กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1619
ชื่อเรื่อง: | การลดปัจจัยเสี่ยงและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (ระยะที่ 1) |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Risk reduction and quality of life improvement for people with myocardial infarction (Phase 1) |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วชิราภรณ์ สุมนวงศ์ อาภรณ์ ดีนาน สมสมัย รัตนกรีฑากุล สงวน ธานี ชัชวาล วัตนะกุล มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
คำสำคัญ: | คุณภาพชีวิต ปัจจัยเสี่ยง โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
วันที่เผยแพร่: | 2557 |
สำนักพิมพ์: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | หลังการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดผู้ป่วยมีแนวโน้มที่จะมีสุขภาพเลวลงและอาจต้องนอนโรงพยาบาลบ่อยครั้งเนื่องจากความก้าวหน้าของโรคและภาวะแทรกซ้อน การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และมีอิทธิพลต่อการรับรู้ภาวะสุขภาพของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด จำนวน 201 ราย ที่เข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยนอก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป แบบประเมินการรับรู้ภาวะสุขภาพ แบบประเมินภาวะจิตใจและอารมณ์ แบบวัดภาวะซึมเศร้า แบบประเมินพฤติกรรมการจัดการภาวะเครียด แบบประเมินการรับรู้เกี่ยวกับความสามารถของตน แบบประเมินการปรับตัวเกี่ยวกับความเจ็บป่วย แบบประเมินพฤติกรรมการรับประทานอาหารเฉพาะโรค แบบประเมินพฤติกรรมการเคลื่อนไหวและออกกำลังกายและแบบประเมินการปฏิบัติตนตามแผนการรักษาและควบคุมปัจจัยเสี่ยง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า 1. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการรับรู้ภาวะสุขภาพ ได้แก่ความสามารถในการทำกิจกรรม (r = .494, p< .001) การปรับตัวเกี่ยวกับ การเจ็บป่วย (r = .393, p< .001) ภาวะจิตใจและอารมณ์ (r = .378, p < .001) พฤติกรรมการรับประทานอาหารเฉพาะโรค (r = .331, p < .001) พฤติกรรมการเคลื่อนไหวและการออกกำลังกาย (r = .389, p < .001) พฤติกรรมการจัดการความเครียด (r = .252, p < .001) และภาวะซึมเศร้า (r = -.342, p < .001) และพบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ภาวะสุขภาพของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ได้แก่ ความสามารถในการทำกิจกรรม (Beta = .304, p< .001) ภาวะจิตใจและอารมณ์ (Beta = .233, p< .001) และพฤติกรรมการเคลื่อนไหวและการออกกำลังกาย (Beta = .230, p< .001) โดยร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการรับรู้ภาวะสุขภาพได้ 32.8 2. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ การรับรู้ภาวะสุขภาพ (r = .349, p < .001) ความสามารถในการทำกิจกรรม (r = .365, p < .001) การปรับตัวเกี่ยวกับการเจ็บป่วย (r = .177, p < .006) ภาวะจิตใจและอารมณ์ (r = .604, p < .001) พฤติกรรมการปฏิบัติตนตามแผนการรักษาและควบคุมปัจจัยเสี่ยง (r = .138, p < .026) ภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.548, p < .001) และพบว่าปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ภาวะจิตใจและอารมณ์ (Beta = .430, p < .001) และภาวะซึมเศร้า (Beta = - .286,p <.001) โดยสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความผาสุกได้ร้อยละ 41.6 ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยนี้ ไก้แก่ บุคลากรทางด้านสุขภาพและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรพัฒนาโปรแกรมเพื่อฟื้นฟูสุขภาพและป้องกันการกลับไปนอนโรงพยาบาล โดยเน้นให้ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดมีความสามารถในการทำกิจกรรม สามารถปรับภาวะจิตใจและอารมณ์ และเพิ่มการเคลื่อนไหว และการออกกำลังกาย |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1619 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2567_028.pdf | 2.46 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น