กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1555
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | พัชรนันท์ อมรรัตนพันธ์ | th |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T09:07:12Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T09:07:12Z | |
dc.date.issued | 2557 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1555 | |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้ได้ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมต่อการผลิตเอนไซม์ไลเปสของ B. laterosporus CD003 พบว่า แหล่งคาร์บอน แหล่งไนโตรเจน แหล่งไขมัน ค่าพีเอช อุณหภูมิ และเวลาที่ดีที่สุดคือ น้ำตาลกลูโคส แอมโมเนียมซัลเฟต yeast extract น้ำมันปาล์ม ค่าพีเอช 6.0 อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส ที่เวลา 18-24 ชั่วโมง ตามลำดับ นอกจากนี้ได้ทำการศึกษานำเอนไซม์ตรึงบนไคโตซานด้วยวิธีการดูดซับทางกายภาพ แล้วทำการศึกษาหาค่า adsorption kin และความคงตัวของกิจกรรมของเอนไซม์ ไลเปสที่ถูกตรึง พบว่าการตรึงเอนไซม์ไลเปสบนไคโตซานที่เวลา 0 และ 3 ชั่วโมง มีปริมาณเอนไซม์ที่ถูกดูดซับบนวัสดุเป็น 0.0052+-0.0020 และ 0.0075+-0.0014 ไมโครกรัม/ มิลลิลิตร/ นาที ตามลำดับ และที่ชั่วโมง 6, 12, 18, 21 ชั่วโมง มีปริมาณเอนไซม์ที่ถูกดูดซับบนวัสดุเป็น 0.0138+-0.0019ม 0.0139+-0.0014ม 0.0143+-0.0004 และ 0.0137+-0.0007 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร/ นาที ตามลำดับ ซึ่งชั่วโมงที่ 6 ถึง ชั่วโมงที่ 21 แสดงกิจกรรมของเอนไซม์มากที่สุด และมีค่าไม่แตกต่างกัน นอกจากนี้ยังพบว่าสามารถนำเอนไซม์ตรึงกลับมาใช้ซ้ำโดยที่กิจกรรมของเอนไซม์คงเหลือมากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ ได้นาน 5 รอบ เมื่อศึกษาหาความเสถียรของเอนไซม์ไลเปสอิสระและเอนไซม์ตรึงรูปที่พีเอชและอุณหภูมิต่าง ๆ พบว่าเอนไซม์อิสระมีพีเอชและอุณหภูมิที่เสถียรที่สุดที่พีเอช 6 และอุณหภูมิห้อง (25+-2 องศาเซลเซียส) โดยมีกิจกรรมของเอนไซม์ 0.0403 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร/ นาที (คิดเป็น 78.10 เปอร์เซ็นต์) และ 0.0445 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร/นาที (คิดเป็น 86.82 เปอร์เซ็นต์) ตามลำดับ สำหรับเอนไซม์ตรึงบนไคโตซานมีพีเอชและอุณหภูมิที่เสถียรที่สุดที่พีเอช 7 และอุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียส โดยมีกิจกรรมของเอนไซม์ 0.0453 ไมโครกรัม/กรัม/นาที (คิดเป็น 87.79 เปอร์เซ็นต์) และ 0.0440 ไมโครกรัม/กรัม/นาที (คิดเป็น 85.27 เปอร์เซ็นต์) ตามลำดับ และเอนไซม์ตรึงมีความเสถียรสูงกว่าเอนไซม์อิสระที่พีเอช 4-10 และตั้งแต่อุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียสขึ้นไป | th_TH |
dc.description.sponsorship | โครงการวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ประเภทเงินรายได้ (เงินอุดหนุนรัฐบาล) ประจำปีงบประมาณ 2556 | en |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | การย่อยสลายลิพิด | th_TH |
dc.subject | ไลเปส | th_TH |
dc.subject | เอนไซม์ | th_TH |
dc.subject | ไบโอดีเซล | th_TH |
dc.subject | สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา | th_TH |
dc.title | การพัฒนาการใช้เอนไซม์ไลเปสที่มีประสิทธิภาพสูงจาก Bacillus sp. เพื่อการผลิตไบโอดีเซล | th_TH |
dc.title.alternative | Development and utilization of high-efficiency Bacillus sp. lipase for Biodiesel production | en |
dc.type | Research | |
dc.year | 2557 | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น