กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1530
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | สถาพร พฤฑฒิกุล | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T09:07:10Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T09:07:10Z | |
dc.date.issued | 2557 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1530 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาระดับความสุขในการทำงานของครู โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออก และเพื่อศึกษาตัวแปรระดับครู และระดับโรงเรียน ที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของครู โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ในเขตภาคตะวันออก จำนวน 156 คน และครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 585 คน รวมทั้งสิ้น 741 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating scale) จำนวน 2 ฉบับ คือฉบับที่ 1 สำหรับผู้บริหาร มีค่าความเชื่อมั่น .96 และฉบับที่ 2 สำหรับครู มีค่าความเชื่อมั่น .94 วิเคราะห์ข้อมูล มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .28-.74 โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ค่าสหสัมพันธ์ (r) ภาวะร่วมเส้นตรงพหุ (VIF) และการวิเคราะห์ปัจจัยแบบพหุระดับ (HLM) ผลการวิจัยพบว่า 1. ความสุขในการทำงานของครู โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออก อยู่ในระดับมาก 2. ปัจจัยระดับครู ที่นำมาศึกษาร่วมกันทำนายความสุขในการทำงานของครู โรงเรียนมัธยมศึกษา ได้ร้อยละ 72 เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวแปร พบว่าด้านเชาว์อารมณ์ รายได้ของครู และความสัมพันธ์ในครอบครัวส่งผลทางตรงเชิงบวกต่อความสุขในการทำงานของครู โรงเรียนมัธยมศึกษา ภาคตะวันออก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05, .05 ]t .01 ตามลำดับ 3. ปัจจัยระดับโรงเรียน ที่นำมาศึกษาร่วมกันทำนายความสุขในการทำงานของครู โรงเรียนมัธยมศึกษา ได้ร้อยละ 6.25 เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวแปร พบว่า ด้านวิสัยทัศน์ของผู้บริหารและการรับรู้บทบาทของผู้บริหาร ส่งผลต่อสัมประสิทธิ์การถดถอยของตัวแปรความสัมพันธ์ในครอบครัว ต่อความสุขในการทำงานของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และตัวแปรบรรยากาศองค์การและตัวแปรการทำงานเป็นทีมในโรงเรียน ส่งผลต่อสัมประสิทธิ์การถดถอยของตัวแปรรายได้ต่อความสุขในการทำงานของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา อ่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. โมเดลปัจจัยพหุระดับที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออก สามารถใช้พยากรณ์ตัวแปรตามโยรวมได้ร้อยละ 58 และสรุปเป็นสมการผสมได้ดังนี้ THW =4.19+21.(TQE)+.07+(TIC)+.29(TCL)+.40(TT*TIC)+.11(TLF)+.27(TOV*TLF)+.25(TPE*TLF) The purposes of this research were investigated the teachers’ happiness at work in secondary schools under the office of basic education commission, Eastern region of Thailand by multi-level analysis model. The factors as classified on teacher level factors and school level factors were affecting on the teachers’ happiness at work in secondary schools. The sample were derived by multi-stage random sampling, into 2 groups from the 39 secondary schools, were consisted of 156 school administrators and 585 teachers, total 741 persons. Data were collected by 2 types of questionnaires at confidence .96 and .94 respectively, discriminant during .28-.74. The descriptive statistics by statistical packet programs for Mean, Standard deviation (SD), Correlation ( r) , Multi-collinearity (VIF), and Multi-level analysis (HLM). The research found that: 1. The teachers’ happiness at work in secondary schools under the office of basic education commission were at high level’ 2. The teacher level factors, the study found that: The teachers’ emotional quotient, income, and family relationship had influencing on teachers’ happiness at work in secondary schools with statistically significant. (p<.05, .05and .01 respectively) 3. The school level factors, study found that: the vision factor and the role perception factor of school administrators had influencing on the regression coefficient of teachers’ family relationship of teachers’ happiness at work in secondary schools with statistically significant. (p<.05) 4. The model of multi-level factors had influencing on teachers’ happiness at work in secondary schools were mixed equal to: THW =4.19+21.(TQE)+.07+(TIC)+.29(TCL)+.40(TT*TIC)+.11(TLF)+.27(TOV*TLF)+.25(TPE*TLF) | th_TH |
dc.description.sponsorship | การวิจัยครั้งนี้ได้รับเงินอุดหนุนจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ 2557 | |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | ความสุขในการทำงาน | th_TH |
dc.subject | ปัจจัยพหุระดับ | th_TH |
dc.subject | สาขาการศึกษา | th_TH |
dc.title | ปัจจัยพหุระดับที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออก | th_TH |
dc.title.alternative | Multi-level factors affecting the teachers' happiness at work in secondary schools under the office of basic education commission, easthern region of Thailand. | en |
dc.type | Research | |
dc.year | 2557 | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2568_036.pdf | 6.87 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น