กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1581
ชื่อเรื่อง: กลยุทธ์การใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ท่องเที่ยวของไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Strategic uses of electronic commerce for Thai travel SMEs
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นฤมล ชูชินปราการ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะการจัดการและการท่องเที่ยว
คำสำคัญ: วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
สาขาเศรษฐศาสตร์
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาถึงการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (อี-คอมเมิรซ์) ในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ท่องเที่ยวของไทย รวมทั้งศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการนำอีคอมเมิรซ์มาใช้ใน SMEs ท่องเที่ยวของไทย โดยศึกษาอยู่บนบริบทของเทคโนโลยี-องค์กร-สิ่งแวดล้อม (TOE) และตัวแบบการนำอินเทอร์เน็ตมาใช้ในทางการค้า (eMICA) สมการถดถอยพหุคุณถูกนำมาใช้ในการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทั้งแปดของ TOE และการนำอีคอมเมิรซ์มาใช้ในระยะต่าง ๆ ทั้งสามระยะ ตามสมมติฐานของการวิจัยที่ได้ตั้งไว้ ตัวแปรอิสระทั้งแปด ได้แก่ (1) การได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ (Relative advantage) (2) ความเข้ากันได้ (Compatibility) (3) ความพร้อมขององค์การ (Organization readiness) (4) การมีส่วนร่วมของการจัดการ (Managerial involvement) (5) นวัตกรรมของผู้บริหาร (CEOs innovativeness) (6) แรงกดดันจากซัพพลายเออร์/ลูกค้า (Pressure from suppliers/ customers) (7) ความเข้มของการแข่งขัน (Competition intensity) และ (8) การสนับสนุนจากผู้ขายเทคโนโลยีภายนอก (External support from technology vendors) การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามออนไลน์ โดยเก็บข้อมูลจาก SMEs บริษัทตัวแทนการท่องเที่ยวของไทยที่มีเว็บไซต์ไว้ให้บริการลูกค้า การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์การถดถอย ผลการศึกษาจาก 114 SMEs บริษัทตัวแทนการท่องเที่ยวของไทยที่ตอบแบบสอบถาม พบว่าส่วนใหญ่ของ SMEs บริษัทตัวแทนการท่องเที่ยวของไทยมีการใช้ประโยชน์จากเว็บไซต์อยู่ในระยะที่สองของ eMICA ซึ่งหมายความว่าบริษัทเหล่านี้ใช้เว้บไซต์ไปในการให้ข้อมูลและบริการลูกค้า นอกจากนี้ผลจากการวิเคราะห์การถดถอย พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อระยะต่อ ๆ ของการนำมาใช้นั้นแตกต่างกันไป โดยจากการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านการแข่งขันมีความสัมพันธ์กับการยอมรับอี-คอมเมิร์ซมาใช้ในระยะแรก (ระยะของการโปรโมชั่น) นอกจากนี้ การศึกษาครั้งนี้พบว่าปัจจัยด้านการได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบมีบทบาทสำคัญต่อการนำอี-คอมเมิร์ซมาใช้ในระยะที่สอง ซึ่งเป็นการนำเว็บไซต์มาใช้เพื่อให้ข้อมูลและบริการลูกค้า SMEs ท่องเที่ยวของไทยที่มีการใช้เว็บไซต์ถึงระยะที่สองนี้เป็นเพราะบริษัทเหล่านี้มีการรับรู้ถึงผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่จะได้รับจากการนำของอี-คอมเมิร์ซมาใช้ ประการสุดท้าย การศึกษาครั้งนี้พบว่า ปัจจัยด้านความพร้อมขององค์กรมีอิทธิพลต่อการนำอี-คอมเมิร์ซมาใช้ในระยะที่สาม ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ก้าวหน้าที่สุด โดยมีการนำเว็บไซต์มาใช้เพื่อการประมวลธุกรรมต่าง ๆ SMEs ท่องเที่ยวของไทยที่มีการใช้เว็บไซต์ถึงระยะที่สามนี้ให้ความสำคัญกับควมพร้อมขององค์กร ทั้งทางด้านการเงินและทางด้านเทคนิค ผลจากการศึกษานี้ แสดงให้เห็นว่า (1) ปัจจัยภายนอก อันได้แก่ ปัจจัยด้านการแข่งขันที่รุนแรง (2) ปัจจัยด้านเทคโนโลยี อันได้แก่ การได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ และ (3) ปัจจัยภายในองค์กร อันได้แก่ ความพร้อมขององค์กร เป็นสามปัจจัยที่สำคัญที่มีผลต่อการนำอี-คอมเมิร์ซมาใช้ใน SMEs ท่องเที่ยวของไทย เพื่อสร้างการได้เปรียบในการแข่งขันและมีใช้ประโยชน์จากเว้บไซต์ให้เต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น SMEs ท่องเที่ยวของไทยควรมีการเตรียความพร้อมทั้งทางด้านการเงินและโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านบุคลากรที่มีความชำนาญทางด้านเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตและเว็บไซต์ และการที่จะบรรลุสู่เป้าหมายนี้ได้นั้น SMEs ท่องเที่ยวของไทย คงต้องได้รับการสนับสนุนส่งเสริมจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหน่วยงานภาครัฐ และผู้ขายเทคโนโลยีให้มากขึ้น และอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ การศึกษาครั้งนี้เป็นการเพิ่มผลงานวิจัยเชิงประจักษ์ที่มีคุณค่าให้กับวรรณกรรม โดยเน้นการใช้งานเว็บไซต์ใน SMEs ท่องเที่ยวของไทยและสนับสนุนทฤษฎีที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการนำอี-คอมเมิร์ซมาใช้ในระยะต่าง ๆ
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1581
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น