กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1572
ชื่อเรื่อง: การจ้างแรงงานต่างด้าวเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน: กรณีศึกษา นิคมอุตสาหกรรม จังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The migrant labor employment in ASEAN economic community: A case study of industrial estate, Chon buri province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรรรณภา ลือกิตินันท์
กัญจนวลัย นนทแก้ว แฟร์รี่
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะการจัดการและการท่องเที่ยว
คำสำคัญ: ประชาคมอาเซียน
แรงงานต่างด้าว
สาขาเศรษฐศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่อง การจ้างแรงงานต่างด้าวเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน: กรณีศึกษานิคมอุตสาหกรรม จังหวัดชลบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจสภาพการจ้างงานแรงงานต่างด้าวในนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดชลบุรี และศึกษาผลกระทบของการจ้างแรงงานต่างด้าวที่มีผลต่อสภาพเศรษฐกิจและงานด้านแรงงานสัมพันธ์ขององค์กร รวมถึงแนวทางการจัดการแรงงานต่างด้าวในสถานประกอบการ และแนวทางการเตรียมความพร้อมในการจ้างแรงงานต่างด้าว เพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยวิธีการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ ผู้บริหาร ผู้จัดการฝ่ายการจัดการทรัพยากรมนุษย์ หรือตัวแทนจากสถานประกอบการ จำนวน 264 คน และสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ขอ้มุลสำคัญ คือ ผู้จัดการฝ่ายการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดชลบุรี ที่ให้ความอนุเคราะห์ในการสัมภาษณ์ จำนวน 6 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสัมภาาณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาเชิงปริมาณพบว่า สถานประกอบการส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร และมีการจ้างงานประเภททักษะ กึ่งทักษะ และไร้ฝีมือ แรงงานทักษะที่มีการจ้างส่วนใหญ่มีสัญชาติญี่ปุ่น แรงงานกึ่งฝีมือและแรงงานไร้ฝีมือที่มีการจ้างส่วนใหญ่มีสัญชาติกัมพูชา สถานประกอบการการจัดทำประกันสังคมและประกันอื่น ๆ เพิ่มเติมให้กับแรงงานต่างด้าว และแจ้งให้แรงงานต่างด้าวทราบด้วยวาจาและเป็นลายลักษณ์อักษร ส่วนการจ่ายค่าตอบแทนและการประเมินผลใช้มาตรฐานเดียวกับแรงงานไทย ซึ่งผลกระทบด้านเศราฐกิจในการจ้างแรงงานต่างด้าวว่าทำให้มีแรงงานเพียงพอตามความต้องการกำลังคน ผลกระทบด้านแรงงานสัมพันธ์ในการจ้างแรงงานต่างด้าว คือ ปัญหาด้านสัมพันธภาพระหว่างแรงงานต่างด้าวและหัวหน้างาน ผลการศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่าการจ้างแรงงานต่างด้าวมีผลต่อเศรษฐกิจระดับองค์กรในด้านต้นทุนการสรรหาที่เพิ่มขึ้น เพราะส่วนใหญ่ว่าจ้างบริษัทนายหน้าจัดหาแรงงานต่างด้าว และการจ้างแรงงานต่างด้าวมีผลกระทบต่อแรงงานสัมพันธุ์ในองค์กร เพราะเป็นเรื่องของวิถีชีวิต วัฒนธรรม ชาติพันธุ์ที่ต่างกัน โดยแนวทางการจัดการแรงงงานต่างด้าวในสถานประกอบการ ต้องเน้นการจัดการสื่อสารในองค์กรที่ดี การปรับทัศนคติของแรงงานไทยในการทำงานกับแรงงานต่างด้าวและเน้นการบริหารความแตกต่างทางวัฒนธรรม และสรา้งความเข้าใจเกี่ยวกับชาติพันธุ์ การจัดกิจกรรมสัมพันธ์ และการกำหนดมาตรฐานในการทำงานระหว่างแรงงานไทยและแรงงานต่างด้าวให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ทั้งนี้การเปิดเสรีด้านแรงงานเมื่อรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนไม่มีผลกระทบต่อการจ้างแรงงานต่างด้าว เนื่องจากการจ้างแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ (ลาว พม่า กัมพูชา) ขึ้นอยู่กับนโยบายรัฐบาล ส่วนการจ้างแรงงาานต่างด้าวสัญชาติอื่น ๆ ใช้กฎหมายคนเข้าเมืองในการจ้างงาน สถานประกอบการจึงยังไม่ได้เตรียมความพร้อมในการจ้างงานที่ชัดเจน
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1572
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น