กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/159
ชื่อเรื่อง: | ความคิดเห็นของประชาชนต่อการดำเนินงานโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและเศรษฐกิจฐานราก ตำบลห้วงน้ำขาว อำเภอเมือง จังหวัดตราด |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The opinion of Tumbon Huong Num Kao people towards the operations of Community Strengthening and Grass Root Economic Project, Muang District, Trad Province, Thailand |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กุหลาบ รัตนสัจธรรม วสุธร ตันวัฒนกุล อรพิน ทองดี สุนิศา แสงจันทร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์ |
คำสำคัญ: | สาขาสังคมวิทยา |
วันที่เผยแพร่: | 2545 |
สำนักพิมพ์: | คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบตัดขวาง เพื่อศึกษาความคิดเห็นและเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและเศรษฐกิจฐานราก กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนในตำบลห้วงน้ำขาว สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยผ่านการหาความตรงเชิงเนื้อหา ความตรงเชิงโครงสร้าง และทดลองใช้ ได้ค่าความเที่ยง 0.6751-0.8706 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีการของเชฟเฟ (Scheffe) ผลการวิจัยพบว่า ประชาชนมีความคิดเห็นต่อโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและเศรษฐกิจฐานรากในระดับสูงมากกว่าร้อยละ 70 ในเรื่อง การพัฒนาการสร้างรายได้ การสร้างความเข้มแข็งของชุมชน การอนุรักษ์าสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ การพัฒนาศักยภาพของคนในชุมชน และการเป็นมหาวิทยาลัยชุมชน ยกเว้นในเรื่องของการพัฒนาคุณภาพชีวิต ที่ประชาชนเห็นด้วยในระดับสูงเพียง ร้อยละ 52.85 เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและเศรษฐกิจฐานรากแก้ว พบว่าเพศหญิงเห็นด้วยมากกว่าเพศชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4 เรื่องคือ ในเรื่อง การพัฒนาการสร้างรายได้ การพัฒนาศักยภาพของคนในชุมชน การเป็นมหาวิทยาลัยชุมชน และโดยรวมทุกด้าน (p<.05) ประชาชนที่มีอาชีพ และอายุต่างกันมีความคิดเห็นต่อโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและเศรษฐกิจฐานรากในด้านการพัฒนาศักยภาพของคนในชุมชน การพัฒนาคุณภาพชีวิต การเป็นมหาวิทยาลัยชุมชน และโดยรวมทุกด้าน แตกต่างกัน (p< .05) ในส่วนของอาชีพมีเพิ่มในเรื่อง การสร้างความเข้มแข็งของชุมชน อีก 1 ด้าน ส่วนหมู่บ้านต่างกันมีความคิดเห็นในทุกด้านแตกต่างกัน และพบว่า สถานภาพในสังคมต่างกันมีความคิดเห็นแตกต่างกันในเกือบทุกด้าน ยกเว้นในด้านการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน จากข้อค้นพบนี้เป็นคำตอบที่ยืนยันได้ว่าโครงการนี้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ควรขยายผลในพื้นที่อื่น ๆ อีกต่อไป |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/159 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
165729.pdf | 20.05 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น