กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1520
ชื่อเรื่อง: | การประยุกต์ใช้สมุนไพรไทยเพื่อการกำจัดแบคทีเรียก่อโรคในคนและสัตว์น้ำในถุงน้ำเชื้อกุ้งแชบ๊วย (รายงานฉบับสมบูรณ์ปีที่ 3) |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Application of Thai medicinal plants for removal of human and aquatic animal pathogenic bacteria in Banana prawn (Penaeus merguiensis) spermatophores |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุบัณฑิต นิ่มรัตน์ วีระพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | กุ้งแชบ๊วย สมุนไพรไทย สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา |
วันที่เผยแพร่: | 2557 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | งานวิจัยเรื่อง การประยุกต์ใช่สมุนไพรไทยเพื่อการกำจัดแบคทีเรียก่อโรคในคนและสัตว์น้ำในถุงน้ำเชื้อกุ้งแชบ๊วย ในปีที่ 3 ได้ทำการศึกษาถึงชนิดและปริมาณของสมุนไพรที่สามารถกำจัดแบคทีเรียก่อโรคในมนุษย์และสัตว์น้ำในการเก็บรักษาถุงน้ำเชื้อกุ้งแชบ๊วยแบบแช่เย็น ผลการศึกษา พบว่า ชุดทดลองเติมสารสกัดใบมะรุมความเข้มข้น 0.10 มิลลิกรัมต่อมิลลิเมตร มีความเหมาะสมในการเก็บรักษาถุงน้ำเชื้อกุ้งแชบ๊วย เนื่องจากไม่มีความเป็นพิษต่อสเปิร์มของกุ้งแชบ๊วยเทียบเท่ากับชุดการทดลองที่เติมสารสกัดของความเข้มข้น 0.10 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร รวมทั้งชุดควบคุมและชุดทดลองที่เติมยาปฏิชีวนะ Penicillin-streptomycin ความเข้มข้น 0.1% อย่างไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) นอกจากนั้นสารสกัดใบมะรุมยังสามารถกำจัดแบคทีเรียก่อโรคในกลุ่ม Vibrio ได้แก่ V.alginolyticus, V.mimicus และ V. furnissii โดยมีประสิทธิภาพสูงกว่าชุดที่มีการเติมยาปฏิชีวนะ Penicillin-streptomycin ความเข้มข้น 0.1% ที่ไม่สามารถกำจัดแบคทีเรียทั้งสามชนิดนี้ได้ อีกทั้งการเติมสารสกัดใบมะรุม ความเข้มข้น 0.1 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ยังทำให้สามารถกำจัด Pseudomonas aeruginosa และ P. fluorescens ซึ่งเป็นแบคทีเรียฉวยโอกาสก่อโรคที่สำคัญในมนุษย์และแบคทีเรียที่ก่อโรคในสัตว์น้ำที่สำคัญอีกด้วย ดังนั้นจากการศึกษาการประยุกต์ใช้สมุนไพรไทยเพื่อการกำจัดแบคทีเรียก่อโรคในคนและสัตว์น้ำในถุงน้ำเชื้อกุ้งแชบ๊วยที่เก็บรักษาแบบแช่เย็น ชี้ให้เห็น ว่าสารสกัดใบมะรุมสามารถเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีศักยภาพในการนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงในกระบวนการแช่เย็น เพื่อทดแทนยาปฏิชีวนะและเพื่อนำไปสู่การพัฒนาและการอนุรักษ์พันธุ์กุ้งทะเลที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทยต่อไป Type and concentration of medicinal plants which were capable of eliminating human and aquatic animal pathogenic bacteria contaminated in banana prawn spermatophores under chilled storage were investigated in the research entitled “Application of Thai medicinal plants for removal of human and aquatic animal pathogenic bacteria in banana prawn (Penaeus merguiensis) spermatophores” In the third year. Results showed that treatment with Moringa leaf extract at 0.10 mg/mL was the most suitable substance for preservation of banana prawn spermatophores because this treatment was not toxic to sperm of banana prawn, similar to treatment with 0.10 mg/mL ginger extract and treatment with 0.1% Penicillin-streptomycin as well as the control (P> 0.05). Additionally, Moringa leaf extract was able to remove pathogenic vibrios, i.e. V. alginolyticus, V. mimicus and V. furnissii. In a contrast, treatment with o.1% Penicillin streptomycin could not get rid of those vibrios in this study. Treatment with 0.10 mg/mL Moringa leaf extract also demonstrated the ability to remove Pseudomonas aeruginosa and P.fluorescens which were regarded as the important opportunistic bacteria in human and aquatic animals. Results concluded that Moringa leaf extract could be used as the potential medicinal plant which can be used fo applying in chilled storage process replacing antibiotic and for development and conservation of economically important marine shrimp in Thailand |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1520 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2559_061.pdf | 39.35 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น