กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1522
ชื่อเรื่อง: | สถานภาพและปัญหาแพลตฟอร์ม DSpace ที่คลังหน่วยเก็บถาวรสถาบัน ในประเทศไทยใช้ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Status ans problems of DSpace platform used in the institutional repositories in Thailand |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กุสลวัฒน์ คงประดิษฐ์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
คำสำคัญ: | DSpace คลังหน่วยเก็บถาวรสถาบัน สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
สำนักพิมพ์: | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | คลังหน่วยเก็บถาวรสถาบัน (Institutional Repository) ในประเทศไทยนาซอฟต์แวร์แพลตฟอร์มดีสเปซเป็นซอฟต์แวร์มาพัฒนา เป็นเวลา 10 ปีมาแล้ว จากการวิจัยพบว่า (1) ข้อมูลพื้นฐาน คลังหน่วยเก็บถาวรสถาบันในปรเทศไทยที่พัฒนาด้วยซอฟต์แวร์แพลตฟอร์มดีสเปซ เป็นส่วนหนึ่งของห้องสมุดมหาวิทยาลัยวิจัย เหตุผลที่คลังหน่วยเก็บถาวรสถาบันเลือกใช้ซอฟต์แวร์แพลตฟอร์มดีสเปซคือ การเป็นซอฟต์แวร์รหัสเปิด คลังหน่วยเก็บถาวรสถาบันมีกลไกทางเทคนิคร่วมกันสูง จากคุณสมบัติเดียวกันที่ใช้ ทั้งฐานข้อมูล เครื่องบริการ (Server) ระบบปฏิบัติการ เครื่องบริการการทางานบนเว็บ (Web Server) (2) การติดตั้งและการใช้งาน คลังหน่วยเก็บถาวรสถาบันที่ใช้แพลตฟอร์มดีสเปซส่วนใหญ่ดาเนินการติดตั้ง พัฒนา และดูแลระบบเองทั้งหมด และมีการพัฒนาเพิ่มเติม (การปรับแต่ง) ให้เหมาะกับการใช้งาน จัดเก็บวัสดุสารสนเทศที่เป็นบทความวารสาร รายงาน และวิทยานิพนธ์ จัดเก็บเอกสารที่แปลงเป็นดิจิทัล (Digitized Document) และจัดเก็บและให้บริการเนื้อหาวิชา ได้แก่ สหสาขาวิชา มีนโยบายการสงวนรักษาและบริการ โดยจัดเก็บและให้บริการผลงานของคณาจารย์ทุกเรื่อง ทุกประเภท และคณาจารย์ บุคลากร และนิสิตให้สามารถค้นหาเนื้อหาได้ผ่านอินเทอร์เน็ต การเผยแพร่ผลงานที่จัดเก็บและให้บริการผ่านเว็บไซต์ของคลังฯ เอง และผ่านเครื่องมือช่วยค้น (Search Engine) บนเวิร์ลด์ ไวด์ เว็บ เช่น Google, Yahoo, Bing และเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของสถาบัน/หอสมุด และผ่านเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย มีการจัดการลิขสิทธิ์/ทรัพย์สินทางปัญญาโดยการเผยแพร่เฉพาะผลงานที่เป็นลิขสิทธิ์/ทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัยเท่านั้น (3) ปัญหาที่พบและข้อเสนอแนะ ปัญหาการใช้ระบบที่ประสบคือ บุคลากรคลังหน่วยเก็บถาวรสถาบันต้องส่งผลงานของคณาจารย์/นักวิจัยเข้าสู่ระบบให้ สาหรับปัญหาทั่ว ๆ ไป ที่ประสบคือ การขาดการประชาสัมพันธ์ทาให้มีผู้ส่งผลงานและผู้ใช้น้อยเกินไป ส่วนคลังหน่วยเก็บถาวรสถาบันให้ข้อเสนอแนะคลังหน่วยเก็บถาวรสถาบันควรร่วมมือในการแลกเปลี่ยนทรัพยากรระหว่างกันในระดับชาติ และควรเป็นนโยบายระดับชาติ Some of Thai Institutional Repositories (Thai IRs) have been developed by DSpace for 10 years ago. The research found that (1) Basic Information: Most of Thai DSpace IRs belong to the research university libraries and one of their reasons to choose Dspace software is its being an Open Source software. Also, they have high cohesive configurations such as database, server, operation system, web server, etc. (2) Installation and Usage: Most of each Thai DSpace have been installed, developed, maintained and customized by itself. Types of information, which they stored and serviced, are journal articles, reports and theses and subject of information, which they stored and serviced, is an interdisciplinary. Their policies on preservation and service are all title and type of faculties’ papers will be stored and all faculties, staffs, and students can be retrieved via the Internet. All stored works published on the IRs, the Libraries, and the Universities’ sites and can be retrieved via almost search engines. Furthermore, they published particularly their own copyrighted works. (3) Experienced Problems and Suggestions: The Thai DSpace IRs experienced the problem of their staffs must submit all works for faculties / researchers. The general problem is lack of community relations, makes less submitted works. The suggestion is all Thai Dspace IRs should share their works between them and should be the national policy. |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1522 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2559_070.pdf | 2.9 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น