กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1586
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorรัชนีภรณ์ ทรัพย์กรานนท์th
dc.contributor.authorพรชัย จูลเมตต์th
dc.contributor.authorนารีรัตน์ สังวรวงษ์พนาth
dc.contributor.authorวารี กังใจth
dc.contributor.authorวะนิดา น้อยมนตรีth
dc.contributor.authorศศิธร กรุณาth
dc.contributor.authorวัชรา ตาบุตรวงษ์th
dc.contributor.authorอรวรรณ กูลจีรังth
dc.contributor.authorชลธิชา จันทคีรีth
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:07:14Z
dc.date.available2019-03-25T09:07:14Z
dc.date.issued2556
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1586
dc.description.abstractการวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุเจ็บป่วยเรื้อรังโดยครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วมบนพื้นฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและภูมิปัญญาไทยผู้วิจัยดำเนินการวิจัยในชุมชนคัดสรรแห่งหนึ่งในเขตจังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นายกเทศมนตรีผู้สูงอายุเจ็บป่วยเรื้อรัง ผู้ดูแลผู้สูงอายุ ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข ประชาชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในชุมชน รวมทั้งสิน 60 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจำนวน 4 ชุด ที่ได้รับการตรวจสอบคุณภาพโดยการตรวจความตรงตามเนื้อหา และตรวจสอบความเชื่อมั่น ซึ่งพบว่าเครื่องมือวิจัยทั้ง 4 ชุดนี้มีคุณภาพในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1. ชุมชนคัดสรรนี้เป็นชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี มีจำนวนครัวเรือนทั้งสิน 907 ครัวเรือน ประชากรจำนวนทั้งสิน 3,752 คน เป็นชาย 1,895 คน หญิง 1,857 คนและมีผู้สูงอายุจำนวน 250 คน 2. ภายหลังการพัฒนารูปแบบการฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุเจ็บป่วยเรื้อรังฯ พบว่า ผู้สูงอายุ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ ผู้นำชุมชน แกนนำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มีความรู้และทัศนคติและการปฏิบัติเกี่ยวกับการฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุอยู่ในระดับที่สูงขึ้นทั้ง 3 ด้านเมื่อเทียบกับก่อนการพัฒนารูปแบบฯ 3. ประธานชุมชนและแกนนำได้กำหนดนโยบายและแผนงานด้านการฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุ โดยมีการอบรมผู้สูงอายุพร้อมครอบครัวผู้ดูแลของอาสาสมัครสาธารณสุขเพื่อติดตามและกระตุ้นให้ผู้สูงอายุและครอบครัวผู้ดูแลดำเนินการฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง 4. ชุมชนมีการจัดตั้งธนาคารอุปกรณ์เพื่อการฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุและผู้พิการในชุมชนเพื่อเป็นการส่งเสริมการฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุในชุมชน และเป็นการแบ่งปันการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ร่วมกัน อุปกรณ์ต่างๆ ดัดแปลงจากวัสดุที่จัดหาได้ในชุมชนโดยใช้ภูมิปัญญาของประชาชนในท้องถิ่นดำเนินการจัดหาวัสดุโดยประธานชุมชนและแกนนำชุมชน อุปกรณ์การฟื้นฟูสภาพสร้างโดยช่างในชุมชนภายใต้คำแนะนำของทีมผู้วิจัย เช่น ลานกะลามะพร้าวนวดเท้าพร้อมราวยึดเกาะสำหรับผู้สูงอายุ การประดิษฐ์ลูกบอลสำหรับบริหารนิ้วมือและฝ่ามือ การสร้างไม้สามเหลี่ยมและถุงทรายเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพกล้ามเนื้อหัวเข่า รอกสำหรับออกกำลังกายผู้สูงอายุ 5. รูปแบบการฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุเจ็บป่วยเรื้อรังโดยครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วมบนพื้นฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและภูมิปัญญาไทยที่ได้จากการวิจัย ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนและเป็นพลวัตร ได้แก่ การวางแผน การลงมือปฏิบัติ การประเมินผล และการติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินการ โดยความร่วมมือของผู้สูงอายุเจ็บป่วยเรื้อรัง ผู้ดูแลผู้สูงอายุ ผู้นำชุมชน แกนนำชุมชนอาสาสมัครสาธารณสุข ประชาชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยมี่แหล่งสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์การฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุที่จัดตั้งขึ้นในชุมชนได้แก่ “ธนาคารอุปกรณ์เพื่อการฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุและผู้พิการในชุมชน” ร่วมกับการใช้ภูมิปัญญาของประชาชนในชุมชน ผลการวิจัยเสนอแนะว่า ความรู้ ทัศนคติ การมีส่วนร่วมของชุมชนและความร่วมมือของบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุในชุมชนและแหล่งสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ในการฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุเจ็บป่วยเรื้อรัง ดังนั้นควรมีการนำรูปแบบการฟื้นฟูสภาพสำหรับผู้สูงอายุเจ็บป่วยเรื้อรังในชุมชนที่ได้จากการวิจัยไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่อื่น เพื่อขยายผลของการศึกษาและควรมีการศึกษาความต่อเนื่องของรูปแบบการฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุเจ็บป่วยเรื้อรังในชุมชน This developmental research aimed to develop rehabilitation model for chronically ill older adults through family and community participation based on sufficiency economy concept Thai wisdom. One community in Chon Buri province was selected for conducting the research. Sixty samples who were mayor, chronically ill older adults and their caregivers, community leaders, health volunteers, and community dwellers in this selected community were recruited. Data were gathered using four valid and reliable instrument. Descriptive statistics and content analysis were performed for data analysis. The results revealed that: 1. This selected community characterize as rurban located in Muang District Chon Buri consisting of 907 families. There are 3,752 populations. Of these 1,895 were males, 1,857 were females, and 250 were older adults. 2. Knowledge, attitude, and practice regarding rehabilitation in Chronically ill older adults of caregivers, community leaders, health volunteers, and community dwellers obviously increased after finishing the project. 3. The chair and community leaders determine the policy and working plan for rehabilitation in chronically ill older adults by training older adults and their caregivers including chair, community leader, health volunteers, and involving persons regarding rehabilitation for chronically ill older adults. Furthermore, health volunteers and other involving personnels were assigned to continually take care of chronically ill older adults so to stimulate and follow up the progress of rehabilitation. 4. The equipment bank for chronically ill older adult rehabilitation and disable persons in the community were established for facilitating and sharing for rehabilitation in their community. All rehabilitation equipments were invented by residents in the community applying their local Thai wisdom concept under guidance of research such as “coconut shell mash age yard”, finger and palm rehabilitation ball, wooden triangle board with sand bag for knee and leg rehabilitation, and pulley for rehabilitation. 5. The proposed rehabilitation model for chronically ill older adults through family and community participation based on sufficiency economy which were planning, implementation, evaluation, and following up the progress with the cooperation of chronically ill older adults, their caregivers, chair and community leaders, health volunteers, and involving persons and sectors by using the equipment bank for chronically ill older adult rehabilitation and disable persons in the community. The findings suggest that knowledge, attitude, family and community participation, and collaboration of all relevant persons and institutions are necessary components in rehabilitation for chronically ill older adults. Therefore, this proposed rehabilitation model should be introduced and implemented in various communities in order to strengthen the results of the study. Additionally, continuity of the chronically ill older adult rehabilitation model is recommended for further study.th_TH
dc.description.sponsorshipสนับสนุนโดย สำนักบริหารโครงการวิจัยในอุดมศึกษาและพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาen
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectผู้สูงอายุth_TH
dc.subjectภูมิปัญญาไทยth_TH
dc.subjectโรคเรื้อรังth_TH
dc.subjectแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.titleการพัฒนารูปแบบการฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุเจ็บป่วยเรื้อรังโดยครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วมบนพื้นฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและภูมิปัญญาไทยth_TH
dc.title.alternativeDevelopment of rehabilitation model for chronically III older adults through family and community participation based on sufficiency economy concept and Thai wisdomen
dc.typeResearch
dc.year2556
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2567_031.pdf153.82 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น