กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1509
ชื่อเรื่อง: | การวิจัยพัฒนาคุณภาพโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา: กรณีศึกษาโรงเรียนเกาะสีชัง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The research and development to improve the quality education: Koh Sichang school |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วิชิต สุรัตน์เรืองชัย จันทร์พร พรหมมาศ เพ็ญนภา กุลนภาดล พงศ์เทพ จิระโร มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | คุณภาพการศึกษา คุณภาพโรงเรียน สาขาการศึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2557 |
สำนักพิมพ์: | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียน โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบร่วมมือและเพื่อประเมินคุณภาพภายในหลังผ่านกระบวนการพัฒนายกระดับคุณภาพโดยดำเนินการ 3 ขั้นตอน คือการศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการการพัฒนา ดำเนินการพัฒนาคุณภาพโดยการมีส่วนร่วมจากฝ่ายต่าง ๆ ได้แก่ ผู้บริหาร ครู นักเรียน และผู้ปกครอง เพื่อนครูโรงเรียนในเขตพื้นที่ และขั้นตอนที่สามเป็นการประเมินติดตามผล ระยะเวลาตั้งแต่ ธันวาคม 2556-กุมภาพันธ์ 2557 ผลการวิจัยพบว่า การประเมินการพัฒนายกระดับคุณภาพ คะแนนก่อนอบรม หลังอบรม และพัฒนาการในการจัดกิจกรรมพัฒนาครูทุกกิจกรรมทำให้ครูมีความรู้และทักษะเพิ่มขึ้นทั้ง 3 ครั้ง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คะแนน O-net ก่อนและหลังร่วมโครงการระดับ ป 6 มีรายวิชาที่มี อัตราการเพิ่มขึ้นของคะแนน > ขีดจำกัดล่าง สูงสุดได้แก่ รายวิชาสังคมคิดเป็นร้อยละ 26.68 รองลงมาเป็นรายวิชาวิทยาศาสตร์คิดเป็นร้อยละ 19.70 และรายวิชาภาษาอังกฤษ คิดเป็นร้อยละ 11.57 ส่วนรายวิชาอื่น ๆ พบว่ามี อัตราคะแนน > ขีดจำกัดล่าง ต่ำกว่าก่อนการเข้าร่วมโครงการ ระดับ ม 3 พบว่า มีรายวิชาที่มี อัตราการเพิ่มขึ้นของคะแนน > ขีดจำกัดล่าง สูงสุดได้แก่ รายวิชาศึกษาคิดเป็นร้อยละ 7.58 รองลงมาเป็น การงานอาชีพ คิดเป็นร้อยละ 4.08 และรายวิชาสังคม คิดเป็นร้อยละ 1.24 ส่วนรายวิชาอื่น ๆ พบว่ามีอัตราคะแนน > ขีดจำกัดล่าง ต่ำกว่าก่อนการเข้าร่วมโครงการ และพิจารณาระดับ ม 6 พบว่ามีรายวิชาที่มี อัตราการเพิ่มขึ้นของคะแนน > ขีดจำกัดล่าง สูงสุดได้แก่ รายวิชาภาษาไทย รายวิชาคณิตศาสตร์ และรายวิชาการงานอาชีพ คิดเป็นร้อยละ 17.46 รองลงมาเป็น รายวิชาวิทยาศาสตร์ และรายวิชาสังคม คิดเป็นร้อยละ 6.75 ส่วนรายวิชาอื่น ๆ พบว่ามีอัตราคะแนน > ขีดจำกัดล่าง ต่ำกว่าก่อนการเข้าร่วมโครงการ ผลการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาปีการศึกษา 2555 โรงเรียนมีผลการประเมินคุณภาพภายในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในระดับคุณภาพดีมาก โดยมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นเป็น 4.66 |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1509 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น