กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1634
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorกนกพร ศรีญาณลักษณ์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:08:31Z
dc.date.available2019-03-25T09:08:31Z
dc.date.issued2558
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1634
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติและพฤติกรรม เปรียบเทียบทัศนคติและพฤติกรรมการใช้สื่อสารสนเทศในการเรียนรู้ภาษาจีนด้วยตนเองของนิสิตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และเสนอรูปแบบการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนรู้ภาษาจีนด้วยตนเองที่เหมาะสมสำหรับนิสิตระดับอุดมศึกษา โดยใช้ระเบียบวิะีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) ในส่วนแรกเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เพื่อศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนรู้ภาษาจีนด้วยตนเอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1-4 ที่เรียนวิชาภาษาจีนในปีการศึกษา 2557 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 88 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เกี่ยวกับการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนรู้ภาษาจีนด้วยตนเองของนิสิตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มีค่าความเชื่อมั่น .89 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และค่าความแปรปรวนทางเดียว (one-way ANOVA) ในส่วนที่สองเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เพื่อเสนอรูปแบบการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนรู้ภาษาจีนด้วยตนเองที่เหมาะสมสำหรับนิสิตระดับอุดมศึกษา ผลการวิจัยพบว่า นิสิตมีทัศนคติและพฤติกรรมการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนรู้ภาษาจีนด้วยตนเองโดยรวม อยู่ในระดับมาก นิสิตที่มีเพศต่างกันมีทัศนคติและพฤติกรรมการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนรู้ภาษาจีนด้วยตนเองไม่แตกต่างกัน นิสิตที่มีชั้นปีต่างกันมีทัศนคติต่อการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนรู้ภาษาจีนด้วยตนเอง ด้านประโยชน์ของการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอนภาษาจีนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีพฤติกรรมการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนรู้ภาษาจีนด้วยตนเอง ด้านพฤติกรรมการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนภาษาจีนด้วยตนเอง และด้านพฤติกรรมการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนภาษาจีนด้วยตนเองกับการเรียนในห้องเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนรูปแบบการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนรู้ภาษาจีนด้วยตนเองที่เหมาะสมสำหรับนิสิตระดับอุดมศึกษานั้น ควรเป็นการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสื่อเสริมจากการเรียนในห้องเรียน โดยผู้สอนเป็นแนะนำสื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับระดับความสามารถของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้สื่อเทคโนโลยีในการพัฒนาทักษะทางด้านภาษาได้อย่างมีประสิทธิภาพสุงสุดth_TH
dc.description.sponsorshipงานวิจัยได้รับทุนสนับสนุนจากงบประมาณเงินรายได้ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ 2557en
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectภาษาจีนth_TH
dc.subjectเทคโนโลยีสารสนเทศth_TH
dc.titleการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนรู้ภาษาจีนด้วยตนเองของนิสิตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.title.alternativeA study of using information technology for chinese language (Mandarin) self-learning in student from faculty of Humanities and Social Sciences at Burapha Universityen
dc.typeResearch
dc.year2558
dc.description.abstractalternativeThis research aims firstly to examine and to compare the students' self-study attitude behavior in marking use of information technology for studying Chinese language at the Faculty of Humanities and Social science, Burapha University, and to propose a proper guideline for making use of information technology for Chinese language self-study of the students in University level. Mixed methods are employed. The first part employs quantitative research method to examine students' self-study attitude and behavior. The samples are 88 students from different years (freshmen, sophomores, juniors, and seniors) majoring in Chinese language at the Faculty of Humanities and Social Science, Burapha University in academic year 2014. The data collecting tool is 5-scale questionnaire and the reliability of the questionnaire is .89. The statistics used to for data analysis are percentage, mean, standard deviation, t-test, and One-way ANOVA. The second part employs qualitative research method to propose a guideline for making use of information technology for Chinese language self-study. The findings show that the levels of attitude and behavior are rated high: The difference of gender shower no significant difference of levels of attitude and behavior. The difference of student year shows difference of level of attitude in aspects of the benefit and the use of information technology at the statistical significance at the .05 level. The difference of student year shows difference of level of behavior in aspects of the making use of information technology for self-study and for in-class study at the statistical significance at the .05 level. teachers play important role in recommending the information technology materials which are suitable for the students' proficiency for the students to use as self-study supplementary sources out of class.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2566_109.pdf5.98 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น