กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1541
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้และอาชีพของผู้สูงอายุ: การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมภาวะพฤติพลัง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of learning and occupation for the elderly: Learning to Enhance active aging
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ทนงศักดิ์ ยิ่งรัตนสุข
ภาณุวัฒน์ เชิดเกียรติกูล
ปณิตา วรรณพิรุณ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
คำสำคัญ: การเรียนรู้
ผู้สูงอายุ
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมภาวะพฤฒิพลังในผู้สูงอายุ โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสาน โดยพื้นที่ที่ทำการวิจัยเป็นชุมชนเขาสามมุก ในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุที่รับจ้างแกะหอยที่ยินดีเข้าร่วมโครงการ จำนวน 20 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์สภาพปัญหาและความต้องการในการเรียนรู้สังเคราะห์กรอบแนวคิดเพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมภาวะพฤฒิพลังสำหรับผู้สูงอายุ และประเมินภาวะพฤฒิพลังก่อนและหลังการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ต่ำสุด และใช้สถิติอ้างอิงในรูปของการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยสองค่าจากกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียว (Paired samples t-test) ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ไม่มีความรู้เกี่ยวกับแหล่งการเรียนรู้ (60.0%) ไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง (50.0%) ไม่รู้วิธีการเรียนรู้ (50.0%) และไม่เคยได้รับการฝึกทักษะในการเรียนรู้ (50.0%) ในด้านความต้องการด้านการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ไม่ต้องการพัฒนาวิธีการเรียนรู้ (60.0%) ไม่ต้องการใช้แหล่งเรียนรู้ (50.0%) ไม่ต้องการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตนเอง (50.0%) ไม่ต้องการฝึกนิสัยการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง (50.0%) ไม่ต้องการได้รับการส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ (40.0%) แต่มีความต้องการได้รับการพัฒนาทักษะในการเรียนรู้ (55.0%) รูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นคือ โครงการอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุเรื่องปัญหาสุขภาพจากการทำงาน จากนั้นกลุ่มตัวอย่างนำความรู้ที่ได้จากการอบรมไปใช้ในชีวิตประจำวัน โดยมีการหยุดพักหรือเปลี่ยนอิริยาบถระหว่างการทำงานเป็นระยะ ๆ บางคนเข้าร่วมกิจกรรมออกกำลังกายโดยการรำกระบองทุกวัน เป็นเวลา 1 เดือน ผลการเปรียบเทียบภาวะพฤฒิพลัง พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีภาวะพฤฒิหลังเรียนรู้สูงกว่าก่อนเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1541
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2559_063.pdf2.48 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น