื้นฐานการตรวจสอบโมเดลการวัด (Measurement model) ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบดชิงยืนยัน (CFA) และการวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุโดยใช้การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างเชิงเส้น (Structural Equation model: SEM) ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศของครู ปัจจัยด้านความเป็นผู้นำทางเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหาร ปัจจัยด้านสมรรถนะครูรายบุคคล และปัจจัยด้านศักยภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของครูในการบริหารสถานศึกษา อยู่ในระดับมากทั้งโดยรวมและรายด้าน และโมเดลการวัดองค์ประกอบ มีความตรงเชิงโครงสร้าง และเหมาะสมสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 2.โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศ ปัจจัยความเป็นผู้นำทางเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหาร และปัจจัยสมรรถนะครูรายบุคคลที่ส่งผลต่อศักยภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของครูในการบริหารสถานศึกษา มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ด้วยค่าดัชนีความเหมาะสมพอดีของโมเดล (goodness of Fit Indicess) ดังนี้ X2 = 91.756, df = 75, p = .059, X2/ df = 1.223, RMSEA = 0.46, NFI = .986, NNFI = .995, CFI = .997, RMR = .040, GFI = .920, AGFI = .917 และ PGFI = .551 3. ปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศ และปัจจัยความเป็นผู้นำทางเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารส่งอิทธิพลทางตรงต่อสมรรถนะครูรายบุคคล ด้วยค่าสัมประสิทธิ์เส้นทาง .619 และ .323 ตามลำดับ และปัจจัยสมรรถนะครูรายบุคคลส่งอิทธิพลทางตรงต่อศักยภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของคูในการบริหารสถานศึกษา ด้วยค่าสัมประสิทธิ์เส้นทาง .390 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศ ส่งอิทธิพลทางอ้อมต่อศักยภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของครูในกรบริหารสถานศึกษา ผ่านตัวแปรสมรรถนะครูรายบุคคล ด้วยค่าสัมประสิทธิ์เส้นทาง .241 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และปัจจัยความเป็นผู้นำทางเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหาร ส่งอิทธิพลต่อศักยภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของครูในการบริหารสถานศึกษาทางตรงด้วยค่าสัมประสิทธิ์เส้นทาง .551 และส่งอิทธิพลทางผ่านตัวแปรสมรรถนะครูรายบุคคลด้วยค่าสัมประสิทธิ์เส้นทาง .126 คิดเป็นอิทธิพลรวม .677 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 5. ปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศ ปัจจัยความเป็นผู้นำทางเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหาร และปัจจัยสมรรถนะครูรายบุคคล สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของศักยภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของครูในการบริหารสถานศึกษา ได้ร้อยละ 76.90
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1636
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น