กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1613
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorกรองจันทร์ รัตนประดิษฐ์th
dc.contributor.authorสมจิตต์ ปาละกาศth
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:08:30Z
dc.date.available2019-03-25T09:08:30Z
dc.date.issued2558
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1613
dc.description.abstractในการตรวจสอบสมบัติการต้านอนุมูลอิสระและของสารสกัดจากใบขลู่ 3 ชนิด คือ สารสกัดจากใบขลู่สด สารสกัดจากใบขลู่ตากแห้ง และสารสกัดจากใบขลู่อบ พบว่า สารสกัดจากใบขลู่อบที่สกัดด้วยเอทานอลร้อยละ 70 ปริมาตรเป็น 50 เท่า (ปริมาตรต่อน้้าหนักใบขลู่สด) มีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระ DPPH ได้สูงสุดเท่ากับ 66.07 ± 2.53 มิลลิกรัมสมมูลของโทรลอกซ์ต่อกรัมตัวอย่าง มีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระ ABTS สูงสุดเท่ากับ 48.53 ± 2.54 มิลลิกรัมสมมูลของกรดแกลลิกต่อกรัมตัวอย่าง และมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด ปริมาณสารประกอบ ฟลาโวนอยด์ทั้งหมดสูงสุด ให้ค่าเท่ากับ 59.34 ± 2.03 มิลลิกรัมสมมูลของกรดแกลลิกต่อกรัมตัวอย่าง และ 36.76 ± 0.98 มิลลิกรัมสมมูลของคาทีชินต่อกรัมตัวอย่าง ตามล้าดับ ส่วนการศึกษาความสามารถในการยับยั้งเอนไซม์อะซิทิลโคลีนเอสเทอเรส พบว่า สารสกัดจากใบขลู่ทั้ง 3 วิธี ไม่มีฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์อะซิทิลโคลีนเอสเทอเรส (acetylcholinesterase) ส่วนการตรวจสอบสารสกัดใบขลู่อบด้วยน้้าร้อน และตรวจสอบความสามารถในการยับยั้งการท้างานของเอนไซม์ไทโรซิเนสของสารสกัดจากใบขลู่ที่สกัดด้วยน้้าร้อนโดยวิธีการสกัดที่แตกต่างกันคือการแช่ในน้้าร้อนที่อุณหภูมิและเวลาที่แตกต่างกันการสกัดด้วยเครื่องชงกาแฟอัตโนมัติด้วยแรงดันและการสกัดด้วยเครื่องชงกาแฟแบบหยดพบว่า การสกัดด้วยการแช่น้้าร้อนที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระสูงสุดจากการทดสอบด้วยวิธี DPPH ระยะเวลาสกัด 3-10 นาทีให้ผลไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยส้าคัญทางสถิติ โดยที่ระยะเวลาสกัด5 นาทีให้ผลการต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี ABTS สูงสุดคือ 104.93 ± 0.63 มิลลิกรัมสมมูลกรดแอสคอบิกต่อกรัมตัวอย่างเช่นเดียวกับปริมาณสารประกอบฟลาโวนอยด์โดยมีค่าเท่ากับ58.83 ± 0.32 มิลลิกรัมสมมูลคาทีชินต่อกรัมตัวอย่างส้าหรับการสกัดระยะเวลา 10 นาทีให้ฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระโดยการทดสอบด้วยวิธี FRAP และมีปริมาณของสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดสูงที่สุดโดยมีค่าเท่ากับ 180.97 ± 7.17 มิลลิกรัมสมมูลเฟอร์รัสซัลเฟตต่อกรัมตัวอย่างและ 66.92 ± 2.21มิลลิกรัมสมมูลกรดแกลลิกต่อกรัมตัวอย่างตามล้าดับ แต่การสกัดที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียสระยะเวลา 3 นาทีให้ปริมาณคลอโรฟิลล์เอและคลอโรฟิลล์บีสูงที่สุดคือ 50.62 ± 0.96 และ 147.29 ± 1.90 ไมโครกรัมต่อกรัมตัวอย่าง ในขณะที่สารสกัดจากขลู่ไม่มีผลในการยับยั้งการท้างานของเอนไซม์ไทโรซิเนส (Tyrosinase) โดยเมื่อเปรียบเทียบถึงคุณสมบัติของสารต้านอนุมูลอิสระเมื่อเก็บรักษาสภาพใบขลู่อบแห้งระยะเวลา3 เดือนพบว่ามีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด ปริมาณสารประกอบฟลาโวนอยด์ทั้งหมดคงที่ โดยที่ปริมาณสารประกอบคลอโรฟิลล์เอและบีลดลง ในส่วนของฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระที่ทดสอบด้วยวิธี DPPH และ ABTS ให้ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระคงที่ แต่การทดสอบด้วยวิธี FRAP ให้ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระลดลงth_TH
dc.description.sponsorshipสนับสนุนโดย งบประมาณแผ่นดินประจาปี 2556-2557 จากมหาวิทยาลัยบูรพาen
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัชth_TH
dc.subjectสารต้านอนุมูลอิสระth_TH
dc.subjectใบขลู่th_TH
dc.titleการตรวจสอบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาใบขลู่และผลของระยะเวลาการเก็บรักษาต่อความสามารถในการออกฤทธิ์th_TH
dc.title.alternativeDetermination of pharmaceuticals property of indian marsh fleabane leaf and effect of storage time on bioactive potentialth_TH
dc.typeResearchth_TH
dc.year2558
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2559_038.pdf1.46 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น