กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/162
ชื่อเรื่อง: | ความสัมพันธ์ระหว่างการรับประทานอาหารเช้ากับความเหนื่อยล้าในช่วงการเรียนภาคเช้าของนิสิตคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Relationship between breakfast consumption and fatigue in the morning class among medical students, Burapha University |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ลักษณาพร กรุงไกรเพชร ชัยชน โพธิ์ชัย ธัญธร นพเก้ารัตนมณี นทวรรณ สุขใส ผกามาศ แซ่ฮ้อ อโณทัย จตุพร จุฑามาศ ช่อไสว สิวินีย์ บัวทอง เศรษฐชัย ฉัตรชุมสาย มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ความพร้อมทางการเรียน นักศึกษา - - ทัศนคติ - - แง่โภชนาการ นักศึกษา - - โภชนาการ บริโภคนิสัย - - ผลกระทบทางสรีรวิทยา มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์ - - วิจัย อาหารเช้า |
วันที่เผยแพร่: | 2554 |
สำนักพิมพ์: | คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้เป็นการวิจัยโดยการสังเกตเชิงวิเคราะห์ เพื่อศึกษาผลความเพียงพอของอาหารเช้าที่รับประทานกับความรู้สึกเหนื่อยล้าในช่วงการเรียนภาคเช้าของนิสิตคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาทั้งหมด ชั้นปีที่ 1-3 ปีภาคการศึกษาปลาย ในปีการศึกษา 2552 จำนวน 88 คน โดยแบ่งนิสิตแพทย์เป็นสองกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่รับประทานอาหารเช้าอยู่ในเกณฑ์เพียงพอและกลุ่มที่รับประทานอาหารเช้าอยู่ในเกณฑ์เพียงพอ จำนวน 32 คน และกลุ่มที่รับประทานอาหารเช้าอยู่ในเกณฑ์ไม่เพียงพอ จำนวน 56 คน จากการคำนวณโดยใช้เกณฑ์ของ Institute of Medicine. Washington, DC: National Academies Press และความรู้สึกเหนื่อยล้าโดยใช้แบบประเมินความเหนื่อยล้าของ IOWA Fatigue Scale และคำนวณโดยใช้สถิติทดสอบซี ผลการศึกษาพบว่า ผู้เข้าร่วมวิจัยที่รับประทานอาหารเช้าเพียงพอ ร้อยละ 36.4 ผู้เข้าร่วมวิจัยที่รับประทานอาหารเช้าไม่เพียงพอ ร้อยละ 63.6 ผู้เข้าร่วมวิจัยมีความเหนื่อยล้าในกลุ่มรับประทานอาหารเพียงพอ ร้อยละ 46.9 เมื่อทดสอบทางสถิติ พบว่า ความเพียงพอของการรับประทานอาหารเช้าไมีมีความสัมพันธ์กับความเหนื่อยล้าในช่วงเรียนภาคเช้าของนิสิตคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา (Z=09) ส่วนปัจจัยอื่นที่อาจจะมีผลเกี่ยวข้องกับความเหนื่อยล้า ได้แก่ การพักผ่อนไม่เพียงพอ ร้อยละ 87.50 การออกกำลังกายไม่เพียงพอ 65.91 การมีงานสะสม ร้อยละ 63.64 สรุปผลการศึกษา การรับประทานอาหารเช้าไม่มีความสัมพันธ์กับความเหนื่อยล้าในช่วงเรียนภาคเช้าของนิสิตคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาอย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยอื่นที่อาจส่งผลต่อความเหนื่อยล้า ได้แก่ ระยะเวลาในการนอน การออกกำลังกายน้อย และการมีงานสะสม |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/162 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2566_050.pdf | 2.51 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น